ความจริง 10 ประการเกี่ยวกับความสุข

ความจริง 10 ประการเกี่ยวกับความสุข

ความจริง 10 ประการเกี่ยวกับความสุข
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นักวิทยาศาสตร์ได้ให้ความหมายของคำว่าความสุข มาจาก "อารมณ์บวก" ต่อไปนี้เป็นความจริงบางประการที่ได้มีการศึกษายืนยันทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งผลที่ออกมาอาจจะสร้างทั้งความแปลกใจ (อาจจะไม่ค่อยเห็นด้วย) และรู้สึกเห็นด้วยกับผลการศึกษาดังกล่าว ซึ่งความจริงที่ว่านี้คือ ความจริง 20 ประการเกี่ยวกับความสุข โดยวันนี้เราจะนำเสนอท่านผู้อ่าน 10 ข้อแรกในตอนที่ 1 ดังต่อไปนี้

1. ถึงแม้ยีนและการศึกษาจะเป็นตัวกำหนดความสุขของบุคคลกว่าร้อยละ 50 มีเพียงร้อยละ 10 เกี่ยวข้องกับรายได้และสภาพแวดล้อม และอีกกว่าร้อยละ 40 เกี่ยวข้องกับวิถีปฏิบัติตัวของบุคคล ซึ่งรวมถึง การสร้างสัมพันธภาพ เพื่อน งาน ความผูกพันต่อชุมชนที่อาศัย พฤติกรรมสุขภาพ (การออกกำลังกาย) และการใช้เวลาว่างของบุคคลนั้นๆ

2. หลังจากความต้องการพื้นฐานในชีวิตได้รับการตอบสนองครบถ้วนแล้ว สิ่งปรุงแต่งเพื่อความพึงพอใจและความสุขในชีวิต จะต้องการน้อยลงหรือไม่ต้องการเลย (มีการกล่าวกันอย่างกว้างขวางว่า จะต้องได้รับโชคลาภมากกว่า 1 ล้านปอนด์ เพื่อเปลี่ยนจากคนที่ไม่มีความสุขให้เป็นคนมีความสุข และผลกระทบนั้นก็เป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น)

3. ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในชีวิตมากกว่าคนหนุ่มสาว มีรายงานการศึกษายืนยันโดย Center for Disease Control and Prevention พบว่า ประชาชนอายุ 20-24 ปี รู้สึกเศร้าเฉลี่ย 3.4 วันต่อเดือน และประชาชนอายุระหว่าง 65-74 ปี มีความรู้สึกเศร้าเพียง 2.3 วันต่อเดือน

4. ถ้าเราสามารถออกกำลังกายครั้งละ 20 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 เดือน เราจะพบว่าความรู้สึก "มีความสุข" จะเกิดได้ง่ายขึ้นกว่าร้อยละ 10-20

5. ผู้ที่มีคะแนนความสุขสูงจากการตอบแบบทดสอบทางจิตวิทยา จะมีภูมิคุ้มกันร่างกายเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 50 ซึ่งมากกว่าการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

6. จากคลังข้อมูลความสุขประชากรโลก ของมหาวิทยาลัย Erasmus ประเทศฮอลแลนด์พบว่า ความสุขของคนเดนมาร์ก มีความสุขมากกว่าแห่งใดในโลก ตามมาด้วยมอลต้า สวิส ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ และแคนาดา

7. ในประเทศสหรัฐ ภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้น 3-10 ครั้ง ในทุกวันนี้ถือเป็นเรื่องธรรมดามากกว่าช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาที่ถือเป็นปัญหาใหญ่

8. ผู้อพยพมีแนวโน้มที่จะได้รับความสุขตามประเทศที่เขาย้ายเข้าไปอยู่ ไม่ใช่ความสุขตามประเทศที่เขาเกิด

9. ในประเทศที่มีรายได้สูง ดังเช่น ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย มีแนวโน้มจะมีความสุขมากกว่าประเทศที่มีการกระจายตัวความมั่งคั่งไม่ทั่วถึง (เช่น สหรัฐฯ) และประชาชนมีแนวโน้มจะต้องการปกครองตนเองในท้องถิ่นและต้องการประชาธิปไตยมากขึ้นเมื่อมีรายได้เพิ่มขึ้น

10. แรงงานที่รวยมีแนวโน้มจะมีความสุขมากกว่าเพื่อนรวมงานที่จน แต่การศึกษาวิจัยแนะว่าความสุขของผู้คนเป็นพลังให้สร้างความร่ำรวย เช่นกันกับแม่ไก่ที่มีสุขภาพดีก็จะให้ไข่ที่มีคุณภาพดีนั่นเอง

ที่มา: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook