คุณรู้ไหม ! ผลิตหมอหนึ่งคน ใช้งบประมาณแผ่นดิน เท่าไร ?

คุณรู้ไหม ! ผลิตหมอหนึ่งคน ใช้งบประมาณแผ่นดิน เท่าไร ?

คุณรู้ไหม ! ผลิตหมอหนึ่งคน ใช้งบประมาณแผ่นดิน เท่าไร ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วิกฤตกำลังแพทย์ประเทศไทย สำรวจโรงพยาบาล 855 แห่ง ทั่วประเทศ ขาดหมอรักษาอีกกว่า 12,290 คน กระทรวงสาธารณสุขร่วม 14 มหาวิทยาลัยเร่งผลิตเพิ่ม อีก 13,000 คน ออกปฏิบัติงานภายในปี 2565 ให้ได้มาตรฐานกรอบกำลังองค์การอนามัยโลก หมอ 1 คน ต่อประชากร 1,250 คน

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่โรงแรมรามาการ์เดนส์ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีมอบสัมฤทธิบัตรแก่แพทย์ที่สำเร็จการศึกษาในโครงการผลิตแพทย์เพื่อชนบท พ.ศ.2538-2556 ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับ มหาวิทยาลัย 14 สถาบัน ว่า สธ.เร่งแก้ไขปัญหาขาดแคลนแพทย์ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศ 855 แห่ง ผลสำรวจล่าสุดพบว่า ทั่วประเทศ ที่มีเขตบริการสุขภาพ 12 เขต แต่ละเขต ดูแลพื้นที่ 4-8 จังหวัด มีประชากร ที่จะต้องรับผิดชอบเขตละ ประมาณ 5 ล้านคน มีแพทย์ปฏิบัติงานทั้งหมด 13,230 คน ขณะที่กรอบอัตรากำลังที่ควรจะมีตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก สัดส่วนแพทย์ 1 คนต่อประชากร 1,250 คน คือ 25,520 คน กล่าวได้ว่ามีแพทย์ปฏิบัติงานเพียงร้อยละ 52 ยังขาดอีก 12,290 คน คาดว่า ภายในปี 2565 จะมีแพทย์เพิ่ม 13,000 กว่าคน

นพ.ณรงค์กล่าวว่า ล่าสุด คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติในหลักการโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ปี 2556-2560 มีเป้าหมายผลิตแพทย์จำนวน 9,039 คน เพิ่มจากการผลิตแพทย์ตามแผนปกติที่มีอยู่เดิม 4,780 คน ประกอบด้วยโครงการผลิตแพทย์เพิ่มโดยกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 4,038 คน และโครงการผลิตแพทย์ชนบทเพิ่ม ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงศึกษาธิการและสธ.จำนวน 5,001 คน รวมทั้งสิ้น 13,819 คน เฉพาะในส่วนของ สธ. ใช้งบผลิตแพทย์ในโครงการนี้ จำนวน 9,501 ล้านบาท

ทั้งนี้ การผลิตแพทย์ 1 คนใช้งบคนละ 3 แสนบาทต่อปี เรียน 6 ปี (6 ปี 1.8 ล้าน) โดย ชั้นปี 1-3 เรียนภาคทฤษฎีที่มหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือจำนวน 14 แห่ง ได้แก่ ขอนแก่น จุฬาลงกรณ์ เชียงใหม่ ธรรมศาสตร์ นเรศวร มหิดล สงขลานครินทร์ เทคโนโลยีสุรนารี มหาสารคาม วลัยลักษณ์ บูรพา อุบลราชธานี นราธิวาสราชนครินทร์ และมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำหลักสูตรและประสาทปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต ส่วนชั้นปีที่ 4-6 ซึ่งเป็นการเรียนภาคคลินิก เรียนที่โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปในสังกัด สธ. ซึ่งเป็นสถาบันสมทบ 37 แห่ง ภายหลังจบการศึกษาแล้วมีสัญญาผูกพันให้กลับไปปฏิบัติงานชดใช้ทุนในโรงพยาบาลชุมชนในพื้นที่ที่รับทุน ผลการปฏิบัติงานพบว่าแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ปฏิบัติงานชดใช้ทุนครบตามเวลากำหนด คืออย่างน้อย 3 ปีมากกว่าแพทย์ที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกในระบบปกติ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook