วอนประยุทธ์ดูแลระบบพนักงานมหา′ลัย เหตุยังไม่ได้ออกนอกระบบทั้งหมด

วอนประยุทธ์ดูแลระบบพนักงานมหา′ลัย เหตุยังไม่ได้ออกนอกระบบทั้งหมด

วอนประยุทธ์ดูแลระบบพนักงานมหา′ลัย เหตุยังไม่ได้ออกนอกระบบทั้งหมด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รศ. ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะเลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา กล่าวว่า การเรียกร้องการปรับเพิ่มอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษามาก่อนหน้านานแล้ว เนื่องจาก ในปีพ.ศ. 2554 ครม. มีมติให้ขึ้นเงินเดือนข้าราชการ 2 รอบคือ 8% และ 5% แต่ปรับเพิ่มให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาในปีพ.ศ. 2554 เพียงหนึ่งครั้ง (5%) จึงมีการเรียกร้องเรื่อยมาเรื่อง 8% จน คสช. มีมติให้ปรับเงินเดือนข้าราชการทั่วประเทศ

แต่การปรับเงินเดือนข้าราชการดังกล่าว มีข้อพูกพันกับมติ ในปี 2542 ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จัดจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยจากเงินงบประมาณแผ่นดินหมวดเงินอุดหนุนมหาวิทยาลัย ทดแทนอัตราข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย เพื่อรองรับการออกนอกระบบ โดยมีข้อตกลงให้อาจารย์มหาวิทยาลัยได้รับเงินเดือนในอัตราที่มากกว่าฐานเงินเดือนของข้าราชการในปัจจุบัน คือ เพิ่มขึ้น 1.7 เท่า โดยตัดสิทธิที่ข้าราชการแต่เดิมได้รับทั้งหมดออก เป็นแรงจูงใจเรื่องเงินเดือน ให้ใด้คนเก่งเข้ามาทำอาชีพนี้มากขึ้น

เนื่องจากปัญหาคือ 15 ปีผ่านมาแล้ว มีบางมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่ยอมออกนอกระบบเป็นพนักงาน กัน 100% ที่เหลือเกินครึ่งยังเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ มีข้าราชการผสมกับพนักงานมหาวิทยาลัยที่บรรจุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอด 15 ปี ข้อตกลงในปี 2542 ก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม จึงวอนไปยังท่านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ลงมาดูปัญหานี้อย่างจริงจัง หรือเปิดโอกาสให้ได้เข้าพบเพื่อชี้แจงระบบกลไกที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุปัน โดยเรียกร้องให้อย่าฟังความจากฝ่ายบริหารอุดมศึกษาด้านเดียว เพราะปัญหานี้มีเรื่องความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงเป็นปัญหารื้อรังมาถึง 15 ปี และมีความคิดเห็นว่า ระบบพนักงานมหาวิทยาลัยควรเดินหน้าต่อไปและทำให้ดีขึ้นตามเจตนารมย์ของมติ ครม. ปี 2542

ด้าน จ่าสิบตรี ดร.จอห์นนพดล วศินสุนทร กรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ประสานงานศูนย์ประสานงานฯและกรรมการสมาคมคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ได้ให้ความคิดเห็นในประเด็นที่มีข่าวเกี่ยวกับแนวคิดในการทบทวนเกณฑ์มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ให้เปลี่ยนจากพนักงานกลับเป็นข้าราชการ ว่า แนวคิดดังกล่าว ยังขาดความชัดเจน เพราะสามารถตีความหมายไปได้ 2แนวทาง คือ

1.หากรัฐ ต้องการ เปลี่ยนพนักงานที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยรัฐ หรือกลุ่ม ม.ราชภัฏ เดิมที่ยังไม่พร้อมออกนอกระบบ ให้กลับเป็นข้าราชการทั้งหมด อาจเป็นการขัดหลักการเดิมของคณะรัฐมนตรีในปี 2542 ที่ต้องการพัฒนาอุดมศึกษาให้มีพนักงานในลักษณะพิเศษ มีค่าจ้างที่สูง มีการบริหารงานที่ยืดหยุ่น เชื่อว่า พนักงานมหาวิทยาลัยบางส่วนก็อยากจะกลับไปเป็นข้าราชการ เพราะไม่เคยได้รับค่าจ้างที่เป็นธรรม และไม่มีสวัสดิการ แถมยังถูกกลั่นแกล้งได้ง่ายจากสัญญาจ้างระยะสั้น

2. หากรัฐ ต้องการ เปลี่ยนจากพนักงานมหาวิทยาลัยเป็นข้าราชการ โดยเสนอให้แก้ไข มติ ครม. ให้มีการรับบรรจุอัตราข้าราชการใหม่ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ และค่อยๆ ลดจำนวนพนักงานลงให้หมดตามระยะเวลาในสัญญาจ้าง โดยหากพนักงานคนไหนต้องการจะไปเป็นข้าราชการก็ต้องไปสอบเข้าตามระบบเอง จะยิ่งสร้างปัญหาอย่างมากในสถาบันอุดมศึกษา เพราะเท่ากับว่าพนักงานที่มีอยู่ก่อนแล้วในระบบก็จะถูกลอยแพ และก็จะเกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันในวงกว้างถึงความไม่ชัดเจนในแง่มุมต่างๆ จนอาจถึงขั้นอาจารย์มหาวิทยาลัยออกมาเดินประท้วงกันก็อาจมีให้เห็นเป็นแน่

ดังนั้นหา เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) มีแนวคิดในการทบทวนเกณฑ์ออกนอกระบบ เปลี่ยนจากพนักงานกลับเป็นข้าราชการจริง ก็เป็นเรื่องน่ายินดีที่จะมีการทบทวน แต่จำเป็นที่จะต้องศึกษาแนวทางให้ชัดเจนก่อนว่าแนวไทยไหนจะสร้างประโยชน์ หรือจะสร้างปัญหาไปมากกว่าเดิม ผ่านการทำประชาวิจารณ์และในการทบทวนประเด็นดังกล่าว จึงอยากให้คำนึงถึงขวัญและกำลังใจและความมั่นคงของบุคลากรของรัฐเป็นสำคัญ เพื่อให้ภาครัฐสามารถรักษาคนดี คนเก่งไว้พัฒนาอุดมศึกษาไทยได้อย่างยั่งยืนและมีคุณภาพต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook