นักศึกษาโวย! ถูกเอเย่นต์ลอยแพ "เวิร์คแอนด์ทราเวล" ทำงานเมืองนอกช่วงปิดเทอม

นักศึกษาโวย! ถูกเอเย่นต์ลอยแพ "เวิร์คแอนด์ทราเวล" ทำงานเมืองนอกช่วงปิดเทอม

นักศึกษาโวย! ถูกเอเย่นต์ลอยแพ "เวิร์คแอนด์ทราเวล" ทำงานเมืองนอกช่วงปิดเทอม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook





หมายเหตุ : หนังสือพิมพ์ "ลูกศิลป์" คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีการนำเสนอข่าวกรณีโครงการ "เวิร์คแอนด์ทราเวล" ซึ่งเป็นโครงการที่เป็นที่นิยมของนักศึกษามหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตามมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงโครงการดังกล่าวว่าเมื่อนักศึกษาเข้าร่วมโครงการและเดินทางไปต่างประเทศกลับประสบปัญหากับบริษัทตัวแทนจัดหางานจนกลายเป็นปัญหาซ้ำซาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์เห็นว่ามีเนื้อหาน่าสนใจจึงขอนำมาเสนอ

ขณะนี้โครงการ ‘เวิร์คแอนด์ทราเวล' หรือ โครงการทำงานและท่องเที่ยวภาคฤดูร้อนระยะเวลาไม่เกิน 4 เดือนในช่วงปิดภาคเรียน กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มนักศึกษา โดยผู้สนใจสามารถติดต่อผ่านบริษัทตัวแทนการจัดหางานที่ประเทศไทยโดยตรง โดยใช้เงินประมาณคนละ 100,000 บาท ต่อการเดินทาง 1 ครั้ง รวมค่าเครื่องบินไป-กลับอย่างไรก็ดี ที่ผ่านมามีผู้ร้องเรียนหลายรายว่า มีบริษัทตัวแทนจัดหางานบางส่วนไม่ใส่ใจนักศึกษาเท่าที่ควรเมื่อไปถึงประเทศ นั้น รวมถึงบางครั้งยังบอกปัดความรับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือและตัดสาย โทรศัพท์ทิ้ง นอกจากนี้ในเรื่องค่าแรงและชั่วโมงการทำงานยังไม่เป็นไปตามสัญญาที่ทำไว้ กับลูกค้า

ผู้เข้าร่วมโครงการแฉ บริษัทบอกปัดให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหา

นาย พรเทพ ลีลาอมรรัตน์ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 1 ในผู้เข้าร่วมโครงการเวิร์คแอนทราเวลในปี 2555 เปิดเผยว่า ตนได้สมัครเข้าร่วมโครงการกับบริษัทตัวแทนการจัดหางานชื่อดังแห่งหนึ่งโดย เลือกทำงานร้านอาหารที่รัฐนอร์ทดาโกต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งช่วงที่ยังอยู่เมืองไทยบริษัทดูแลเป็นอย่างดี แต่พอชำระเงินค่าโครงการก้อนสุดท้ายครบแล้วบริษัทได้ให้ความสนใจน้อยลง

นาย พรเทพ กล่าวต่อว่า เมื่อไปถึงสหรัฐอเมริกาก็เกิดปัญหาหลายอย่างทั้งงาน และที่พักแต่บริษัทไม่สนใจ ถึงขนาดว่าวีซ่าในส่วนของการทำงานหมดอายุ และตนโดนที่พักของบริษัทไล่ออกทันทีโดยไม่ดูแล ทั้งที่ตนขอบริษัทไว้ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2555 แต่ทางบริษัททำให้ได้แค่วันที่ 5 มิถุนายน 2555 แล้วมารับรองกับตนว่าไม่เป็นปัญหาใดๆ หากจะอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาต่อ

"ผม ส่งข้อความไปทางเฟซบุ๊คของบริษัท แต่ก็โดนลบทิ้ง เมื่อโทรไปหาบริษัทที่ประเทศไทยก็ถูกบอกปัดให้ไปปรึกษาตัวแทนทางฝั่งอเมริกา แทนหรือบางครั้งก็ถูกตัดสายโทรศัพท์หนี" นายพรเทพ กล่าว

เผยต้องอาศัยนอนร้านแมคโดนัลล์-ล็อบบี้โรงแรม

นายพรเทพ กล่าวอีกว่า พอโดนไล่ออก และบริษัทไม่ช่วยเหลือ ตนก็เริ่มหาที่พักใหม่แต่ทำได้ยาก บางวันต้องนอนที่ร้านแมคโดนัลล์ พอร้านปิดก็ต้องไปแอบนอนที่ล็อบบี้โรงแรมต่อ ใช้ชีวิตอยู่อย่างนี้ประมาณ 1 อาทิตย์ สำหรับเพื่อนคนอื่นที่ไปด้วยก็ประสบปัญหาเดียวกัน แต่ด้วยความว่าเพื่อนเป็นผู้หญิงทางที่พักจึงให้พักต่อได้แต่ต้องนอนบริเวณ ระเบียง

นายพรเทพ กล่าวว่า นอกจากนี้ ในช่วงที่ทำงานสัญญาระบุว่า จะได้ทำงาน 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่พอไปถึงจริงได้ทำแค่ 16 ชั่วโมง พอโทรหาตัวแทนบริษัทที่เมืองไทยก็มีการจัดการให้ลงเวลาเพิ่มในตารางงานให้ ครบตามสัญญาเท่านั้น ส่วนชั่วโมงงานที่ได้ทำจริงก็ยังไม่ถึงตามที่สัญญาระบุอยู่ดี

นักศึกษาศิลปากรโดนด้วย ระบุ งานที่ทำไม่ตรงกับที่แจ้งไว้

ด้านนายนคร ไชยศรี นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยศิลปากร 1 ในผู้เข้าร่วม โครงการกล่าวว่า ตน ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกันคือเลือกงานขายของ แต่พอไปถึงกลับต้องไปทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาดและตัดหญ้า ภายนอกอาคาร อย่างไรก็ดี ตนไม่ได้แจ้งทางตัวแทนบริษัทหรือขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐบาล เพราะคิดว่าไม่น่าจะช่วยเหลืออะไรได้

ผู้จัดโครงการฯชี้ ปัญหาทั้งหมดเกิดจากนักศึกษาคาดหวังมากไป

นาง สาวจรวยพร ศรีสุรีย์ไพศาล ผู้จัดการโครงการเวิร์คแอนด์ทราเวลของบริษัท โอเวอร์ซีส์ เอ็ด กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า ปัญหาส่วนมากที่นักศึกษาเข้าร้องเรียนคือเรื่องของวัฒนธรรมที่แตกต่าง ชั่วโมงงานน้อย และได้เงินไม่พอใช้ ซึ่งแท้จริงแล้วปัญหาหลักของเรื่องทั้งหมดเกิดจากความคาดหวังของทางนักศึกษา ที่มีต่อตัวโครงการ โดยสิ่งที่องค์กรต้องการแนะนำนักศึกษาก่อนไปคือต้องทำความเข้าใจว่าเราไป ด้วยจุดประสงค์อะไร เมื่อเข้าใจแล้วปัญหาที่เกิดขึ้นจะน้อยลง

"นอก จากทำความเข้าใจกับตัวสัญญาแล้ว การเลือกเอเจนซี่ที่ดีก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยต้องดูความน่าเชื่อถือของทางบริษัทว่าได้จดทะเบียนกับทางกระทรวงพานิชย์ อย่างถูกต้องไหม เปิดมานานหรือยัง และต้องระวังพวกเอเจนซี่ห้องแถวที่เปิดมาปิดไป โดยอาจสอบถามจากคนที่เคยไปมาแล้ว" นางสาวจรวยพร กล่าว

หัวหน้าแนะแนว มธ. เผยโครงการนี้ ไม่อนุญาตให้ประชาสัมพันธ์ในมหาวิทยาลัย

นาง สุกัญญา สวัสดิเวทิน หัวหน้างานแนะแนวการศึกษาและอาชีพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเคยเปิดให้บริษัททำนองนี้เข้ามาแนะนำโครงการซึ่งมีนักศึกษาสมัคร ไปเป็นจำนวนมาก แต่ก็กลับเกิดปัญหาหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าจ้างไม่ตรงตามสัญญา ผู้ปกครองติดต่อบุตรไม่ได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันที่อาจเกิดขึ้น ทางสำนักคณะกรรมการอุดมศึกษาจึงออกกฎไม่ให้โครงการประเภทนี้เข้ามาประชา สัมพันธ์ในมหาวิทยาลัยอีกซึ่งมีผลบังคับทุกมหาวิทยาลัย

สคบ. แจง ปัญหาเกิดจากตัวสัญญา

นาย พศวัตน์ จุมปา นักสืบสวนปฏิบัติการประจำสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กล่าวว่า ปัญหาในเรื่องนี้ในช่วงหลัง มีการร้องเรียนมายังสคบ.ประมาณ 20 รายต่อปี ส่วนใหญ่มักเกิดจากความเข้าใจผิดกันของทั้งสองฝ่าย และเกิดจากตัวสัญญาเป็นหลักที่นักศึกษาจะเข้าใจสัญญาผิด ขณะที่บริษัทเองก็ร่างสัญญาให้เอื้อกับฝ่ายตนเอง ซึ่งเมื่อมีความขัดแย้ง ทาง สคบ.ก็จัดการให้ทั้งสองฝ่ายไกล่เกลี่ยกัน โดยส่วนมากจะจบด้วยการยอมความหรือชดเชยเป็นตัวเงิน และเท่าที่ผ่านมายังไม่มีคดีไหนร้ายแรงถึงขั้นฟ้องร้อง

เผยปัจจุบัน ไม่มีผู้รับผิดชอบโดยตรง แต่สามารถร้องเรียนผ่าน สคบ.

นาย พศวัตน์ กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดที่รับผิดชอบปัญหาที่เกิดขึ้นโดยตรง เนื่องจากยังไม่มีกฎหมาย ออกมารองรับ แต่ผู้เสียหายสามารถร้องเรียนมาทาง สคบ.ได้ เพราะทางหน่วยงานจะรับผิดชอบเกี่ยวกับคดีที่ไม่มีกฎหมายรับรองและถ้าหากมี การฟ้องร้องเกิดขึ้น ทางผู้เสียหายมีโอกาสชนะคดีสูง เนื่องจากทาง สคบ.จะตรวจสอบก่อนอยู่แล้วว่าคดีที่เกิดขึ้นเป็นความผิดของทางฝั่งบริษัท จริงหรือไม่ มีบางส่วนที่ไปร้องเรียนที่ศาลโดยตรงซึ่งในส่วนของศาลจะทำงานเร็วกว่าสคบ. แต่ไม่มีการรับรองว่าผู้เสียหายจะเป็นฝ่ายชนะคดี ดังนั้นเพื่อเป็นแก้ปัญหาจึงขอให้ผู้สมัครเข้าโครงการอ่านสัญญาให้ละเอียด ด้วย

ข้อมูลวิจัยชี้ ปัญหาหนักสุดที่พบ คือ ทำงานเป็นสาวเต้นระบำเปลื้องผ้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัญหาดังกล่าวเคยมีงานวิจัยของนางสาวธัญญาภรณ์ จันทรเวช เจ้าของวิทยานิพนธ์เรื่อง ‘ชีวิตข้ามแดนกับโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมโลกาภิวัตน์' คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อพ.ศ.2549 เคยศึกษาเรื่องนี้ และตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ ‘Work & travel เสี่ยงบริสุทธิ์: ขุดคุ้ยเส้นทางท่องเที่ยวเชิงกรรมกร เบื้องลึกโครงการฝึกงานภาคฤดูร้อนยอดฮิต' มีข้อมูลที่น่าสนใจระบุว่า โครงการทำงานและท่องเที่ยวภาคฤดูร้อน หรือ WAT นั้น ปีหนึ่งๆ มีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการประมาณปีละ 8,000 คน แต่ในเมืองไทยยังไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบโดยตรง ซึ่งจากการวิจัยพบว่า นักศึกษาพบปัญหามากมาย ได้แก่ ถูกลดชั่วโมงงาน ไม่มีงานทำเมื่อไปถึงประเทศสหรัฐอเมริกาหรือไม่ได้งานตามที่ตกลงกันเอาไว้ การถูกนายจ้างพยายามล่วงละเมิดทางเพศ จนไปถึงปัญหาที่หนักที่สุดอย่างการทำงานเป็นสาวเต้นระบำเปลื้องผ้าในสถาน บันเทิงแห่งหนึ่ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook