ประโยชน์ของการเล่น

ประโยชน์ของการเล่น

ประโยชน์ของการเล่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คอลัมน์ รู้แล้วบอกต่อ โดย ธันวา วิน

รายงานที่นำเสนอในการประชุม "นโยบายการเล่นของเด็ก" จัดขึ้นวันเดียวกับ "วันเล่นแห่งชาติ" ของประเทศอังกฤษ เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ตอกย้ำถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากการเล่น ที่นอกจากจะช่วยให้มีสุขภาพแข็งแรงแล้ว การเล่นยังช่วยสร้างพัฒนาการด้านภาษา ทักษะในการแก้ปัญหา การจัดการความเสี่ยง การเรียนรู้ทักษะในด้านต่างๆ รวมถึงทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วย

ในรายงานเรื่อง "เพลย์รีเทิร์น" ทบทวนผลวิจัยจำนวนมากที่พิจารณาถึงความสำคัญของการเล่น ที่จะส่งผลดีหลายๆ ประการกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นผลการศึกษาที่พบว่า กลุ่มครอบครัวที่เล่นในสนามเด็กเล่นที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมด้วย และกลุ่มครอบครัวที่อาศัยอยู่ใกล้สนามเด็กเล่นและไปทำกิจกรรมที่สนามเด็ก เล่นเป็นประจำนั้น จะมีความสุขในครอบครัวอยู่ในระดับสูง

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาวิจัยที่พบว่า สนามเด็กเล่นสาธารณะมีส่วนทำให้ระดับพฤติกรรมต่อต้านสังคมและการทำลาย ทรัพย์สินของเด็กลดลง และยังพบด้วยว่า สนามเด็กเล่นในโรงเรียน เป็นหนึ่งในหนทางที่ดีที่สุดที่จะเพิ่มระดับการทำกิจกรรมกลางแจ้งของเด็กได้ แถมดีกว่าการเรียนพลศึกษาตามหลักสูตรเสียอีก

ยิ่งไปกว่านั้น รายงานยังระบุด้วยว่า การเล่นอย่างอิสระยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านทักษะในการเรียนรู้ ทัศนคติและพฤติกรรม ทักษะในการอยู่ร่วมในสังคมของเด็ก โดยเฉพาะการอยู่ร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่แตกต่าง และยังช่วยให้การปรับตัวเข้ากับสังคมโรงเรียนของเด็กดีขึ้นด้วย

ขณะที่การศึกษาบางชิ้นพบว่า การริเริ่มที่นำไปสู่การเล่นนั้นจะสร้างระดับความรู้สึกมีจิตอาสา และการเข้าถึงเจตนารมณ์ของชุมชนให้มากขึ้นด้วย และยังพบว่าครอบครัวและชุมชนซึ่งนอกจากจะได้รับผลประโยชน์จากการคิดริเริ่ม ที่จะเล่นแล้ว ยังมีความต้องการให้มีนโยบายเพื่อที่จะดึงประโยชน์จากการเล่นออกมาให้ได้มาก ที่สุดด้วย

นายทิม กิลล์ ผู้เขียนรายงาน "เพลย์รีเทิร์น" ระบุว่า "แก่นของรายงานฉบับนี้คือสิ่งที่ต้องการสื่อว่า การเล่นกลางแจ้งนั้นไม่ได้ส่งผลต่อชีวิตเด็กและเยาวชนเพียงอย่างเดียวเท่า นั้น แต่ยังส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในชุมชนในวงกว้างได้อีกด้วย"

"หากจะพูดในมุมมองของนักการเมืองและผู้กำหนดนโยบายแล้ว รายงานนี้ทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การลงทุนเกี่ยวกับการเล่นจะสามารถนำไปสู่ผลประโยชน์ที่หลากหลาย รวมไปถึงพัฒนาการที่นำไปสู่การบรรลุผลสำเร็จทางการศึกษา สุขภาวะของสังคม และการเพิ่มระดับความอดทนอดกลั้นทั้งภายในและระหว่างชุมชนด้วยกันเองด้วย" นายกิลล์กล่าว

ที่มา : นสพ.มติชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook