เลือกเรียนอย่างไร จบแล้วไม่ตกงาน (จบ)

เลือกเรียนอย่างไร จบแล้วไม่ตกงาน (จบ)

เลือกเรียนอย่างไร จบแล้วไม่ตกงาน (จบ)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เหตุใดการจับคู่ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างจึงเกิดขึ้นยาก (Mismatch) โดยสรุปแล้วสาเหตุของปัญหาการว่างงานชั่วคราวเกิดขึ้นจากความขัดแย้งระหว่าง "การผลิตบัณฑิตของระบบการศึกษา" และ "ความต้องการของตลาดแรงงาน" ซึ่งมีปัจจัยสำคัญจากฝั่งอุปสงค์และอุปทานแรงงานดังต่อไปนี้



1.ผู้เรียนขาดข้อมูลความต้องการของแรงงานในตลาด (Demand for Labour) และผลตอบแทนในอนาคตของสาขาอาชีพต่าง ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกศึกษาหลังระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จึงทำให้ผู้เรียนจำนวนกว่า 100,000 คน ตัดสินใจเลือกเรียนสาขาที่ "ไม่มีตำแหน่งรองรับในตลาดแรงงาน"

2.ผู้ประกอบการมีต้นทุนสูงในการค้นหา (Search) แรงงานที่ "ใช่" อันเนื่องจากอุปทานแรงงาน (Supply for Labour) ที่มีอยู่ในตลาดส่วนใหญ่มีทักษะไม่ตรงกับความต้องการของตนมาก นายจ้างส่วนใหญ่จึงเลือก "รอ" และปฏิเสธการจ้างแรงงานที่ว่างงานอยู่จำนวนมาก

แนวทางการแก้ไขปัญหาการว่างงานชั่วคราวอย่างเป็นระบบจำเป็นจะต้องมีการปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) ของเด็กและเยาวชนในการเลือกเรียนจาก "เลือกเรียนเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย" เป็น "เลือกเรียนเพื่อมีงานทำ" โดยส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงของอุปสงค์และอุปทานแรงงานข้ามช่วงเวลา (Intertemporal Matching) เช่น ส่งเสริมให้การตัดสินใจทางการศึกษาของผู้จบการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปัจจุบัน "ตรง/Match" กับความต้องการและทิศทางของตลาดแรงงานในอีก 5-7 ปีข้างหน้า เมื่อผู้เรียนเหล่านี้จบการศึกษาและเข้าสู่ตลาดแรงงาน ดังนั้นแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบในประเทศไทยตามแนวทางที่นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลทั้ง 3 คนได้ให้ไว้คือ

1.ปฏิรูปกลไกการวางแผนและการผลิตกำลังคนของประเทศให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน (Market-Based Human Resource Planning and Development) โดยอาศัยกลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่มี เช่น คณะกรรมการร่วมภาคเอกชนและภาครัฐ สภาพัฒน์ กระทรวงศึกษาธิการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาร่วมมือกันกำหนดเป้าหมายการผลิตกำลังคนทั้งในสายอาชีพและสายอุดมศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต และใช้เป้าหมายอัตราการจ้างงานของบัณฑิตจบใหม่เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของการจัดการศึกษาของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

2.ส่งเสริมมาตรการสร้างแรงจูงใจในการศึกษาเพื่อการมีงานทำของผู้เรียน โดยปฏิรูปกลไกการแนะแนวที่มีอยู่ในปัจจุบัน และเพิ่มกลไกการให้ทุนการศึกษาหรือการฝึกงานในสถานประกอบการจริง เพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงระหว่างผู้เรียน ผู้สอน และผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง

3.ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐในการร่วมกันจัดการศึกษาเพื่อสนองความต้องการทางเศรษฐกิจของประเทศ เช่น โครงการทวิภาคีต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบันซึ่งควร

ขยายผลในวงกว้าง ทั้งในแง่ของจำนวนผู้เรียนที่เข้าโครงการ และในแง่ของสาขาวิชาชีพที่มีความหลากหลาย รวมทั้งโครงการทวิภาคีในระบบการศึกษาสายสามัญ โดยรัฐควรเพิ่มเรงจูงใจทางภาษีให้แก่เอกชนที่ร่วมโครงการดังกล่าว

ประโยชน์ของมาตรการการแก้ไขปัญหาการว่างงานชั่วคราวข้างต้นนี้นอกจากจะสามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างมั่นคงแล้ว ยังจะช่วยสร้างความคุ้มค่าให้กับเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่พวกเราลงทุนในระบบการศึกษากว่า 4-5 แสนล้านบาทต่อปี ที่สำคัญบัณฑิตทุกคนที่จบการศึกษาในอนาคตจะได้ฉลองกันได้อย่างสบายอกสบายใจเต็มที่เสียที ขณะเดียวกันผู้ประกอบการ

ก็ยิ้มได้เมื่อได้บุคลากรที่ตรงตามสเป็กมาทำงานอย่างมีคุณภาพ ยังไม่นับถึงการช่วยลดปัญหาการเลิกเรียนกลางคัน เมื่อมีมาตรการส่งเสริมการศึกษาเพื่อการมีงานทำตั้งแต่เรียนมัธยมต้น !

โดย education.pcc@gmail.com ดร.ไกรยศ ภัทราวาส ผู้เชี่ยวชาญนโยบายเศรษศาสตร์การศึกษา สสค.

ติดตามความเคลื่อนไหว The Star 9 ได้ที่นี่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook