ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ทดลองมาแล้ว ใช้ใบตองปิดแผลหายเร็วกว่าใช้ผ้าก็อซเคลือบวาสลิน80%

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ทดลองมาแล้ว ใช้ใบตองปิดแผลหายเร็วกว่าใช้ผ้าก็อซเคลือบวาสลิน80%

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ทดลองมาแล้ว ใช้ใบตองปิดแผลหายเร็วกว่าใช้ผ้าก็อซเคลือบวาสลิน80%
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 11 กันยายน ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2557 ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ มีการนำเสนอผลงานวิชาการและโปสเตอร์นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่น่าสนใจอาทิ การศึกษาการรักษาแผลด้วยใบตองอ่อน

นางไอยริษา เสาร์ศิริ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)อีเซ อ.โพธิ์ศรีสุวรรณ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า การศึกษาดังกล่าว เป็นการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทยในท้องถิ่น ในระบบบริการประชาชนและประสบผลสำเร็จ ได้ผลดี สร้างความพึงพอใจ ช่วยลดอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยขณะทำแผลได้เป็นอย่างดี ที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอีเซ มีผู้ป่วยไปรับบริการทำแผล 12-25 ราย โดยเป็นบาดแผลเปิด แผลถลอกร้อยละ 40 แผลถูกไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ร้อยละ 20 แผลเปื่อยติดเชื้อร้อยละ 25 แผลที่สร้างความเจ็บปวดให้ผู้ป่วยมากที่สุดคือ บาดแผลถลอก และแผลถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก เนื่องจากเมื่อปิดผ้าก็อซเคลือบวาสลินบนแผลแล้ว แผลจะแห้งและลอกหลุดยาก ต้องใช้น้ำเกลือล้างแผลช่วยละลายสิ่งคัดหลั่งบนแผลให้ชุ่ม จึงจะลอกผ้าก็อสออกได้ ทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวด กลัวการทำแผล

นางไอยริษา กล่าวว่า จากปัญหาที่ผ่านมาจึงได้ศึกษาภูมิปัญญาวิถีชาวบ้านด้านการดูแลบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกและแผลถลอก โดยใช้ใบตองกล้วยใบอ่อนที่ยังไม่คลี่ใบ มาใช้ปิดบาดแผลแทนการใช้ผ้าก็อซเคลือบวาสลิน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดูแลให้แผลหายเร็วที่สุด ลดความเจ็บปวดขณะทำแผล จากการศึกษาการใช้ใบตองอ่อนปิดแผลให้ผู้ป่วยที่มีบาดแผลถลอก แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก 20 ราย พบว่าบาดแผลที่ปิดด้วยใบตอง เนื้อเยื่อมีการสมานกับได้ดี และใบตองอ่อนไม่ติดกับบาดแผล จึงมีผลทำให้แผลหายเร็วกว่าแผลที่ปิดด้วยผ้าก๊อซเคลือบวาสลินประมาณร้อยละ 80 โดยบาดแผลถลอกไม่ลึกที่ใช้ใบตองปิด จะใช้เวลาหายประมาณ 7 วัน หากใช้ผ้าก็อซเคลือบวาสลินปิด จะใช้เวลา 12-14 วัน ส่วนบาดแผลถลอกหรือแผลไฟไหม้ที่มีขนาดลึก การปิดแผลด้วยใบตองอ่อน จะหายประมาณ 2 สัปดาห์ ส่วนแผลที่ใช้ผ้าก็อซเคลือบวาสลินปิด จะหายประมาณ 3-4 สัปดาห์ สร้างความพึงพอใจผู้ป่วยสูงถึงร้อยละ 98

นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอวิธีบำบัดโรคลมตะกังหรือ โรคปวดศีรษะไมเกรน โดย นายอิทธิพล ตาอุด แพทย์แผนไทย ประจำโรงพยาบาลราษีไศล จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า โรคไมเกรน จัดเป็นโรคทางระบบประสาทที่แฝงมากับความเครียดและพบได้บ่อย มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความทุกข์ทรมานปวดศีรษะเป็นๆ หายๆ จะมีอาการปวดตึง ร้าวไปที่บริเวณกล้ามเนื้อรอบๆกะโหลกศีรษะ หน่วงที่บริเวณขมับ และมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ ตามัว มองเห็นภาพซ้อน อาการปวดมีความรุนแรงแตกต่างกัน ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาวิธีการบำบัดรักษาผู้ป่วยไมเกรนด้วยการนวดไทยสายราชสำนักร่วมกับการประคบสมุนไพร เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยไมเกรน

นายอิทธิพลกล่าวว่า สำหรับการศึกษาในผู้ป่วยโรคไมเกรนที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยยาและไปรับบริการที่โรงพยาบาลราษีไศล จ.ศรีสะเกษ 30 คน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2556 - เดือนเมษายน 2557 โดยใช้วิธีการนวดไทยสายราชสำนักและประคบลูกประคบสมุนไพรตาม ใช้เวลาเพียง 45 นาทีต่อครั้ง แบ่งเป็นนวด 30 นาที และประคบสมุนไพรอีก 15 นาที ทำ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ วันเว้นวัน จากการประเมินผลพบว่าได้ผลดี อาการปวดทุเลาขึ้น ก่อนนวดผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยความเจ็บปวดอยู่ที่ 6.07 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน แต่หลังจากนวดในครั้งที่ 3 ค่าเฉลี่ยความเจ็บปวดลดลงเหลือ 3.63 คะแนน ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น อาการปวดศีรษะลดลงมาก ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook