งานออกแบบคนไทย รางวัลงานดีไซน์ Demark ปี 2014

งานออกแบบคนไทย รางวัลงานดีไซน์ Demark ปี 2014

งานออกแบบคนไทย รางวัลงานดีไซน์ Demark ปี 2014
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผลงานออกแบบของคนไทย ที่ได้รับรางวัลงานดีไซน์ของ Demark ปี 2014
Stationary ทุกชิ้นจะน่าใช้มากขึ้นเมื่อเราได้รู้ว่าของชิ้นนั้นถูกออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด และเราคงเห็นค่าของมันมากขึ้นตามไปด้วย


ดรออิ้ง ฟอลิโอ้
Company : เกรย์ เรย์
Designer : นายชาญฉลาด กาญจนวงศ์ / รายา เทียนเงิน /โยชิมิ ค้าโต้
The combination of sketchbook and portfolio
คือการพัฒนารูปเเบบของผลิตภัณฑ์รูปแบบหนึ่งเพื่อการนำทรัพยากรกลับมาใช้ อย่างคุ้มค่า โดยนำสมุดวาดรูปที่เป็นรูปแบบเดิมมาตีความใหม่ โดยตั้งคำถามว่า รูปแบบสมุดที่เราใช้ๆ กันอยู่ทุกวันนี้ ผู้ใช้ ได้ใช้ประโยชน์จากสมุดรูปแบบนี้อย่างคุ้มค่าอย่างที่มันควรจะเป็นจริงหรือไม่และสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้จริงหรือไม่
จากผลสำรวจพบว่า ผู้ใช้สมุดชนิดนี้จะฉีกกระดาษออกมาและนำไปใช้กับกระดานวาดรูปอีกที มีน้อยมากที่ใช้วาดบนสมุดชนิดที่มีกระดาษแข็งรองด้านหลังเพราะกระดาษเเข็ง รองเขียนบางเกินไปเเละเมื่อฉีกกระดาษใช้จนหมดเล่ม ก็จะทิ้งทั้งปกและกระดาษแข็ง
ด้วยข้อมูลเหล่านี้เราจึงออกแบบให้สมุดวาดรูปสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้โดย ไม่ต้องทิ้งปกและกระดาษแข็งด้านหลัง และเพื่อเป็นลดการผลิตที่สิ้นเปลือง เราพัฒนารูปแบบให้เป็นสมุดที่สามารถใช้เป็นกระดานวาดรูปได้ด้วยการเพิ่มความ หนาของกระดาษ
เเข็งมากขึ้น และยังสามารถใช้เป็นแฟ้มขนาดA2 เพื่อเก็บงานด้านหลังได้อีกด้วย จึงเกิดการหมุนเวียนนำผลิตภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่ได้อย่างคุ้มค่า

กล่องใส่เครื่องเขียนรุ่น 'บาร์ก'
Company : คาร์ฟ
Designer : กิตติภูมิ ส่งศิริ
แนวคิดมาจาก ต้องการทำให้บรรยากาศบนโต๊ะทำงานดูผ่อนคลาย ดูสนุก มีชีวิตชีวา จึงเลือกรูปทรงสุนัข ที่เป็นสัตว์เลี้ยงที่ใกล้ชิดกับมนุษย์ มาออกแบบให้ทำท่าทางเห่าอยู่ ดูขี้เล่น กวนๆ โดยออกแบบการใช้สอยในการจัดเก็บของ ให้เข้ากับส่วนต่างๆ ของร่างกายสุนัข การผลิตทั้งหมดใช้กระบวนการ CNC เป็นหลัก โดยที่ไม้อัด 1 แผ่นสามารถผลิตได้ถึง 20 ตัว โดยแทบไม่เหลือเศษ

แสนล้านความทรงจำ
Company : ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Designer : นายฮัดสัน สิริสุวพงศ์
จุดเริ่มต้นของสมุดบันทึกเรื่องราว "แสนล้านความทรงจำ" คือ "การทำให้มีขยะน้อยที่สุด" ความตั้งใจในใช้วัสดุเหลือใช้จากการผลิตกล่องกาบกล้วย "ปันกันแล" ของศูนย์ CLC ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนำเศษกาบกล้วยชิ้นเล็กๆที่ไม่สามารถนำไปทำเป็นก่องกาบกล้วยได้มาทำห่อปก สมุดบันทึกเรื่องราว ด้านในของสมุดนั้นเป็นการนำกระดาษรีไซเคิลมาประกอบกันซึ่งแบ่งออกเป็นสาม ส่วนที่มีขนาดและสีแตกต่างกันไป เหมาะสำหรับการบันทึกความทรงจำในหลายๆรูปแบบ



2 cm+ ดินสอเซฟกราไฟท์
Company : เกรย์ เรย์
Designer : นายชาญฉลาด กาญจนวงศ์ / โยชิมิ ค้าโต้
มีใครเคยใช้ดินสอหมดแท่งบ้าง?
"ไม่เคย เพราะมันสั้นไป" นี่คือคำตอบส่วนใหญ่ที่เราได้รับจากการสอบถามผู้ใช้ดินสอหลายๆ กลุ่ม ตั้งแต่เด็กจนโตมีดินสอกี่แท่งที่ต้องถูกโยนลงสู่ถังขยะด้วยเหตุผล "เพราะมันสั้นไป" แล้วมีกี่ล้านคนที่ทิ้งดินสอด้วยสาเหตุนี้ ลองคิดดูว่าภูเขาขยะไส้ดินสอลูกนี้สามารถนำไปทำดินสอได้อีกกี่ล้านแท่ง ซึ่งถ้าไส้ดินสอเหล่านี้ถูกใช้อย่างคุ้มค่า ภูเขาขยะลูกนี้ก็จะลดลงและหายไปในที่สุด
ดินสอที่ใช้จนสั้นซึ่งจะจับไม่ถนัดมือ ส่วนใหญ่แล้วจะเหลือความยาวเพียง 2 ซม. ซึ่งไส้ดินสอเพียง 2 ซม. นี้แหละที่เป็นส่วนหนึ่งของภูเขาขยะดังกล่าว
แล้วเราเคยตั้งคำถามกับตัวเองไหมว่า ทำไมเราถึงใช้ดินสออย่างสิ้นเปลืองโดยไม่เห็นคุณค่าของมัน?
"2 CM+" เป็นดินสอที่ปลายก้นดินสอ 2 ซม. จะไม่มีไส้ดินสออยู่ เพื่อให้เราได้ใช้ประโยชน์จากแร่แกรไฟท์ได้อย่างคุ้มค่า


ข้อมูลจาก http://demarkaward.net/th/

อัลบั้มภาพ 19 ภาพ

อัลบั้มภาพ 19 ภาพ ของ งานออกแบบคนไทย รางวัลงานดีไซน์ Demark ปี 2014

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook