มหา′ลัยเคาะรับตรงพร้อมกัน วิชาสามัญใช้ "ข้อสอบกลาง"

มหา′ลัยเคาะรับตรงพร้อมกัน วิชาสามัญใช้ "ข้อสอบกลาง"

มหา′ลัยเคาะรับตรงพร้อมกัน วิชาสามัญใช้ "ข้อสอบกลาง"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

มหา′ลัย เห็นชอบรับตรงพร้อมกัน ก.พ.ทั่วประเทศใช้ข้อสอบกลางเฉพาะวิชาสามัญ ส่วนวิชาเฉพาะให้แต่ละแห่งจัดสอบเอง คาดเริ่มปี"59 ลดปัญหาวิ่งรอกสอบ-ค่าใช้จ่ายพ่อแม่

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม นางวราภรณ์ สีหนาท รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยภายหลังการหารือพัฒนาระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา โดยมีคุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ประธาน กกอ.และผู้แทนจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศ (ทปอ.) รวมทั้ง อธิการบดี และผู้แทนจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เข้าร่วมว่า ที่ประชุมเห็นร่วมกันว่ามหาวิทยาลัยต่างๆ จะรับตรงโดยวิธีการสอบในช่วงเวลาเดียวกัน หลังจากนักเรียนครบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ข้อสอบกลางร่วมกัน เพื่อลดปัญหาการวิ่งรอกสอบของนักเรียน และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการจัดสอบ คาดว่าน่าจะเริ่มจัดสอบได้ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป โดยช่วงเวลาดังกล่าวถือว่าเหมาะสม เนื่องจากนักเรียนจะเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเดือนมีนาคม ขณะที่มหาวิทยาลัยเลื่อนเปิดภาคเรียนรับอาเซียนเป็นช่วงเดือนสิงหาคม จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการจัดรับตรงร่วมกัน

นางวราภรณ์กล่าวต่อว่า ข้อสอบกลางจะเป็นข้อสอบวิชาสามัญเท่านั้น ส่วนวิชาเฉพาะของแต่ละคณะ/สาขา มหาวิทยาลัยสามารถจัดสอบเองได้ โดยไม่จำกัดเวลา ขณะเดียวกันยังขอให้ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.) เป็นตัวกลางไปหารือกับมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสาขาด้านศิลปะ ว่าจะสามารถจัดสอบวิชาเฉพาะร่วมกันได้หรือไม่ โดยที่ประชุมเห็นว่าในสาขาอื่นๆ ที่จำเป็นต้องสอบวิชาเฉพาะ หากมาจัดสอบร่วมกันได้ ก็จะช่วยลดภาระการสอบของเด็กได้มาก อย่างไรก็ตาม จากนี้มหาวิทยาลัยต่างๆ ต้องหารือร่วมกันในรายละเอียดของการสร้างข้อสอบ ช่วงเวลาที่เหมาะสม ซึ่งจะต้องดำเนินการให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว เพื่อแจ้งให้นักเรียนทราบ คาดว่าจะดำเนินการได้ในปีการศึกษา 2559

"ส่วนการรับตรงร่วมกัน จะใช้ข้อสอบ 7 วิชาสามัญ เคยใช้ในการรับตรงในระบบเคลียริ่งเฮาส์ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ด้วยหรือไม่นั้น ในอนาคตคงต้องมาดูว่าจะใช้ข้อสอบใดจึงจะเหมาะสม เพราะการเคลียร์ริ่งเฮาส์เป็นวิธีการให้มหาวิทยาลัยส่งรายชื่อนักเรียนเพื่อยืนยันสิทธิในระบบร่วมกัน เพื่อที่จะได้รู้ว่าหลังการรับตรงมหาวิทยาลัยต่างๆ ยังมีที่ว่างในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิสชั่นส์เท่าไหร่" นาง วราภรณ์กล่าว

นางวราภรณ์กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมขอให้ ทปอ.ไปหารือกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ให้จัดสอบคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในคณะแพทยศาสตร์ และทันตแพทยศาสตร์ ก่อนการจัดสอบอื่นๆ เพราะที่ผ่านมานักเรียนที่สอบติดในคณะอื่น เมื่อรู้สอบติดคณะแพทยศาสตร์จะสละสิทธิคณะอื่น ทำให้เป็นการกันสิทธินักเรียนคนอื่น ดังนั้น หาก กสพท.จัดสอบ และประกาศผลก่อนนักเรียนจะได้ตัดสินใจ และไม่ต้องสอบหลายที่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook