โรซาลินด์ แฟรงคลิน(Rosalind Franklin) นักเคมีและผลึกวิทยาผู้มีบทบาทสำคัญในการค้นพบดีเอ็นเอ

โรซาลินด์ แฟรงคลิน(Rosalind Franklin) นักเคมีและผลึกวิทยาผู้มีบทบาทสำคัญในการค้นพบดีเอ็นเอ

โรซาลินด์ แฟรงคลิน(Rosalind Franklin) นักเคมีและผลึกวิทยาผู้มีบทบาทสำคัญในการค้นพบดีเอ็นเอ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เพื่อนๆ สังเกตกันบ้างไหมว่าวันนี้หน้าแรก Google ปรับเปลี่ยนไปอีกแล้ว โดยเป็นภาพหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งก็คือ โรซาลินด์ แฟรงคลิน (Rosalind Franklin) นักเคมีและผลึกวิทยาชาวอังกฤษผู้มีบทบาทสำคัญในการค้นพบดีเอ็นเอ นั่นเอง

โรซาลินด์ เอลซี แฟรงคลิน เป็นนักเคมีและผลึกวิทยาชาวอังกฤษผู้มีบทบาทสำคัญในการค้นพบดีเอ็นเอ ตลอดจนศึกษาโครงสร้างของ อาร์เอ็นเอ และไวรัส แม้ในตอนแรกเธอจะทำงานวิจัยด้านถ่านหินและการศึกษาด้วยรังสีเอกซ์ แต่เทคนิคที่เธอใช้ก็ได้นำมาศึกษาโครงสร้างของสารชีวโมเลกุลจนทำให้เพื่อนร่วมงานของเธอได้รับรางวัลโนเบล อย่างไรก็ตาม ด้วยการทำงานในสถานที่ที่มีรังสีเอกซ์อยู่มาก ทำให้เธอต้องถึงแก่กรรมก่อนวัยอันควร

ผลงานที่รู้จักกันดีของโรซาลินด์ แฟรงคลิน คือ โฟโต 51 หรือภาพถ่ายจากการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ของดีเอ็นเอ ซึ่งนำไปสู่การค้นพบโครงสร้างเกลียวคู่ของดีเอ็นเอ เจมส์ วัตสัน และฟรานซิส คริก แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้นำข้อมูลของเธอไปใช้ ในการตั้งสมมติฐานว่าด้วยโครงสร้างของดีเอ็นเอ โฟโต 51 ได้ให้รายละเอียดยืนยันว่าดีเอ็นเอมีโครงสร้างเป็นรูปเกลียวอย่างชัดเจน แต่จากการที่โรซาลินด์มิได้รับรู้ว่าคณะวิจัยของเจมส์ วัตสัน ได้นำรูปของเธอไปใช้สร้างแบบจำลองโดยไม่บอกกล่าวขออนุญาตเลย จึงทำให้บทบาทของเธอในการค้นพบดีเอ็นเอถูกมองข้ามไป

ชีวิตวัยเยาว์

โรซาลินด์ แฟรงคลิน เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2463 ในตระกูลนายธนาคารเชื้อสายยิว ที่ตำบลนอตติงฮิล (Notting Hill) กรุงลอนดอน เป็นบุตรีคนที่สองจากบุตรธิดาทั้งห้าคนของเอลลิส อาร์เทอร์ แฟรงคลิน (Ellis Arthur Franklin, พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2507) และเมอเรียล ฟรานเซส วาเลย์ (Muriel Frances Waley, พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2519)

ตระกูลแฟรงคลิน ตลอดจนถึงญาติของโรซาลินด์จำนวนหนึ่งได้มีบทบาทหลายประการต่อชาวยิวและสตรี ทวดของเธอ เฮอร์เบิร์ต แซมมวล (Herbert Samuel) เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของอังกฤษในช่วงปี พ.ศ. 2459 ถือว่าเป็นคนยิวคนแรกที่ได้ที่นั่งในรัฐสภา นอกจากนี้ยังได้เป็นข้าหลวงใหญ่ประจำรัฐในอารักขาปาเลสไตน์อีกด้วย ส่วนป้าของเธอ เฮเลน คาโรลิน แฟรงคลิน (Helen Carolin Franklin) ก็ได้เป็นสตรีที่มีบทบาทในสหภาพแรงงาน และองค์กรเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิทางการเมืองของสตรีอีกด้วย

ในวัยเด็ก โรซาลินด์เข้าเรียนที่โรงเรียนสตรีเซนต์พอล (St Paul's Girls' School) ระหว่างการศึกษา โรซาลินด์เป็นเด็กที่มีพรสวรรค์ทางการเรียนอย่างมาก โดยทำคะแนนได้ดีในวิชาวิทยาศาสตร์ ภาษาลาติน และพลศึกษา ยิ่งไปกว่านั้น ครอบครัวของเธอมีบทบาทในการส่งเสริมให้ผู้ใหญ่ได้รับการศึกษา โดยเอลลิสผู้เป็นบิดาของเธอได้สอน วิชาไฟฟ้า แม่เหล็ก และประวัติศาสตร์สงคราม ในเวลาต่อมาเอลลิสก็ได้ขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนผู้ใหญ่เวิร์กกิงเมน (Working Men's College) นอกจากการส่งเสริมการศึกษาแล้ว ตระกูลแฟรงคลินยังได้ช่วยให้ชาวยิวที่หนีภัยสงครามจากนาซีเยอรมันให้ได้มีที่ทำกินเป็นหลักฐานอีกด้วย


การศึกษา

เมื่ออายุได้ 18 ปี โรซาลินด์เข้าศึกษาที่วิทยาลัยนิวน์แฮม (Newnham College) อันเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยเลือกศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตร์สาขาวิชาเคมี สี่ปีให้หลังจากนั้น เธอได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับสอง ซึ่งก็ทำให้สามารถเริ่มชีวิตในฐานะนักวิจัย หลังจากการศึกษาในระดับปริญญาตรีแล้ว โรซาลินด์เข้ารับราชการเป็นเจ้าพนักงานผู้ช่วยวิจัยที่สถาบันวิจัยอรรถประโยชน์ถ่านหินแห่งสหราชอาณาจักร (British Coal Utilization Research Association; BCURA) ซึ่งตั้งอยู่ชานกรุงลอนดอนด้านตะวันตกเฉียงใต้ ณ ที่นี่ เธอได้ศึกษาสมบัติความพรุนของถ่านหินจนมีแรงบันดาลใจทำดุษฎีนิพนธ์หัวข้อ สมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของสารคอลลอยด์อินทรีย์เทียบกับถ่านหิน โดยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็ได้ให้ปริญญาเอกแก่เธอเมื่อ พ.ศ. 2488 จากนั้นงานวิจัยหลายฉบับก็ได้ออกจากมือของเธออย่างต่อเนื่องการศึกษา

เมื่ออายุได้ 18 ปี โรซาลินด์เข้าศึกษาที่วิทยาลัยนิวน์แฮม (Newnham College) อันเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยเลือกศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตร์สาขาวิชาเคมี สี่ปีให้หลังจากนั้น เธอได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับสอง ซึ่งก็ทำให้สามารถเริ่มชีวิตในฐานะนักวิจัย หลังจากการศึกษาในระดับปริญญาตรีแล้ว โรซาลินด์เข้ารับราชการเป็นเจ้าพนักงานผู้ช่วยวิจัยที่สถาบันวิจัยอรรถประโยชน์ถ่านหินแห่งสหราชอาณาจักร (British Coal Utilization Research Association; BCURA) ซึ่งตั้งอยู่ชานกรุงลอนดอนด้านตะวันตกเฉียงใต้ ณ ที่นี่ เธอได้ศึกษาสมบัติความพรุนของถ่านหินจนมีแรงบันดาลใจทำดุษฎีนิพนธ์หัวข้อ สมบัติทางเคมีฟิสิกส์ของสารคอลลอยด์อินทรีย์เทียบกับถ่านหิน โดยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็ได้ให้ปริญญาเอกแก่เธอเมื่อ พ.ศ. 2488 จากนั้นงานวิจัยหลายฉบับก็ได้ออกจากมือของเธออย่างต่อเนื่อง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://th.wikipedia.org

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook