พบเด็กไทยมีไอคิวเฉลี่ย98.59ต่ำกว่าสากล

พบเด็กไทยมีไอคิวเฉลี่ย98.59ต่ำกว่าสากล

พบเด็กไทยมีไอคิวเฉลี่ย98.59ต่ำกว่าสากล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook


''หมอชลน่าน'' มั่นใจ ภายในปี 2559 ไอคิวเด็กไทยจะเท่าเด็กสากล สอนพ่อแม่อบรมเลี้ยงดูและกระตุ้น ขณะที่ กรมสุขภาพจิต ห่วง อีคิวเด็กไทยต่ำลงทุกปี เร่งเสริมสร้างความมุ่งมั่นพยายามเด็ก 3 กลุ่ม พัฒนาเข้าอาเซียนปี 59

นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำโครงการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทยมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โดยพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐาน เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทย ขยายผลลงสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ผลการสำรวจไอคิวนักเรียนไทยทั่วประเทศ ในปี 2554 พบเด็กไทยมีไอคิวเฉลี่ย 98.59 จุด ต่ำกว่าค่ากลางมาตรฐานสากลยุคปัจจุบันคือ 100 จุด

โดยในเขตกรุงเทพมหานคร มีระดับไอคิวเฉลี่ยสูงสุด 104.5 จุด รองลงมาคือภาคกลาง 101.29 จุด ภาคเหนือ 100.11 จุด ภาคใต้ 96.85 จุด และภาคอีสาน น้อยที่สุดคือ 95.99 จุด ในปี 2556 นี้ กระทรวงสาธารณสุข จึงมีนโยบายส่งเสริมให้เด็กมีไอคิวสูงขึ้น โดยเน้นพื้นที่ดำเนินงาน 3 จุด คือที่คลินิกเด็กสุขภาพดีโรงพยาบาลทั่วประเทศ และ2.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประมาณ 20,000 แห่งทั่วประเทศ และ 3.สอนพ่อแม่มีความรู้ มีทักษะในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก เพื่อร่วมดูแลเสริมสร้างไอคิวลูก สามารถสังเกตเฝ้าระวังความผิดปกติ มีพัฒนาการล่าช้าของลูก และเร่งแก้ไขให้มีการพัฒนาอย่างเต็มที่ โดยภายในปี 2559 มั่นใจว่าไอคิวของ
เด็กไทยจะเข้าสู่มาตรฐานสากลคือ 100 จุด

ขณะที่ นายแพทย์วิชระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวถึงการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์หรืออีคิว ของเด็กนักเรียนไทยว่า จากผลสำรวจของกระทรวงสาธารณสุข ล่าสุด ในปี 2554 พบเด็กอายุ 6-11 ปี ค่าคะแนนอีคิวเฉลี่ยพื้นฐานระดับประเทศอยู่ที่ 45.12 ซึ่งระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ซึ่งค่าเฉลี่ยอีคิวเกณฑ์ปกติ คือ 50 ขึ้น โดยมีเด็กถึงร้อยละ 80 ที่มีคะแนนต่ำกว่าปกติ โดยประเด็นที่น่าเป็นห่วง และพบว่ามีคะแนนต่ำที่สุดคือ มุ่งมั่นพยายามและกล้าแสดงออก อย่างละร้อยละ 43 และรื่นเริงเบิกบาน ร้อยละ45

นายแพทย์วชิระ กล่าวต่อว่า เมื่อนำผลรวมของคะแนนอีคิว ที่ได้มาจากการประเมินของครูฉบับเดียวกันในปี 2545 และปี 2550 พบว่า คะแนนดิบอีคิวของเด็กไทยมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ดังนั้นในปีนี้ กรมสุขภาพจิต จึงเร่งเสริมสร้างความมุ่งมั่นพยายามให้กับเด็กทั้ง 3 กลุ่มวัยคือ เด็กปฐมวัย เด็กวัยเรียน และวัยรุ่น เพื่อนำเด็กไทยก้าวสู่ประชาคมอาเซียน คาดหวังว่าอีคิวเด็กไทยจะดีขึ้นเมื่อสำรวจอีกครั้ง ในปี 2559

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook