′เครื่องแบบนักเรียน′ ที่อังกฤษก็มีปัญหา

′เครื่องแบบนักเรียน′ ที่อังกฤษก็มีปัญหา

′เครื่องแบบนักเรียน′ ที่อังกฤษก็มีปัญหา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คอลัมน์ รู้แล้วบอกต่อ โดย ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์

มีหลายประเทศที่บังคับให้นักเรียนต้องสวม "เครื่องแบบนักเรียน" ตามที่กำหนดให้ ประเทศอังกฤษก็เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนของรัฐบาลที่นั่นซึ่งมีอยู่มากกว่า 40,000 แห่งทั่วประเทศ

ที่อังกฤษเครื่องแบบนักเรียนแต่ละแห่งมีความแตกต่างกันออกไปบ้างเรื่องสีสัน แต่ส่วนใหญ่มักจะคล้ายคลึงกัน คือผู้ชายจะเป็นกางเกงขายาว เสื้อเชิ้ตแขนยาว มีเนคไท แล้วก็ที่ขาดไม่ได้ (เพราะสภาพอากาศ) ก็คือ สเวตเตอร์ ผู้หญิงก็เป็นกระโปรงที่กำหนดความยาว เชิ้ต เนกไท แล้วก็สเวตเตอร์ เช่นเดียวกัน

มีบ้างบางแห่งที่เพิ่มเติม เบลเซอร์ เข้าไปในชุดเครื่องแบบด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นที่ขาดไม่ได้ก็คือ "เครื่องหมาย" ที่เป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียนหรือสถานศึกษาต่างๆ เหล่านั้นที่ไม่เหมือนกันแน่นอน

ปัญหาเกิดขึ้นตรงที่ว่า โรงเรียนหลายแห่งมากที่กำหนดให้ใช้เครื่องแบบของโรงเรียนจากผู้ผลิตเพียงรายเดียว ที่เป็นสาเหตุให้ องค์การรณรงค์เพื่อการค้าที่เป็นธรรม หรือสำนักงานเพื่อการค้าอย่างเป็นธรรม (โอเอฟที) ที่เป็นองค์กรอิสระเพื่อผู้บริโภค และเพื่อความเป็นธรรมทางการค้าของอังกฤษ ต้องออกโรงร่อนหนังสือแจ้งไปยังโรงเรียนต่างๆ เกือบ 30,000 แห่ง ขอให้ทบทวนเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์เรื่องเครื่องแบบให้สามารถใช้เครื่องแบบจากผู้ผลิตมากกว่า 1 รายได้ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ที่ผ่านมา

เหตุผลของโอเอฟทีก็คือ ราคาของผู้ผลิตที่ถูกกำหนดให้ใช้นั้น แพงกว่าราคาของสินค้าประเภทเดียวกันทั่วไปหลายเท่าตัว

โอเอฟทีออกสำรวจราคาสินค้าพวกเครื่องแบบนักเรียนทั่วประเทศ แล้วนำไปเปรียบเทียบกับราคาสินค้าประเภทเดียวกันที่วางขายทั่วไปในซุปเปอร์มาร์เก็ต พบว่าแพงกว่ากันมาก ยกตัวอย่างเช่น เครื่องแบบที่เป็นเสื้อสเวตเตอร์ หรือสเวตเชิ้ต สำหรับนักเรียนมัธยมชาย ราคาที่ขายให้กับผู้ปกครองนักเรียนนั้นตกตัวละ 12 ปอนด์ (ราวๆ 600 บาท) ทั้งๆ ที่โอเอฟทีพบว่าในซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไปขายอยู่ในราคาแค่ 5 ปอนด์ (ราว 250 บาท) เท่านั้น

กระโปรงของนักเรียนระดับมัธยมก็เช่นเดียวกัน ขายให้ผู้ปกครองถึง 15.40 ปอนด์ (770

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook