ผลวิจัยชี้เด็กไทยเจอรายจ่ายอื้อ เงินบริจาคสูงสุดแสนบ.-กวดวิชา8หมื่น/ปี

ผลวิจัยชี้เด็กไทยเจอรายจ่ายอื้อ เงินบริจาคสูงสุดแสนบ.-กวดวิชา8หมื่น/ปี

ผลวิจัยชี้เด็กไทยเจอรายจ่ายอื้อ เงินบริจาคสูงสุดแสนบ.-กวดวิชา8หมื่น/ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการวิจัยเรื่อง ?ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาเอกชนของนักเรียน หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่นักเรียนและผู้ปกครองเป็นผู้รับภาระ นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลสนับสนุน? โดยสำนักงานปลัด ศธ. ซึ่งได้สำรวจวิจัยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2555 ประเภทสามัญศึกษา ที่กำลังศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 3,039 คนทั่วประเทศด้วยวิธีการตอบแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง ผู้ปกครอง นักเรียน และครู จำนวน 65 คน ถึงค่าใช้จ่ายตอนที่เรียนอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของนักเรียนขณะศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2554 แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ค่าใช้จ่ายรายวัน และค่าใช้จ่ายรายปี โดยค่าใช้จ่ายรายวัน ประกอบด้วย ค่าเดินทางไป-กลับโรงเรียน ค่าอาหาร/ค่าขนม และค่าใช้จ่ายอื่นๆ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเดินทางไป-กลับโรงเรียนเฉลี่ยวันละ 38.87 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายสูงสุดวันละ


300 บาท ต่ำสุดวันละ 3 บาท และกลุ่มตัวอย่าง มีค่าอาหาร/ค่าขนมเฉลี่ยวันละ 59.26 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายสูงสุด วันละ 300 บาท ต่ำสุดวันละ 10 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าเครื่องเขียน ค่ารายงาน เงินห้อง เป็นต้น เฉลี่ยวันละ 34.39 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายสูงสุด วันละ 300 บาท ต่ำสุดวันละ 1 บาท


แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า ด้านค่าใช้จ่ายรายปี ประกอบด้วย ค่าเล่าเรียน ค่าโปรแกรมเสริมคุณภาพ ค่ากิจกรรม ค่าหนังสือ ค่าอุปกรณ์ ค่าเครื่องแบบนักเรียน ค่าที่พัก ค่าอาหารกลางวัน ค่าธรรมเนียมสมาคมผู้ปกครองและครู/เงินบริจาค ค่าเรียนพิเศษ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าตรวจสุขภาพ ค่าประกันอุบัติเหตุ ค่าอินเตอร์เน็ต พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีค่าเล่าเรียน ค่าโปรแกรมเสริมคุณภาพ ค่ากิจกรรมเฉลี่ยปีละ 8,494.92 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายสูงสุดปีละ 60,000 บาท ต่ำสุดปีละ 100 บาท กลุ่มตัวอย่างมีค่าหนังสือ ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียนเฉลี่ยปีละ 2,743.99 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายสูงสุดปีละ 19,000 บาท ต่ำสุดปีละ 100 บาท กลุ่มตัวอย่างมีค่าที่พักเฉลี่ยปีละ 18,281.73 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายสูงสุด ปีละ 60,000 บาท ต่ำสุด ปีละ 1,500 บาท และมีค่าอาหารกลางวัน เฉลี่ยปีละ 4,328.74 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายสูงสุดปีละ 10,000 บาท ต่ำสุดปีละ 500 บาท ส่วนค่าธรรมเนียม สมาคมผู้ปกครองและครู เงินบริจาคเฉลี่ยปีละ 965.34 บาท โดยมีค่าใช้จ่ายสูงสุดปีละ 100,100 บาท ต่ำสุดปีละ 100 บาท นอกจากนี้ ยังมีค่าเรียนพิเศษเฉลี่ยปีละ 9,479.19 บาท มีค่าใช้จ่ายสูงสุดปีละ 80,000 บาท ต่ำสุดปีละ 1,000 บาท ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าตรวจสุขภาพ ค่าประกันอุบัติเหตุ ค่าอินเตอร์เน็ต เป็นต้น เฉลี่ยปีละ 1,820.89 บาท มีค่าใช้จ่ายสูงสุด ปีละ 10,000 บาท ต่ำสุด ปีละ 250 บาท


"งานวิจัย ชิ้นนี้ยังได้จำแนกค่าใช้จ่ายตามสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ สถานที่ตั้งครัวเรือน พบว่า ครัวเรือนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล มีค่าใช้จ่ายทางการศึกษารายวันและค่าใช้จ่ายทางการศึกษารายปีสูงกว่าครัว เรือนที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาล โดยครัวเรือนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาล มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยปีละ 19,146.09 บาท ส่วนครัวเรือนที่ตั้งอยู่นอกเขตเทศบาลเฉลี่ยปีละ 11,705.21 บาท และเมื่อจำแนกตามอาชีพของผู้ปกครอง พบว่าผู้ปกครองที่มีค่าใช้จ่ายสูงสามอันดับแรก ได้แก่ ผู้ปกครองที่มีอาชีพเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ มีค่าใช้จ่ายทางการศึกษารายปีสูงสุดเฉลี่ยปีละ 31,546.89 บาท รองลงมาคือผู้ปกครองที่มีอาชีพรับราชการ เฉลี่ยปีละ 25,440.08 บาท และมีอาชีพลูกจ้างเอกชน มีค่าใช้จ่ายทางการศึกษารายปี เฉลี่ยปีละ 23,555.12 บาท ตามลำดับ โดยผู้ปกครองที่มีอาชีพรับจ้างทั่วไป นักเรียนมีค่าใช้จ่ายทางการศึกษารายปี น้อยที่สุด เฉลี่ยปีละ 9,155.77 บาท" แหล่งข่าวคนเดิมกล่าว


แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า งานวิจัยดังกล่าวได้สรุปข้อเสนอที่น่าสนใจ อาทิ ศธ.ควรส่งเสริมโอกาสในการศึกษาของนักเรียนโดยเฉพาะนักเรียนกลุ่มที่มีพื้น ฐานมาจากครอบครัวฐานะยากจน ผู้ปกครองมีระดับการศึกษาต่ำ ให้สามารถเข้าถึงการเรียนการสอนในระดับเดียวกันหรือใกล้เคียงกับการเรียนการ สอนของโรงเรียนซึ่งนักเรียนมาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและระดับการ ศึกษาของครัวเรือนที่สูงกว่า โดยใช้กลไกต่างๆ เช่น การใช้คูปองค่าใช้จ่ายทางการศึกษา การให้การสนับสนุนทางการเงินแก่นักเรียนอย่างแปรผันตามระดับเศรษฐฐานะของ ครัวเรือนเพื่อเป็นการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึงความแตกต่างของเศรษฐฐานะของครัวเรือนและนักเรียน เป็นสำคัญ


แหล่ง ข่าวกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ งานวิจัยพบว่าค่าใช้จ่ายทางการศึกษาที่มีผลกระทบต่อระดับผลสัมฤทธิ์ของนัก เรียน คือค่าใช้จ่ายในหลักสูตรพิเศษต่างๆ ในโรงเรียน และการเรียนพิเศษนอกโรงเรียน ในขณะที่ค่าใช้จ่ายในรายการอื่นๆ เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าหนังสือ ค่าเครื่องแบบนักเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน


ไม่ ได้มีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ที่แตกต่างกันของนักเรียน ดังนั้น รัฐบาลจึงควรจะปรับเปลี่ยนลำดับความสำคัญของนโยบายการสนับสนุนค่าใช้จ่ายทาง การศึกษาต่างๆ อาทิ นโยบายการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมุ่งให้ความสาคัญต่อค่าใช้จ่ายที่จะมีผลกระทบต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน สูง และโดยมุ่งเน้นไปที่นักเรียนในกลุ่มยากจนมากกว่า


ที่มา นสพ.มติชน
ภาพประกอบ DekThaiDD.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook