"วิชาตกเขา" เรียนเอ็มบีเอนอกตำรา จากวีรบุรุษประชาธิปไตย

"วิชาตกเขา" เรียนเอ็มบีเอนอกตำรา จากวีรบุรุษประชาธิปไตย

"วิชาตกเขา" เรียนเอ็มบีเอนอกตำรา จากวีรบุรุษประชาธิปไตย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

        มหาวิทยาลัยรังสิต ภูมิใจนำเสนองานเขียนจากปลายปากกาของ สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ เจ้าของผลงาน พ็อกเกตบุ๊ก "ปิรามิดหน้าเสาธง" และผลงานชิ้นล่าสุด "วิชาตกเขา" หนังสือที่สอดแทรกมุมมอง ความคิดที่แปลกแตกต่างอย่างลงตัว ผ่านภาษาเขียนที่น่าอ่าน กระชับ และเข้าใจง่าย

          "วิชาตกเขา" เป็นหนังสือแนวฮาวทูชีวิต ฮาวทูกู้วิกฤต กรณีศึกษาเส้นทางบนสังเวียนนักสู้ของม.รังสิต ซึ่งผู้เขียนถ่ายทอดผ่านมุมมองจากการทำงานใกล้ชิดกับ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อดีตรัฐมนตรีหลายสมัย และประธานรัฐสภา ผู้ฝ่าวิกฤตการเมืองเดือนพฤษภาคม 2535 จนได้รับฉายา วีรบุรุษประชาธิปไตย อาศัยครูพักลักจำ ทำตัวเป็นลูกศิษย์ก้นกุฏิ เรียนหลักสูตร MBA นอกตำรา ตั้งแต่แผนกลยุทธ์ การตลาด บัญชี งบประมาณ การเงิน ทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯทุกวิชาจากประสบการณ์จริง รวมถึงกรณีการแก้ปัญหา ฝ่าวิกฤตในช่วงต่างๆ นับจากเหตุการณ์ประกาศให้พนักงานสมัครใจลาออก จนถึงเหตุการณ์ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งมาร์เก็ตลีดเดอร์จากจำนวนมาร์เก็ตแชร์สูงสุด

ผู้เขียน: สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ
สำนักพิมพ์: อาร์เอสยู พับลิชชิ่ง
ราคา: 180 บาท


หมายเหตุนักเขียน
          สองปีที่แล้ว ผมไปประชุมกรรมการบริหารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) ที่เชียงใหม่ หลังการประชุม ดร.วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ อธิการบดีจากม.หาดใหญ่ รู้ว่าผมมาจากม.รังสิต เปรยกับผมว่าตัวท่านเองนับถือดร.อาทิตย์มาก ถ้ามีโอกาส อยากจะขอพบดร.อาทิตย์ซักครั้งหนึ่ง ท่านพูดอย่างถ่อมตัวว่าอยากจะรู้เคล็ดลับของดร.อาทิตย์จริงๆ ว่าทำอย่างไรมหาวิทยาลัยรังสิตจึงได้เติบโตก้าวหน้าขนาดนี้
          บริหาร ม.รังสิต ยังไงให้เจริญ?
          คำถามนี้ ซี๊ดมาก สะกิดความคิดผมกึ้กเลย
          ก่อนหน้านี้ ผมมีโอกาสร่วมทีมทำงาน เป็นบรรณาธิการหนังสือ 2 เล่ม
          เล่มแรก ชื่อ "ก้าวข้ามวิกฤตชาติ"
          ในโอกาสดร.อาทิตย์ครบอายุ 72 ปี ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้ คือแทนที่จะเล่าเรื่องกึ่งชีวประวัติตามลำดับเวลา แต่กลับเล่าเป็นกรณีศึกษา ในลักษณะ How To ดร.อาทิตย์ผ่านงานสำคัญมาหลายตำแหน่ง คัดเลือกไว้ 8 เหตุการณ์ แล้วถอดความคิดว่าฝ่าวิกฤตออกมาได้อย่างไร
          ชื่อหนังสือ "ก้าวข้ามวิกฤติชาติ" พยายามเฉลยว่าสิ่งสำคัญคือคำตอบเป็นสิ่งที่ดร.อาทิตย์รักที่สุด นั่นคือการศึกษา การศึกษาเท่านั้นที่จะทำให้ประเทศนี้ก้าวข้ามวิกฤติต่างๆ ออกมาได้
          เล่มที่สอง ชื่อ "รังสิตรังสรรค์"
          ในโอกาสครบ 25 ปี ของมหาวิทยาลัยรังสิต ถ่ายทอดเรื่องราว บันทึกการต่อสู้ เติบโต และเส้นทางสู่ความสำเร็จของม.รังสิต ว่าได้เกิดจากความร่วมไม้ร่วมมือต่อสู้จากทุกๆ ฝ่ายจนเกิดความสำเร็จขึ้นมา
          ระหว่างที่ทำหนังสือทั้ง 2 เล่ม ผมเกิดอาการคันมือยิกๆ หนังสือก้าวข้ามวิกฤติชาติ พูดถึงหลายเหตุการณ์ในชีวิตของดร.อาทิตย์ อาทิ เรื่องผู้ว่าการประปาแก้ปัญหาองค์กร เรื่องรมต.วิทยาศาสตร์แก้ปัญหาเขื่อนราศีไศล เรื่องประธานรัฐสภาแก้วิกฤตการเมืองพฤษภาคม 2535 เรื่องม.รังสิต จึงเป็นเพียง 1 ใน 8 บท ของเนื้อหาทั้งหมดเท่านั้น ส่วนหนังสือรังสิตรังสรรค์ ก็เน้นภาพใหญ่ในแง่ของความร่วมมือร่วมใจของผู้คนทั้งองค์กร คันมือเพราะอยากลองเขียนแบบเจาะเฉพาะ "ดร.อาทิตย์กับม.รังสิต" ทั้งเล่ม ก็ได้แต่คิด ยังไม่มีโอกาสเริ่มลงมือซักที ค่อยๆ เริ่มกลับไปอ่านบันทึกเก่าๆ ที่เคยจดเก็บเอาไว้ ต้นปีที่แล้ว เริ่มลงมือเขียน เขียนๆ หยุดๆ อยู่ปีกว่า วันนี้ฤกษ์ดี มาบอกว่าหนังสือวิชาตกเขามาแล้ว
          เนื้อหาในเล่ม ครอบคลุมเหตุการณ์ของม.รังสิต ตั้งแต่ปี 2544-2556 จากยุคแบรนด์เป็นตะคริว ที่หนักหนาสาหัสถึงกับต้องขอให้พนักงานสมัครใจลาออก สู่ยุคเข็นแบรนด์ขึ้นภูเขา กล่าวคือ ในเชิงปริมาณได้ขยับก้าวขึ้นสู่สถานะมาร์เก็ตลีดเดอร์ ในแง่คุณภาพ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งเดียวในประเทศที่ได้รับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ทั้งรอบสองและรอบสาม ให้อยู่ในระดับสูงสุดคือ ดีมาก
          รวบรวมประเด็นที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการประมาณ 40 เหตุการณ์ พยายามหาแง่คิดจากเหตุการณ์เหล่านั้น ย่อยรวมกันไว้ได้ 25 บท
          ถ้าอ่านกรณีศึกษาของคนอื่นมาเยอะแล้ว โค้ก สตาร์บัคส์ แอปเปิ้ล โตโยต้า ซัมซุง ปตท. ดีแทค เถ้าแก่น้อย ฯลฯ
          อยากชวนมาอ่าน Rangsit's Way ฮาวทูชีวิต ฮาวทูกู้วิกฤต เส้นทางนักสู้ของม.รังสิต ดูบ้างครับ

ด้วยจิตคารวะ / สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook