สิ้นศิลปินแห่งชาติ "ถวัลย์ ดัชนี"

สิ้นศิลปินแห่งชาติ "ถวัลย์ ดัชนี"

สิ้นศิลปินแห่งชาติ "ถวัลย์ ดัชนี"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายดอยธิเบศร์ ดัชนี บุตรชายของนายถวัลย์ ดัชนี ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี พ.ศ. 2544 ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุ บิดาได้เสียชีวิตลงอย่างสงบแล้วในวัย 74 ปี หลังเข้ารับการรักษาตัวจากอาการตับอักเสบ เมื่อช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา



โดยนายดอยธิเบศร์ระบุว่า "พ่อไม่ต้องกังวล เพราะพ่อจะไม่ไปไหนพ่อจากไปแต่เพียงร่างกายแต่ผลงานศิลปะที่มาจากหัวใจ จิตวิญญาณและลมหายใจที่พ่อสร้างทิ้งไว้จะเป็นอมตะตลอดกาล พ่อคือผู้สร้างและลูกคือผู้รักษาหลับให้สบายนะพ่อ เลือดของพ่อยังไหลเวียนในกายลูกเสมอและเราจะพบกัน...รักพ่อสุดหัวใจ กราบเท้าพ่อเป็นครั้งสุดท้าย"

ทั้งนี้พิธีสวดพระอภิธรรมศพ นายถวัลย์ ดัชนี จะมีขึ้นที่วัดเทพศิรินทราวาสเป็นเวลา 7 วัน และจะทำพิธีพระราชทานเพลิงศพต่อไป

นายถวัลย์ ดัชนี
ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม)
นายถวัลย์ ดัชนี ปัจจุบันอายุ 62 ปี เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. 2482 ที่จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรของนายศรี และนางบัวคำ (พรหมสา) ดัชนี เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 4 คน ได้แก่ พ.ต.สว่าง ดัชนี นายสมจิตต์ ดัชนี และนายวสันต์ ดัชนี สมรสกับนางคำเอ้ย มีบุตรชาย 1 คน คือ นายดอยธิเบศร์ ดัชนี
ประวัติการศึกษา
พ.ศ. ๒๔๘๕ - ๒๔๙๑ ศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม จังหวัดเชียงราย
พ.ศ. ๒๔๙๒ - ๒๔๙๘ ศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม จังหวัดเชียงราย
พ.ศ. ๒๔๙๘ - ๒๕๐๐ ศึกษาระดับครูประถมการช่าง (ปปช.) จากโรงเรียนเพาะช่าง
พ.ศ. ๒๕๐๐ - ๒๕๐๕ ศึกษาปริญญาตรีศิลปบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากคณะจิตรกรรมประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. ๒๕๐๖ - ๒๕๑๒ ศึกษาระดับปริญญาโท ทางด้านจิตรกรรมฝาผนัง อนุสาวรีย์ ผังเมือง และปริญญาเอก สาขาอภิปรัชญาและสุนทรียศาสตร์
ที่ราชวิทยาลัยศิลปแห่งชาติ อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ (RIJKS AKADEMIE VAN BEELDEN DE KUNSTEN
AMSTERDAM NEDERLAND)

ประวัติการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
นับแต่เรียนสำเร็จชั้นมัธยมที่จังหวัดเชียงราย ถวัลย์ได้เข้าเรียนศิลปะที่โรงเรียนเพาะช่างด้วยทุนการศึกษาของจังหวัดเชียงรายและเป็นนักเรียนเพาะช่างดีเด่นด้วยฝีมือการวาดรูปเหมือนจริงที่แม่นยำฉับไว ภาพวัดเบญจมบพิตรได้รับเลือกให้แสดงในหอศิลปแห่งชาติ นครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นและแสดงในนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยแห่งชาติ ประเทศไทย

เมื่อจบจากโรงเรียนเพาะช่างในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ถวัลย์ได้เดินตามแนวทางของดำรง วงศ์อุปราช จิตรกรรุ่นพี่ นักเรียนทุนจากลำปาง ซึ่งเป็นผู้จุดประกายให้เขาสอบเข้าเรียนที่คณะจิตรกรรม ปฏิมากรรมมหาวิทยาลัยศิลปากร ภายใต้การอำนวยการสอนของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และสถาบันแห่งนี้ได้หล่อหลอมให้ถวัลย์พัฒนางานจากภาพวาดเหมือนจริงไปเป็นภาพวาดที่ให้ความรู้สึกประทับใจ (Impressionism) แบบไทย แล้วยังเป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างถวัลย์ ดัชนี กับ พลตรี ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งเป็นแบบอย่างการใช้ชีวิตและวิธีคิดที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของเขาเป็นอย่างยิ่ง

ถวัลย์ ดัชนี จัดเป็นบัณฑิตคนหนึ่งในจำนวนไม่กี่คนของมหาวิทยาลัยศิลปากรในขณะนั้นที่สามารถเรียนต่อในระดับปริญญาตรีได้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าถ้าไม่มีความรู้ความสามารถโดดเด่นแท้จริงแล้วจะได้เพียงอนุปริญญา และหลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว ด้วยการสนับสนุนของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี คณบดีในเวลานั้น ถวัลย์ได้รับทุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรมและการศึกษา ของรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกเป็นเวลา ๕ ปี ที่ราชวิทยาลัยศิลปแห่งชาติ อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์

ระหว่างที่ศึกษาศิลปะที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ผลงานการสร้างสรรค์ของถวัลย์โดดเด่นเป็นที่นิยมชมชอบของวงการศิลปะสากลอย่างกว้างขวาง จึงได้รับเชิญเป็นผู้บรรยายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการประชุมสัมมนาทางศิลปะระดับนานาชาติอยู่เสมอ ทั้งจากสถาบันการศึกษา สถาบันทางศิลปะให้จัดแสดงผลงานที่เรียกว่า One Man Show และแสดงกลุ่มมากมายหลายครั้งทั้งในประเทศและต่างประเทศนับตั้งแต่เข้ามามีบทบาทในวงการศิลปะร่วมสมัยของไทย

ขอขอบคุณภาพประกอบจาก : Thawan Duchanee


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook