มก.เจ๋งค้นพบสารใหม่ตรวจรอยพิมพ์ลายนิ้วมือแฝงในที่มืด

มก.เจ๋งค้นพบสารใหม่ตรวจรอยพิมพ์ลายนิ้วมือแฝงในที่มืด

มก.เจ๋งค้นพบสารใหม่ตรวจรอยพิมพ์ลายนิ้วมือแฝงในที่มืด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายวีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า การพิสูจน์เอกลักษณ์โดยใช้หลักฐานจากรอยพิมพ์แฝงนั้น ถูกใช้เป็นกุญแจสำคัญในการไขปัญหาอาชญากรรมอยู่เสมอ รอยพิมพ์แฝงเป็นผลที่ได้จากการทำสำเนาจากการเสียดสีกันพบบนส่วนของนิ้วมือ, มือ และเท้า รอยพิมพ์เกิดจากการผสมผสานของสารเคมีชนิดต่างๆ เกิดจากสารคัดหลั่งตามธรรมชาติ, เลือด และสิ่งเจือปนอื่นๆ โดยสารคัดหลั่งตามธรรมชาติส่วนใหญ่จะมาจากเหงื่อ ต่อมไขมัน

นายวีรชัย กล่าวต่อว่า รอยพิมพ์แฝงสามารถพบได้บนพื้นผิวทุกชนิด และมีวิธีในการตรวจหารอยพิมพ์ลายนิ้วมือด้วยเทคนิคที่แตกต่างกันไป ล่าสุดได้ค้นพบเทคนิคใหม่ในการตรวจหารอยพิมพ์ลายนิ้วมือ จากพื้นผิวไม่มีรูพรุน และพื้นผิวกึ่งมีรูพรุน ในที่มืด และพื้นที่ที่มีแสงสว่างน้อย โดยใช้สารเคมีกลุ่มแอนทรานซีน มีสมบัติระเหยง่าย จับกับรอยพิมพ์นิ้วมือที่ต้องการตรวจและใช้รังสี UV ความยาวคลื่น 366 นาโนเมตรฉายไปที่เป้าหมายจะปรากฏรายพิมพ์นิ้วมือสีม่วงที่ชัดเจนมาก

"เทคนิคดังกล่าวใช้หลักการของสารที่มีโครงสร้างโมเลกุลแบบสังยุค(Conjugated) ที่มีสมบัติเฉพาะตัวในการดูดกลืนรังสี UV ในช่วงความย่วคลื่นต่างๆ มาจับกับสารเคมีบางกลุ่มที่คัดหลั่งออกมาจากเหงื่อเพื่อให้ปรากฏการเรืองแสงออกมาในที่มืด เมื่อส่องด้วยรังสี UV และเทคนิคนี้ยังสามารถประยุคใช้กับพื้นผิวสีเข้มทุกสี และง่ายในการค้นหาลายนิ้วมือในที่มืด"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook