ตั้งเป้า! ปี 57 นี้ เด็กไทย "ไอคิว" ต้องเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า100

ตั้งเป้า! ปี 57 นี้ เด็กไทย "ไอคิว" ต้องเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า100

ตั้งเป้า! ปี 57 นี้ เด็กไทย "ไอคิว" ต้องเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า100
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกต์ รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง "นโยบายและแนวทางการดำเนินงานเด็กปฐมวัย" จัดโดย สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับสำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า จากการสำรวจพัฒนาการของเด็กปฐมวัยไทยของกรมสุขภาพจิต ปี 2555 พบว่า มีพัฒนาการล่าช้าสูงถึง 30% แต่ 20% เป็นกลุ่มที่หากได้รับการกระตุ้นอย่างทันท่วงที จะพัฒนาให้กลับมามีพัฒนาการที่สมวัยได้ และอีก 10% อยู่ในภาวะโรคที่ต้องได้รับการรักษา

ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจระดับสติปัญญาเด็กไทย อายุ 6-15 ปี ทั่วประเทศ ในปี 2554 พบเด็กไทยมีค่าเฉลี่ยของระดับเชาว์ปัญญา (IQ) เพียง 98.59 ซึ่งค่อนไปทางต่ำกว่าค่าเกณฑ์เฉลี่ยมาตรฐาน (IQ = 100) แต่หากพิจารณาเฉพาะกลุ่มเด็กที่มีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ พบถึงร้อยละ 48.5% และกลุ่มเด็กที่อยู่ในระดับสติปัญญาบกพร่อง สูงถึง 6.5% ซึ่งตามมาตรฐานสากล ไม่ควรจะเกิน 2% ดังนั้น การที่เด็กไทยกว่า 50% มี IQ ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานถือเป็นเรื่องที่น่าห่วง ดังนั้น สธ.เตรียมดำเนินการดังนี้ 1.ระดับประเทศ เด็กไทยต้องมีความฉลาดทางสติปัญญาเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100 2.ระดับกระทรวง เด็กปฐมวัย (0-5 ปี) มีพัฒนาการสมวัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 3.ระดับกรม เด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ที่มีพัฒนาการไม่สมวัย และเด็กปฐมวัย (3-5 ปี) ที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาอีคิวได้รับการส่งต่อเพื่อดูแลต่อเนื่องตามเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 และ 4.ระดับเขตบริการสุขภาพ คลินิกฝากครรภ์ (ANC) คลินิกสุขภาพ (WCC) ร้อยละของการให้บริการต้องมีคุณภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (DCC) ต้องมีคุณภาพระดับดี และดีมากไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ดังนั้น ปี 2557 กรมจะขับเคลื่อนนโยบายการดำเนินงานที่ตอบสนองต่อตัวชี้วัดระดับกรมและระดับกระทรวงเพื่อเด็ก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook