ทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกันทำให้เรารู้สึกดี

ทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกันทำให้เรารู้สึกดี

ทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกันทำให้เรารู้สึกดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การศึกษาชิ้นใหม่ ชี้ให้เห็นว่า การทำงานหลายอย่างพร้อมกันอาจส่งผลลบต่อผลของงาน แต่เราก็ยังทำมันเพราะมันเป็นนิสัยและก็เพราะว่ามันทำให้เรารู้สึกดี

ประโยชน์ของความรู้สึกดี ๆ เหล่านี้อาจช่วยอธิบายได้ว่าทำไมเราจึงทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกันในครั้งเดียว แม้ว่างานวิจัยชิ้นอื่น ๆ ได้แนะไว้แล้วว่าการทำแบบนี้ไม่ช่วยก่อให้เกิดผลและผลงานที่ออกมาก็จะไม่ดีอีกด้วย

นักวิจัยนามว่า Zheng Wangกล่าวว่า "มีมายาคติในกลุ่มคนชอบทำงานหลาย ๆ อย่างในครั้งเดียวที่ว่า ทำแล้วช่วยก่อให้เกิดผลมากขึ้น"

หลายปีที่ผ่านมา การเดินและการเคี้ยวหมากฝรั่งอาจได้รับการพิจารณาว่าเป็นการทำหลายอย่างในครั้งเดียว แต่ทุกวันนี้เรามีของเล่นเทคโนโลยีทันสมัยหลายอย่างที่สามารถหันเหความสนใจจากงานที่กำลังทำอยู่

ในการศึกษาวิจัยชิ้นนี้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยรัฐโอไฮโอ (Ohio State University)ดูไปที่ผลกระทบของการทำงานหลาย ๆ อย่างที่ใช้สื่อที่มีต่อนักศึกษา โดยกลุ่มนักศึกษากำลังง่วนเตรียมตัวสอบอยู่ ขณะเดียวกันก็ฟังเพลง และส่งข้อความไปหาเพื่อน ๆ ด้วย งานศึกษาชิ้นอื่นแนะว่าผู้คนอายุ 34 ปีและต่ำกว่าทำงานหลาย ๆ อย่างที่ใช้สื่อมากกว่าประชากรในกลุ่มอื่น ๆ

แทนที่จะทำการศึกษาในห้องทดลอง นักวิจัยกลุ่มนี้ตัดสินใจทำในบรรยากาศในโลกแห่งความเป็นจริง นักวิจัยศึกษาข้อมูลจากนักศึกษา 19 รายซึ่งได้รับเครื่องมือที่ทำหน้าที่เหมือนกับโทรศัพท์มือถือ เพื่อรายงานกิจกรรมทุกอย่างที่พวกเขาทำเป็นระยะเวลาสี่สัปดาห์

นักศึกษาเหล่านี้ต้องรายงานสามวันต่อครั้งว่ากิจกรรมใดที่พวกเขากำลังทำอยู่ และเป็นเวลายาวนานเท่าใด พวกเขาถูกขอให้จัดอันดับว่ากิจกรรมเหล่านั้นตอบโจทย์ความจำเป็นด้านใดและอะไรคือแรงจูงใจ ให้พวกเขาทำกิจกรรมแต่ละอย่าง

เหล่านักวิจัยต้องการทำความเข้าใจว่าความจำเป็นต้องการที่เป็นไปได้สี่อย่างนั่นคือ ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ ด้านนิสัย และ ด้านสังคม ที่กำลังถูกทำให้พึงพอใจโดยการทำงานหลาย ๆ อย่างโดยใช้สื่อ และอะไรคือตัว จูงใจที่ทรงพลังมากที่สุดที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักศึกษาทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง ในเวลาเดียวกัน

ผลการศึกษาพบว่า ความจำเป็นต้องการทางด้านอารมณ์และนิสัยถูกเติมเต็มความพึงพอใจจากการทำงานหลาย ๆ อย่างมากที่สุด แม้ว่าทักษะการเรียนรู้และการคิดจะลดน้อยถอยลงในกระบวนการดังกล่าว

อาจารย์ Zheng Wang กล่าวว่า "พวกนักศึกษาไม่ได้ทำงานเป็นชิ้นเป็นอันเพิ่มขึ้น พวกเขาเพียงแค่รู้สึกพึงพอใจทางอารมณ์จากงานที่พวกเขาทำ"(อาจารย์ Zheng Wangมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ด้านการสื่อสาร แห่งมหาวิทยาลัย รัฐโอไฮโอ)

ยกตัวอย่าง เช่น หากนักศึกษาคนหนึ่งกำลังอ่านตำราบทเรียนด้านชีววิทยา ขณะเดียวกันก็กำลัง ติดตามละครเรื่อง Glee ตอนล่าสุด นักวิจัยพบว่า การทำงานหลายอย่างส่งผลให้นักศึกษาเกิดการกระตุ้นด้านอารมณ์ แม้ว่าเขาหรือเธอจะไม่ได้อะไรมากนักจากการอ่าน

"นักศึกษารู้สึกพึงพอใจไม่ใช่เพราะว่า พวกเขามีประสิทธิผลในการศึกษาเล่าเรียน แต่เพระว่าการเพิ่มเข้ามาของสื่อโทรทัศน์ช่วยทำให้การเรียนนั้นบันเทิงเริงใจมากขึ้น การผสมผสานของกิจกรรมเป็นเหตุผลของความรู้สึกดี ๆ ที่ได้รับ"

พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ มันทำให้งานที่น่าเบื่อแต่เป็นงานที่จำเป็นต้องทำ ดูเหมือนว่ามันเป็นเรื่องสนุก เครียดน้อยลง และสามารถทำต่อไปง่ายขึ้น ไม่เพียงแต่การทำงานหลายอย่างที่ใช้สื่อช่วยตอบความจำเป็นต้องการด้านอารมณ์ของนักศึกษา มันยังดูเหมือนจะเป็นนิสัยด้วย และมันก็เหมือนกับนิสัยอื่น ๆ นั่นก็คือมันยากที่จะเลิก

สรุปแล้ว การทำงานหลาย ๆ อย่างที่ใช้สื่อพร้อมกันในคราเดียวไม่ได้ช่วยนักศึกษา แต่พวกเขาได้รับรางวัลทางอารมณ์เป็นเครื่องตอบแทนโดยที่มันช่วยให้พวกเขาสามารถทำงานต่อไปได้เรื่อย ๆ

แหล่งที่มา : http://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=157872

โดย : คาริ ไนเรนเบิร์ก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook