บูมหลักสูตรปั้นซุป"ตาร์ ในยุคที่ใครก็อยากเป็นดาว

บูมหลักสูตรปั้นซุป"ตาร์ ในยุคที่ใครก็อยากเป็นดาว

บูมหลักสูตรปั้นซุป"ตาร์ ในยุคที่ใครก็อยากเป็นดาว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากตามดูข้อมูลคณะยอดนิยมที่เด็กตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา พบว่าคณะนิเทศศาสตร์ครองใจเด็กมากที่สุดเหนือทุกคณะ ไม่ว่าจะจากเหตุผลที่เด็ก ๆ ต่างใฝ่ฝันว่าในอนาคตจะมีโอกาสได้ทำงานในวงการสื่อสารมวลชนและการบันเทิง ทั้งหลักสูตรดังกล่าวยังมีกิจกรรมให้ทำมากมาย เรียนไม่ยากและได้เห็นเบื้องหลังของกระบวนการทำงานจากที่พวกเขาได้เสพผ่านสื่ออยู่ทุกวัน

และที่สำคัญกว่านั้น เคยมีผู้วิจัยถึงปัจจัยที่ทำให้เด็กตัดสินใจเลือกเรียนนิเทศศาสตร์ พบว่า 3 อันดับแรก คือเพราะเขาต้องการได้รับการยอมรับจากสังคม ได้รับความน่าเชื่อถือ และอยากโด่งดัง (วีระศักดิ์ สาเลยกานนท์, 2532 : น.567-569.) ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของเด็กยุคการสื่อสารไร้พรมแดนขณะนี้ ที่พวกเขาพยายามสร้างการยอมรับในสังคมผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก ดังจะเห็นศิลปินนักแสดงหลายคนที่กระโดดเข้ามาอยู่ในสื่อกระแสหลักหลังจากโด่งดังในโลกออนไลน์

อย่างไรก็ตาม หากอยากจะเป็นตัวจริงของวงการบันเทิงหรือระดับซูเปอร์สตาร์ ซึ่งหมายถึงการได้รับการยอมรับในความสามารถอย่างแท้จริงและจะทำให้มีโอกาสทำงานในวงการบันเทิงได้นาน จะต้องผ่านหลักสูตรการเรียนการสอนแบบเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นในระดับอุดมศึกษา ที่มหาวิทยาลัยแทบทุกแห่งก็มีการเปิดสอนในหลักสูตรนิเทศศาตร์ และมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้ทันยุคสมัยอยู่

ตลอดเวลา หรือสถาบันปั้นศิลปินที่เปิดอยู่มากมายในท้องตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและตลาดแรงงานปรับหลักสูตรรับอาเซียน

แม้ก่อนหน้านี้ในมหาวิทยาลัยจะมีการเปิดสอนในหลักสูตรนิเทศศาสตร์แต่การที่ประเทศไทยกำลังจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ในปี 2558 หลายมหาวิทยาลัยจึงมีการปรับหลักสูตรเพื่อให้บัณฑิตที่จบออกไปสามารถทำงานในอาเซียนได้

อย่างเช่นที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่เปิดหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง ในปีการศึกษา 2555 ที่ผ่านมา เพื่อเตรียมความพร้อมบัณฑิตสู่อาชีพในวงการบันเทิงและเสริมศักยภาพรองรับประชาคมอาเซียน

"ผศ.ดร.ธเนศ เวศร์ภาดา" คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงหลักสูตรนี้ว่า ทางมหาวิทยาลัยต้องการผลิตนักศึกษามีศักยภาพที่จะสามารถไปทำงานด้านศิลปะการแสดงและธุรกิจบันเทิงในประชาคมอาเซียน รวมถึงการเรียนรู้วัฒนธรรมเพื่อนบ้านอาเซียน นอกจากเรียนในส่วนของทฤษฎียังมีการฝึกให้มีความรู้ด้านการเป็นนักแสดง โดยร่วมกับบริษัทกันตนา กรุ๊ป เพื่อทำการฝึกฝนทักษะในด้านการแสดงจากผู้เชี่ยวชาญตัวจริง

"เราให้เด็กเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริง ครอบคลุมทุกสื่อการแสดง ทั้งละครเวที ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ การแสดง การกำกับการแสดง การเขียนบท การผลิตและการจัดการการแสดง การรวมทุกองค์ประกอบของธุรกิจการแสดง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ในทันทีหลังจบการศึกษา"

ขณะที่มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ก็มีการปรับหลักสูตรและเพิ่มองค์ความรู้ด้านวิชาชีพไปในหลักสูตร หรือการที่ ม.รังสิตเปิดสอนหลักสูตรนานาชาติในปีการศึกษา 2544 เพื่อยกระดับหลักสูตรนิเทศศาสตร์และรองรับนักศึกษาจากอาเซียนและทั่วโลก

รุก ร.ร.-มหา"ลัยปั้นหลักสูตร

ท่ามกลางกระแสความนิยมดังกล่าวทำให้สถาบันธุรกิจการศึกษานอกระบบซึ่งเรียกตัวเองว่าเป็นระบบการศึกษาทับสอง รุกเข้าสถาบันการศึกษาในระบบ โดยอาศัยจุดเด่นที่ความเชี่ยวชาญและความพร้อมของผู้สอนที่มีประสบการณ์ในวงการบันเทิง

อย่างเช่นสถาบันบางกอกแดนซ์ที่มีความเชี่ยวชาญในทุกศาสตร์ของการเต้นมากว่า 20 ปี ล่าสุดได้เข้าไปร่วมกับโรงเรียนสามัญศึกษา เพื่อเข้าไปบรรจุรายวิชาศิลปะ

การเต้นในหลักสูตรของระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยนำร่องที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งนักเรียนให้ความสนใจมาเรียนมากโดยอีก 2 ปีจะมีการเปิดสอนในสายศิลป์-แดนซ์ ให้นักเรียนระดับ ม.4-ม.6 ได้เลือกเรียน เพื่อเพิ่มทางเลือกในอาชีพมากขึ้น ทำให้เด็กสามารถเดินตามเส้นทางที่ชอบได้ทันทีโดยไม่ต้องรอไปเริ่มเรียน

ชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัย หรือบริษัทออเคสตร้า อินเวสท์เตอร์ กรุ๊ป จำกัด ซึ่งทำธุรกิจด้านการบันเทิง ผู้ผลิตรายการ และออร์แกไนเซอร์ ที่หันเข้ามาจับธุรกิจการศึกษา โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสยามจัดตั้งวิทยาลัยศิลปินแห่งเอเชีย หรือ Superstar College of Asia ด้วยงบประมาณลงทุนกว่า 150 ล้านบาท และคาดหวังว่าวิทยาลัยแห่งนี้จะสามารถเพิ่มสัดส่วนของกำไรให้แก่บริษัทถึง 20 เปอร์เซ็นต์ในต้นปีหน้า

พิสิษฏ์พงศ์ (ภูมิ) วรเศรษฐการกิจ ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท ออเคสตร้า อินเวสท์เตอร์ กรุ๊ป อธิบายถึงหลักสูตรของวิทยาลัยศิลปินแห่งเอเชีย หรือ Superstar College of Asia ว่า เป็นหลักสูตรที่ได้รับการพัฒนาจากคณาจารย์ชั้นนำจากสถาบันต่าง ๆ โดยความร่วมมือของสมาคมครูดนตรีแห่งประเทศไทย กรรมการบริหารผู้ทรงคุณวุฒิของวิทยาลัย และประสบการณ์และความต้องการจริงของผู้เชี่ยวชาญในวงการบันเทิง นอกจากนี้ยังมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยคังฮี ประเทศเกาหลี ที่เป็นสถาบันการศึกษาของซูเปอร์สตาร์ของเกาหลีอย่างเรน วงซุปเปอร์จูเนียร์ ฯลฯ และมหาวิทยาลัยโตไกย ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยสอนการแสดงที่เก่าแก่ ในการแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา จึงมั่นใจว่า เมื่อนักศึกษาจบไปจะเป็นที่ต้องการของตลาดบันเทิงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างมาก"

"ขณะนี้เราอยู่ระหว่างการรับสมัครนักศึกษารุ่นแรก และจะเปิดการเรียนการสอนปี 2556 ในเดือนสิงหาคม ตามระบบอาเซียน โดยจุดแข็งของวิทยาลัยแห่งนี้คือคณาจารย์กว่า 100 คนที่มีประสบการณ์จริงในวงการบันเทิง รวมถึงผู้บริหารจากค่ายและสังกัดต่าง ๆ อีกทั้งหลักสูตรที่สร้างศิลปินโดยเน้นการปฏิบัติจริงให้ตรงกับความต้องการของตลาดอุตสาหกรรมบันเทิง อีกทั้งวิทยาลัยได้ตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า Career Center เพื่อจัดหางานให้แก่นักศึกษาได้มีโอกาสสร้างรายได้ระหว่างเรียนตั้งแต่เข้าเรียนปีที่หนึ่ง ผ่านทางพันธมิตรทางธุรกิจในวงการบันเทิง โดยรุ่นแรกตั้งเป้ารับนักศึกษา 200 คน และเตรียมเปิดหลักสูตร International Program เพื่อรองรับนักศึกษาจากอาเซียนหลังจากการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558"

ตลาดแรงงานอาเซียนอ้าแขนรับ

พิสิษฏ์พงศ์ยังบอกด้วยว่า โอกาสในตลาดงานในอุตสาหกรรมบันเทิงยังมีความต้องการอีกมาก อีกทั้งประเทศไทยจะถูกรวมเป็นสมาชิก AEC ทำให้เราต้องวางแผนการผลิตบุคลากรป้อนให้กับวงการบันเทิงทั้งภายในประเทศและนอกประเทศอีกด้วย

"ปัจจุบันรายได้รวมของบริษัทบันเทิงในตลาดหลักทรัพย์ตามข้อมูลปี 2011 มีมูลค่ารวมกว่า 50,000 ล้านบาท ยังไม่นับรวมบริษัทส่วนใหญ่ที่ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ธุรกิจบันเทิงยังมีความต้องการ Content เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากโทรทัศน์เคเบิลและดาวเทียมที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 200 ช่อง อีกทั้งรัฐบาลได้ประกาศเดินหน้า Digital TV อินเทอร์เน็ต 3G และ 4G และในอนาคตอันใกล้จะมีช่องโทรทัศน์และสื่อสมัยใหม่เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ทำให้ปัจจุบันนี้ประเทศไทยยังขาดบุคลากรที่มีคุณภาพทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังอีกเป็นจำนวนมาก"

จึงเป็นอีกอาชีพสดใสในตลาดอาเซียนสำหรับคนที่มีความถนัดทางสายศิลป์ ซึ่งนอกจากจะเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ที่ดีให้แก่ตนเองแล้วยังสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้อีกทาง ดังนั้นอาชีพของคนวงการบันเทิงจึงไม่ใช่แค่เพียงอาชีพเต้นกินรำกินเหมือนในอดีตอย่างแน่นอน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook