ประโยชน์ของน้ำหมึกที่คุณไม่รู้

ประโยชน์ของน้ำหมึกที่คุณไม่รู้

ประโยชน์ของน้ำหมึกที่คุณไม่รู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

The Unknown Benefits of Cephalopod Ink

Squid, octopus, and cuttle fish are categorized as "cephalopods," which belong to a group of marine invertebrates with a prominent head and a set of tentacles. Fishermen sometimes called this class of marine animals "ink fish" because of their common ability to squirt ink, which they use as a mechanism for survival. Most cephalopods have an ink sac that produces and contains the ink, which is composed of highly concentrated melanin, free amino acids, enzyme tyrosinase and hormone dopamine. The variety of chemical compositions of ink in different species leads to different ink colors: the black ink in octopus, the bluish-black ink in squid and the brown ink in cuttle fish. When it is threatened, the cephalopod squirts the mixture of ink and water in the direction of its
predator as an escape mechanism. The melanin in ink creates dark, murky water, while the tyrosinase irritates the eyes and temporarily hinders the sense of smell of its enemy, allowing the cephalopod to escape without being followed by its enemy.

Surprisingly, cephalopods are not the only creatures that benefit from their ink, as humans have also taken advantage of the cephalopod ink in different ways. The most well-known use of cephalopod ink is in the Mediterranean cuisine, in which cephalopod ink is added to pasta and rice, giving a distinctive color and briny flavor to the meal. Other benefits of cephalopod ink were discovered by scientists, such as the addition of squid ink in chicken feed to enhance the immunity and growth of broiler chicken. Most importantly, substances isolated from squid ink can slow down tumor growth and stop the migration of cancer cells, so that its potential application in medicine can be realized, as well. As more benefits of cephalopod ink continue to be discovered, one can only hope that these discoveries will not lead to the capture of more cephalopods for the biologically active substances in its ink. It would be a cruel joke to Mother Nature if the mechanism created to ensure the cephalopod's survival were to be the very cause of its demise.

ประโยชน์ของน้ำหมึกที่คุณไม่รู้

หมึกกล้วย หมึกยักษ์ และ หมึกกระดอง ล้วนจัดอยู่ในกลุ่มพวกเซฟาโลพอด ซึ่งเป็นกลุ่มของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในน้ำเค็มที่มีหัวขนาดใหญ่ และ หนวด บางครั้ง ชาวประมงจะเรียกสัตว์กลุ่มนี้ว่า "ปลาหมึก" ตามความสามารถในการพ่นน้ำหมึก ซึ่งเป็นวิธีเอาตัวรอดของสัตว์ทะเลกลุ่มนี้ ปลาหมึกส่วนใหญ่มีถุงน้ำหมึกที่สร้างและบรรจุน้ำหมึกซึ่งประกอบไปด้วยเมลานินที่ความเข้มข้นสูง กรดอะมิโนอิสระ เอนไซม์ไทโรซิเนส และฮอร์โมนโดปามีน ความหลากหลายทางองค์ประกอบในน้ำหมึกของหมึกชนิดต่างๆ ทำให้เกิดสีน้ำหมึกที่แตกต่างกัน เช่น สีดำจากหมึกยักษ์ สีน้ำเงินดำจากหมึกกล้วย และสีน้ำตาลจากหมึกกระดอง เมื่อถูกคุกคาม ปลาหมึกจะพ่นส่วนผสมระหว่างหมึกและน้ำออกมายังทิศทางของผู้ล่าเพื่อเป็นกลไกการหลบหนี สารเมลานินจะทำให้น้ำเป็นสีขุ่นเข้ม ในขณะที่เอนไซม์ไทโรซิเนสระคายเคืองตา และบดบังความสามารถในการรับกลิ่นของศัตรูไปชั่วขณะหนึ่ง ทำให้ปลาหมึกสามารถหลบหนีการไล่ล่าจากศัตรูได้

ที่น่าประหลาดใจก็คือ ปลาหมึกไม่ใช่สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่ได้รับประโยชน์จากน้ำหมึกของมันเนื่องจาก มนุษย์เองก็ได้นำน้ำหมึกมาใช้ในด้านต่างๆ เช่นกัน การใช้ประโยชน์จากน้ำหมึกที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือในอาหารแถบเมดิเตอร์เรเนียน ที่มีการผสมน้ำหมึกลงไปในเส้นพาสต้าหรือข้าวเพื่อให้อาหารนั้นมีสีเข้มที่เป็นเอกลักษณ์และรสเค็ม นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบประโยชน์อื่นๆ ของน้ำหมึก เช่น การใส่น้ำหมึกลงในอาหารไก่จะเพิ่มภูมิคุ้มกันและอัตราการโตของไก่เนื้อ และที่สำคัญที่สุด สารที่สกัดจากน้ำหมึกของปลาหมึกกล้วยยังสามารถชะลอการเจริญเติบโตของเนื้องอกและยับยั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งซึ่งมีความเป็นไปได้ที่มันจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ยิ่งประโยชน์ของน้ำหมึกถูกค้นพบมากขึ้นเท่าไร เราก็คงได้แต่หวังว่ามันจะไม่ทำให้ปลาหมึกถูกจับมากขึ้นเพื่อสกัดเอาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากน้ำหมึกของมัน เพราะคงจะเป็นตลกร้ายต่อธรรมชาติอยู่ไม่น้อย หากสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อความอยู่รอดของปลาหมึก จะกลายเป็นสาเหตุแห่งความตายของมัน


Vocabulary
tentacle (n.) เทนทาเคิล หนวดปลาหมึก
squirt (v.) สเควิร์ท ฉีดน้ำเป็นฝอย พ่นเป็นฝอย
survival (n.)ซอร์ไวว่อล ความอยู่รอด การรอดชีวิต
sac (n.) แส็ค ถุงในสัตว์หรือพืช
melanin (n.) เมลานิน เม็ดสีดำ หรือน้ำตาล ในผม ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อ
murky (adj.) เมิร์คคี ซึ่งมืดมัว มืดมน ปกคลุมไปด้วยหมอก ไม่ชัดเจน
briny (adj.) ไบรนี่ มีรสเค็ม ประกอบไปด้วยเกลือ
tumor (n.) ทูเมอร์ เนื้องอก
demise (n.) ดีไมซ์ การตาย การสิ้นสุด

คอลัมน์ Science Zone
ผู้เขียน วนนิตย์ (I Get English Magazine)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook