เปิดชื่อสถาบันขาประจำ เด็กก่อเหตุวิวาท ซ้ำซาก 4 ปีก่อเหตุอื้อ

เปิดชื่อสถาบันขาประจำ เด็กก่อเหตุวิวาท ซ้ำซาก 4 ปีก่อเหตุอื้อ

เปิดชื่อสถาบันขาประจำ เด็กก่อเหตุวิวาท ซ้ำซาก 4 ปีก่อเหตุอื้อ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อไม่นานมานี้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ตอบกระทู้ถามของนายวัชระ เพชรทอง ส.ส. ประชาธิปัตย์เรื่อง ปัญหาเด็กนักเรียนทะเลาะวิวาท ว่า กระทรวงศึกษาธิการ ขอเรียนว่า มีการจัดเก็บข้อมูลนักเรียน นักศึกษา ก่อเหตุทะเลาะวิวาทแต่ละปี โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๔ มีข้อมูล ดังนี้

ปี พ.ศ. ๒๕๕๐

วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ จำนวน ๑๑ ครั้ง บาดเจ็บ ๑๓ คน เสียชีวิต ๑ คน
โรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ จำนวน ๖ ครั้ง บาดเจ็บ - คน เสียชีวิต - คน
โรงเรียนชำนิเทคโนโลยี จำนวน ๕ ครั้ง บาดเจ็บ ๑ คน เสียชีวิต - คน
วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกสมุทรปราการ จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ - คน เสียชีวิต - คน
วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง จำนวน ๒ ครั้ง บาดเจ็บ - คน เสียชีวิต - คน
โรงเรียนเทคโนโลยีดุสิต จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ - คน เสียชีวิต - คน
วิทยาลัยเทคนิคท่าหลวง ซีเมนต์ไทยอนุสรณ์ จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ - คน เสียชีวิต ๑ คน
โรงเรียนเทคโนโลยีปทุมธานี จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ - คน เสียชีวิต - คน
วิทยาลัยเทคนิคสองแคว จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ ๒ คน เสียชีวิต ๑ คน
วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ - คน เสียชีวิต - คน

ปี พ.ศ. ๒๕๕๑

วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ จำนวน ๓ ครั้ง บาดเจ็บ - คน เสียชีวิต - คน
โรงเรียนชำนิเทคโนโลยี จำนวน ๒ ครั้ง บาดเจ็บ - คน เสียชีวิต - คน
โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์ช่างกล ขส.ทบ. จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ - คน เสียชีวิต - คน
โรงเรียนอาชีวศิลป์ศรีย่าน จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ - คน เสียชีวิต - คน
โรงเรียนศรีวัฒนาบริหารธุรกิจ จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ - คน เสียชีวิต - คน
โรงเรียนเทคโนโลยีกรุงเทพ จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ ๓ คน เสียชีวิต - คน

ปี พ.ศ. ๒๕๕๒

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย จำนวน ๕ ครั้ง บาดเจ็บ ๕ คน เสียชีวิต ๓ คน
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน จำนวน ๕ ครั้ง บาดเจ็บ ๑ คน เสียชีวิต ๓ คน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลกรุงเทพ จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ ๒ คน เสียชีวิต ๒ คน

ปี พ.ศ. ๒๕๕๓

สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน จำนวน ๔ ครั้ง บาดเจ็บ ๙ คน เสียชีวิต - คน
มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ ๒ คน เสียชีวิต - คน
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ ๒ คน เสียชีวิต - คน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ - คน เสียชีวิต - คน
มหาวิทยาลัยราชภัฎ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ - คน เสียชีวิต ๑ คน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ - คน เสียชีวิต - คน

ปี พ.ศ. ๒๕๕๔

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ ๑ คน เสียชีวิต - คน
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน จำนวน ๒ ครั้ง บาดเจ็บ ๒ คน เสียชีวิต ๑ คน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลล้านนา จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ - คน เสียชีวิต ๑ คน
มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี จำนวน ๑ ครั้ง บาดเจ็บ ๑ คน เสียชีวิต - คน

สำหรับ มาตรการในการป้องกันและแก้ไข ปัญหานักเรียน นักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท ดังนี้

มาตรการระยะสั้น หลังเกิดเหตุทะเลาะวิวาท สถานศึกษาต้องหยุดทำการเรียนการสอนชั่วคราว (อย่างน้อย ๗ วัน) เพื่อระงับไม่ให้เหตุทะเลาะวิวาทลุกลามต่อเนื่อง และช่วงที่หยุดทำการเรียนการสอน ให้สถานศึกษาดำเนินการสอบสวนคัดแยกนักเรียน นักศึกษาที่กระทำความผิดเข้ารับการอบรม ในหลักสูตรพิเศษระยะสั้น โดยหลักสูตรดังกล่าวจะเน้นในเรื่องการฝึกวินัย คุณธรรม จริยธรรมควบคู่กับ การฝึกอาชีพ และมีการประเมินเป็นรายบุคคล

มาตรการระยะยาว มีการดำเนินการ ดังนี้

๑) การพัฒนาเครือข่ายสารวัตรนักเรียน เพื่อดูแลความประพฤติของนักเรียน นักศึกษาและประสานงานกับผู้ปกครองในการดูแล และปรับปรุงความประพฤติของนักเรียนนักศึกษา
๒) ส่งเสริมการจัดกิจกรรมที่สร้างภาพลักษณ์ที่ดี เช่น การบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมจิตอาสา
๓) จัดตั้งโรงเรียนหลักสูตรพิเศษ สำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน นักศึกษาที่มีปัญหาการก่อเหตุทะเลาะวิวาท โดยเน้นการฝึกวินัย คุณธรรม จริยธรรม ควบคู่กับการฝึกอาชีพปลูกฝังวัฒนธรรมที่ถูกต้องเกี่ยวกับการรักสถาบัน และสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม

มาตรการจูงใจ เน้นการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหา โดยส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาที่สามารถลดปัญหาหรือแก้ปัญหาการทะเลาะวิวาทได้ เช่น การประกาศเกียรติคุณให้กับสถานศึกษา มาตรการเด็ดขาด ดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับสถานศึกษาที่ปล่อยปละละเลย ไม่เข้มงวดใน การควบคุมดูแลนักเรียนนักศึกษา จนเป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาทขึ้นบ่อยครั้ง สำหรับสถานศึกษาของรัฐ ดำเนินการลงโทษทางวินัยกับผู้บริหารสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องในขั้นเด็ดขาด ส่วนสถานศึกษาเอกชน ดำเนินการโดยให้งดรับนักศึกษาใหม่ชั้นปีที่ ๑ หรือ เพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนเอกชน
ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐

มาตรการป้องกัน กำหนดให้สถาบัน สถานศึกษาจัดทำแผนและวิธีการป้องกันการก่อเหตุ ทะเลาะวิวาทของนักเรียน นักศึกษา มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดกิจกรรมร่วมกันด้วยกระบวนการเชิงสร้างสรรค์ มีการติดตามนักเรียน นักศึกษาที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ให้ผู้บริหารสถาบัน สถานศึกษาถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินการตามกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ และข้อบังคับอย่างเข้มงวดจริงจัง พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการดำเนินการตามกฎหมาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook