นักวิชาการชี้คะแนนสอบ7วิชาสามัญสะท้อนคุณภาพการศึกษาไทยยังต่ำ

นักวิชาการชี้คะแนนสอบ7วิชาสามัญสะท้อนคุณภาพการศึกษาไทยยังต่ำ

นักวิชาการชี้คะแนนสอบ7วิชาสามัญสะท้อนคุณภาพการศึกษาไทยยังต่ำ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายพฤกษ์ ศิริบรรณพิทักษ์ อดีตคณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ประกาศผลคะแนนสอบ 7 วิชาสามัญ ว่า แม้ในภาพรวมคะแนนการสอบ 7 วิชาสามัญจะสูงขึ้น แต่ก็ถือว่าไม่มาก เพราะคะแนนเฉลี่ยทุกวิชายกเว้นภาษาไทยยังต่ำกว่าครึ่งจากเต็ม 100 คะแนน สะท้อนให้เห็นว่าคุณภาพการศึกษาไทยยังไม่กระเตื้องเท่าที่ควร

โดยเฉพาะวิชาฟิสิกส์ และชีววิทยา ซึ่งเป็นวิชาที่สำคัญด้านวิทยาศาสตร์ แต่กลับมีคะแนนต่ำลง ทำให้เห็นว่าการเรียนการสอนในด้านวิทยาศาสตร์ของไทยยังต้องปรับปรุงอีกมาก เป็นปัญหาเดิมๆ ที่จะต้องเร่งแก้ ทั้งคุณภาพการเรียนการสอน และคุณภาพครู

อย่างไรก็ตาม เห็นว่าหากจะดูว่าคะแนนสอบที่ออกมามีนัยสำคัญที่ดีขึ้นหรือแย่ลง ไม่ควรจะดูภาพรวมทั้งประเทศ เพราะไม่มีความชัดเจน แต่ควรจะแยกเด็กออกมาวิเคราะห์เป็นรายกลุ่มเด็กเก่ง เด็กปานกลาง และเด็กอ่อน เพื่อจะดูค่าสถิติว่าแต่ละกลุ่มมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในแต่ละวิชาอย่างไรบ้าง จึงจะสามารถวิเคราะห์พัฒนาการทางด้านการเรียนการสอนของประเทศได้

นายประวิต เอราวรรณ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) ในฐานะประธานสภาคณบดีครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์แห่งประเทศไทย กลุ่ม 16 สถาบัน กล่าวว่า คะแนนแต่ละปีจะนำมาเปรียบเทียบและสะท้อนคุณภาพการศึกษาไทยคงไม่ได้ เพราะคนสอบต่างกัน และไม่ทราบว่าความยากง่ายของข้อสอบต่างกันหรือไม่ แต่เท่าที่ดูคะแนนภาพรวมทุกวิชาไม่ถึงครึ่ง ยกเว้นวิชาภาษาไทย ที่ได้เกินครึ่งมา 54 คะแนน ก็ยังคงสะท้อนคุณภาพการศึกษา และว่า เด็กที่กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัยยังไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร

โดยเฉพาะในวิชาวิทยาศาสตร์คือ ฟิสิกส์ และชีวะ ที่คะแนนต่ำลง ทั้งหมดสะท้อนกลับมาที่คุณภาพของโรงเรียน ที่ต้องย้อนกลับมาทบทวนการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนว่า โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนเต็มที่หรือยัง เพราะเท่าที่ดูจากงานวิจัยต่างๆ ก็ยังไม่เต็มที่ และยังคงมีปัญหาเดิมคือครูมีภาระงานมากทำให้สอนนักเรียนเรียนไม่เต็มที่ ส่วนใหญ่ปัญหาดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับขนาดเล็ก และขนาดกลาง ดังนั้น เห็นว่าหากจะให้เห็นภาพของคุณภาพเด็กไทยอย่างแท้จริง ควรจะมีการวิเคราะห์คะแนนของเด็กเป็นขนาดโรงเรียน คือ เล็ก กลาง ใหญ่ เพื่อให้เห็นพัฒนาการที่ชัดเจน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook