จุฬาฯจับมือ17มหา′ลัย!! ใช้โปรแกรมตรวจลอกผลงาน ป้องกันนศ.ก็อปปี้วิทยานิพนธ์

จุฬาฯจับมือ17มหา′ลัย!! ใช้โปรแกรมตรวจลอกผลงาน ป้องกันนศ.ก็อปปี้วิทยานิพนธ์

จุฬาฯจับมือ17มหา′ลัย!! ใช้โปรแกรมตรวจลอกผลงาน ป้องกันนศ.ก็อปปี้วิทยานิพนธ์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ที่ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎ มหาวิทยาลัยเอกชนและมหาวิทยาลัยรัฐ รวม 17 แห่งร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรม ด้วยโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์เพื่อป้องกันการลอกวิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ของนิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาโทและปริญญาเอก

 

 

นพ.ภิรมย์ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจุฬาฯตระหนักถึงความสำคัญในการผลิตบัณฑิตและบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อออกไปรับใช้สังคม ซึ่งช่วง10ปีที่ผ่านมาจุฬาฯให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษในเรื่องการลอกเลียนผลงานทางวิชาการและมีเป้าหมายที่จะป้องกันปัญหาดังกล่าว เพราะในโลกยุคปัจจุบันความรู้สามารถหาได้เพียงสัมผัสแป้นพิมพ์หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์เท่านั้น ดังนั้นการลอกเลียนวรรณกรรมจึงสามารถทำได้ในพริบตา การค้นคว้าหาองค์ความรู้ใหม่จึงอาจจะถูกบิดเบือนโดยที่นิสิต นักศึกษาไม่ได้ทดลองค้นคว้าด้วยตนเอง แต่บังเอิญไปลอกเลียนโดยไม่ทราบและไม่ได้อ้างอิงแหล่งที่มาทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าเป็นผลของตนเอง ซึ่งสิ่งนี้เป็นผลเสียหายต่อวงการศึกษาของไทยอย่างร้ายแรงและจะกลายเป็นตราบาปหากถูกจับได้ในเวลาต่อมาอีกทั้งจะทำให้สังคมสูญเสียความเชื่อถือต่อมหาวิทยาลัยด้วย

อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวต่อว่าจุฬาฯได้ดำเนินการเรื่องนี้มาเป็นลำดับมีเป้าหมายคือการป้องกันและป้องปรามไม่ใช่เป็นการไปจับผิด โดยได้มีการพัฒนาโปรแกรมตรวจจับการลอกเลียนวรรณกรรมที่ชื่อว่าอักขราวิสุทธิ์ ที่พัฒนาร่วมกันของอาจารย์คณะอักษรศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยใช้ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ของจุฬาฯประมาณ 15,000เล่มมาเป็นฐานข้อมูลหลักจนประสบความสำเร็จใจการพัฒนาโปรแกรมดังกล่าวโดยใช้เวลาประมาณ 2 ปีกว่าและได้เริ่มใช้กับนิสิตที่จะจบในปีการศึกษา2556ด้วยการกำหนดให้วิทยานิพนธ์ทุกเล่มต้องการผ่านการตรวจจากโปรแกรมนี้ก่อนสำเร็จการศึกษา

"ในปีการศึกษา2557 ยังได้กำหนดเพิ่มเติมให้สารนิพนธ์ในระดับปริญญาตรี ปริญญาโททุกฉบับของนิสิตจุฬาฯต้องผ่านการตรวจจากโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์และโปรแกรมTurnitin ที่ได้นำมาใช้อยู่ก่อนแล้วเพื่อให้มั่นใจระดับหนึ่งว่าจะไม่มีการลอกเลียนใครมา ซึ่งตลอด1ปีที่ผ่านมามีวิทยานิพนธ์ผ่านการตรวจมาแล้วกว่าพันเล่มผ่านการตรวจสอบแล้วและมั่นใจว่าการลอกเลียนจะหมดไป โดยการลงนามความร่วมมือนี้จะให้มหาวิทยาลัย17แห่งใช้โปรแกรมนี้ฟรีไปจนถึงปี2560 และจะมีการเชื่อมข้อมูลวิทยานิพนธ์ของแต่ละมหาวิทยาลัยด้วยเพื่อเป็นการขยายขอบข่ายในการป้องกันการลอกเลียนวรรณกรรมให้กว้างขวางและยังทำให้มั่นใจว่าการลอกเลียนวรรณกรรมจะไม่เกิดขึ้นภายในมหาวิทยาลัยและระหว่างมหาวิทยาลัยที่มาร่วมกันในวันนี้" นพ.ภิรมย์ กล่าว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook