ตั้งเป้าปรับหลักสูตรให้เด็กไทยมีทักษะมากกว่าท่องจำ ก่อนเดินหน้าปรับครู

ตั้งเป้าปรับหลักสูตรให้เด็กไทยมีทักษะมากกว่าท่องจำ ก่อนเดินหน้าปรับครู

ตั้งเป้าปรับหลักสูตรให้เด็กไทยมีทักษะมากกว่าท่องจำ ก่อนเดินหน้าปรับครู
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook


คกก.ปฏิรูปหลักสูตร ตั้งเป้าปรับหลักสูตรให้เด็กไทยมีทักษะด้านต่างๆ มากกว่าการท่องจำเนื้อหา ก่อนจะเดินหน้าปรับการสอนของครูและเรื่องอื่นๆ

รศ.ดร.วันชัย ดีเอกนามกูล เลขานุการคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตร เปิดเผยว่า ในการประชุมของคณะกรรมการปฏิรูปฯ วันที่ 27 มิถุนายน จะได้ทราบกรอบใหญ่ที่ประชุมจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้และหลักสูตรได้สรุปมาจนตกผลึกทักษะเน้นไปที่ผู้เรียน เป็นกรอบกลุ่มความรู้ 6 ด้านที่มีความชัดเจนเป้าหมายไปตามความรู้ ซึ่งทั้งกลุ่มความรู้ทั้ง 6 ด้านนี้จะไปรายงานให้ที่ประชุมรับทราบ คณะกรรมการฯจะพยายามให้ได้ข้อสรุปรายงานคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ซึ่งได้ตอบรับมาร่วมประชุมวันที่ 3 กรกฎาคมนี้แล้ว

สำหรับ 6 กลุ่มความรู้จะมาใช้แทน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เช่น กลุ่มความรู้ภาษา การสื่อสาร วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี บูรณาการวิชการคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกัน ชีวิตและหน้าที่การงาน มนุษย์สังคและโลก ขณะนี้คณะทำงานทั้ง 6 กลุ่มซึ่งจะไปศึกษาว่าแต่ละชั้นปีควรเรียนรู้อะไรบ้าง บูรณาการเป็นอย่างไรให้การเรียนการสอนไม่แยกส่วน ได้ผลลัพธ์เชิงทักษะ คิดเป็นทำเป็น สมบูรณ์ในเชิงความเชื่อม

"ในคณะกรรมการฯ พูดถึงการทำงานว่า เราต้องการความมั่นใจของคณะกรรมการเหล่านี้ว่าจะมีความต่อเนื่อง แม้จะมีเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับประเทศ การปรับหลักสูตรต้องทำให้ต่อเนื่อง จึงเตรียมเสนอให้เป็นคณะกรรมการฯ แห่งชาติมีหลักการทำงาน โดย อ.ภาวิช ทองโรจน์ ประธานคณะกรรมการฯ ได้ให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มั่นใจในเชิงบวก และใช้โอกาสนี้ใช้หลักสูตรนี้เป็นกรอบ กลุ่มคนองค์กรใดคัดค้านจนอาจต้องล้มนั้นต้องเข้่าใจว่า อ.ภาวิช รับมอบนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการฯ โดยตรงที่อยากเห็นการปฏิรูปหลักสูตร จนเป็นเครื่องมือ ถ้าเครื่องมือดีจะนำร่องในโรงเรียนจำนวนหนึ่งก่อน ซึ่ง สพฐ.ได้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 แล้ว และมีการตั้งงบประมาณนำร่องในปีถัดๆ ไปด้วย เพื่อให้หลักสูตรใหม่นี้ใช้แทนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสมบูรณ์รายละเอียดมากกว่าเดิม และให้ครูอาจารย์ในโรงเรียนสามารถใช้แนวปฏิบัติหรือไปประยุกต์ ต่อยอดไปอีก หลักสูตรนี้ ครูสามารถระดับหนึ่งก็สอนให้ไปตามวัตถุประสงค์ได้" เลขานุการคณะกรรมการปฏิรูปฯ กล่าว

รศ.ดร.วันชัย กล่าวอีกว่า ความล้มเหลวของระบบการศึกษาไทยคือ เน้นหนักในเนื้อหาวิชาการ จนกลายเป็นค่านิยมท่องจำ ทำให้ทักษะกิจกรรมอื่นๆ ด้อยไป ทำให้ไม่สอดคล้องกับบุคลากรที่ควรจะเป็นในอนาคต หลักสูตรใหม่แม้เวลาเรียนอยู่ในห้องเรียนน้อยลง แต่กิจกรรมช่วงบ่ายเป็นกิจกรรมเสริมด้านอื่นๆ ทำให้เกิดทักษะอื่นๆ มาเสริมความรู้ทั่วไปสร้างเด็กคู่ขนาน ต่อไปมหาวิทยาลัยก็จะต้องปรับเปลี่ยนการวัดผล ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นหลังจากมีการปรับรื้อหลักสูตร เพราะหากการวัดผลไม่สอดคล้องกันถือว่าล้มเหลว มหาวิทยาลัยน่าจะพึงพอใจเพราะไม่ได้เด็กเก่งแค่ท่องจำไปสอบ แต่จะได้เด็กที่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้เป็น.-สำนักข่าวไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook