หลักสูตรใหม่แก้ถูกจุดหรือไม่??

หลักสูตรใหม่แก้ถูกจุดหรือไม่??

หลักสูตรใหม่แก้ถูกจุดหรือไม่??
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นข่าวที่หลายท่านในแวดวงการศึกษากำลังพูดถึง กับการปรับปรุงแบบยกเครื่อง ของหลักสูตรขั้นพื้นฐานตั้งแต่ ป.1 ถึง ม.6 ของประเทศไทยที่มีแนวโน้มว่าจะเริ่มใช้กันจริงๆ จังเร็วๆ นี้

ทำไมต้องปรับหลักสูตร
มีคำถามว่า "ทำไมต้องยกเครื่องหลักสูตรล่ะ" ที่มาที่ไปสั้นๆ คือ มีข้อสังเกตุจากหลายฝ่ายว่าบ้านเราประสบความล้มเหลวด้านการศึกษา เด็กคิดไม่เป็น เพราะมัวแต่ท่องจำ นักเรียนไทยใช้เวลาเรียนมากที่สุด แต่ผลการสอบคะแนนต่างๆ กลับต่ำติดดินเมื่อเทียบกับคะแนนกลางของทั้งโลก และเหตุผลอีกมากมายนานับประการที่ยังคงถกเถียงกันจนถึงทุกวันนี้

หน้าตาของหลักสูตรใหม่เป็นอย่างไร
ถ้ามองภาพรวมจะเห็นได้ว่า มีความพยายามให้ "เด็กเรียนน้อยลง" "จำน้อยลง คิดเองให้มากขึ้น" กลุ่มสาระทั้ง 8 ถูกรวบขมวดเป็น "กลุ่มการเรียนรู้ทั้ง 6" อันประกอบด้วย

1. ภาษาและวัฒนธรรม (Language and Culture)
2. วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (STEM)
3. การดำรงชีวิตและโลกของงาน (Work Life)
4. ทักษะสื่อและการสื่อสาร (Media Skill and Communication)
5. สังคมและมนุษย์ศาสตร์ (Society and Humanity)
6. อาเซียน ภูมิภาค และโลก (ASEAN Region and World)

นอกจากลดกลุ่มสาระแล้วหลักสูตรมีแนวโน้มที่จะลดเวลาเรียนโดยเฉลี่ยของเด็กไทยลงไป

ช่วงชั้น                  เวลาเรียนหลักสูตรเดิม            หลักสูตรใหม่
ป. 1 - 3                ประมาณ 1,000 ชม.               790 ชม.
ป. 4 - 6                ประมาณ 1,000 ชม.               800 ชม.
ม. 1 - 3                ประมาณ 1,000 ชม.               900 ชม.

คำถามที่ยังรอคำตอบ
หากเรามองดูรายละเอียดของเนื้อหาสาระต่างๆ จะเห็นได้ว่าก็อาจจะไม่แตกต่างจากเดิมเท่าใดนัก ถึงแม้จะมีการลดกลุ่มสาระจากเดิม 8 เป็น 6 แต่ก็เป็นเพียงการรวมกลุ่ม (Grouping) ใหม่เท่านั้น ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างอย่างมากมายนัก แต่ที่น่าสนใจคือ "เวลาเรียนที่น้อยลง" และ "แนวคิดที่ไม่ต้องใส่เนื้อหาสาระให้เด็กมากนักเหมือนหลักสูตรปัจจุบัน" ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจว่าจะแก้ปัญหาเด็กไทยไม่ฉลาดได้หรือไม่

"เรียนเยอะยังไม่ฉลาด แล้วการเรียนน้อยลงจะทำให้ฉลาดขึ้นอย่างนั้นหรือ?"

"การศึกษาไทยที่ไม่ประสบความสำเร็จเป็นเพราะตัวอักษรในคู่มือหลักสูตรเท่านั้นเองหรือ? แล้วการปรับปรุงควบคุมคุณภาพทางการเรียนการสอน การให้อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ซึ่งถือเป็นตัวช่วยและการพัฒนาให้แก่ครูบาอาจารย์ล่ะ มิใช่ปัจจัยที่สำคัญกว่าหรอกหรือ?"

เราคงต้องเฝ้าดูกันต่อไปสำหรับท่าทีและแนวทางของหลักสูตร "ใหม่" ว่าจะเป็น พระเอกขี่ม้าขาว หรือตัวละครเก่าในชื่อใหม่เท่านั้น

"Dr.Pepper"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook