ที่มาของสำนวน ตัดหางปล่อยวัด

ที่มาของสำนวน ตัดหางปล่อยวัด

ที่มาของสำนวน ตัดหางปล่อยวัด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตัดหางปล่อยวัด, สำนวน , สำนวนไทย, ความรู้รอบตัว

ตัดหางปล่อยวัด เป็นสำนวนหมายถึง ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป เช่น เด็กคนนี้ถูกพ่อแม่ตัดหางปล่อยวัดเพราะประพฤติตัวเกกมะเหรกเกเรไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ สำนวนนี้มีที่มาจากการตัดหางไก่แล้วนำไปปล่อยเพื่อสะเดาะเคราะห์หรือแก้เคราะห์ในสมัยโบราณ มีหลักฐานในกฎมนเทียรบาลว่า เมื่อเกิดสิ่งที่เป็นอัปมงคล เช่นมีวิวาทตบตีกันถึงเลือดตกใน พระราชวังต้องทำพิธีสะเดาะเคราะห์ โดยเอาไก่ไปปล่อยนอกเมือง เพื่อให้พาเสนียดจัญไรไปให้พ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีประกาศกล่าวถึงการนำไก่ไปปล่อยที่วัดเพื่อสะเดาะเคราะห์ สันนิษฐานว่า ไก่ที่จะนำไปปล่อยที่วัดจะตัดหางเพื่อเป็นเครื่องหมายว่าเป็นไก่ที่ปล่อย เพื่อการสะเดาะเคราะห์ด้วย

ที่มา : บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

ที่มา: http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=3153

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ

อัลบั้มภาพ 2 ภาพ ของ ที่มาของสำนวน ตัดหางปล่อยวัด

ที่มาของสำนวน ตัดหางปล่อยวัด
ที่มาของสำนวน ตัดหางปล่อยวัด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook