จุฬาฯเจ๋ง! ผสมเทียมปะการังสำเร็จ

จุฬาฯเจ๋ง! ผสมเทียมปะการังสำเร็จ

จุฬาฯเจ๋ง! ผสมเทียมปะการังสำเร็จ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 2 เมษายน รศ.วรณพ วิยกาญจน์ พร้อมด้วย รศ.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความสำเร็จในโครงการวิจัยการเพาะปะการังแบบอาศัยเพศ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโครงการอนุรักษ์พันธุ์พืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตปะการังฟอกขาว และฟื้นฟูแนวปะการังในประเทศไทย ว่า หลังจากปล่อยลงสู่ทะเลธรรมชาติแล้ว ปะการังมีความแข็งแรง ดำรงอยู่ในธรรมชาติได้ และยังสามารถผสมพันธุ์ในธรรมชาติจนออกไข่ปะการังรุ่นหลานได้สำเร็จ

รศ.วรณพกล่าวว่า กลุ่มการวิจัยชีววิทยาแนวปะการัง ใช้การผสมเทียม โดยศึกษาวิจัยในพื้นที่หมู่เกาะแสมสาร อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี นำตัวอ่อนปะการัง มาอนุบาลในระบบเลี้ยงเป็นเวลา 2 ปี ก่อนนำกลับคืนถิ่นสู่ทะเลเกิด โดยเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมามีการตรวจพบเซลล์สืบพันธุ์จากตัวอ่อนปะการังเขากวาง ซึ่งเป็นรุ่นที่เพาะฟักในปี 2551 นำมาอนุบาล 2 ปี แล้วนำกลับคืนท้องทะเล เมื่อ 2553 พบว่าปะการังที่มีอายุเพียง 5 ปี หลังการเพาะฟัก สามารถพัฒนาสร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้ ซึ่งไม่เคยปรากฏมีการศึกษาเรื่องนี้มาก่อน

รศ.สุชนากล่าวว่า พื้นที่หมู่เกาะแสมสาร มีปัจจัยด้านตะกอนแขวนลอยในมวลน้ำค่อนข้างสูง และยังมีสิ่งมีชีวิตอื่นที่หลากหลายและเติบโตเร็วกว่า จึงต้องอนุบาลตัวอ่อนให้มีขนาดที่เหมาะสม สามารถปกป้องตัวเองได้ก่อนนำกลับคืนสู่ถิ่นเกิด และเมื่อเปรียบเทียบกับแบบปล่อยตามธรรมชาติแล้วพบว่ามีอัตราการรอดสูงกว่า 40-50%

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook