นักเรียนคิดยังไง? ศธ.เตรียมเพิ่มชม.เรียนวิชาพละเป็นสัปดาห์ละ 2 ชม.

นักเรียนคิดยังไง? ศธ.เตรียมเพิ่มชม.เรียนวิชาพละเป็นสัปดาห์ละ 2 ชม.

นักเรียนคิดยังไง? ศธ.เตรียมเพิ่มชม.เรียนวิชาพละเป็นสัปดาห์ละ 2 ชม.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 16 กันยายน ที่กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดภายหลังหารือร่วมกับ นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กท.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามทางที่ทางกท. ได้เสนอให้มีการเพิ่มชั่วโมงเรียน ในวิชาพลศึกษา ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากเดิม 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็น 2 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ ร่วมถึงจัดกิจกรรมกีฬาหลังเลิกเรียน และการส่งเสริมให้มีมัคคุเทศก์เพิ่มขึ้น โดยในส่วนของการเพิ่มชั่วโมงเรียนวิชาพละ และการจัดกิจกรรมกีฬาหลังเลิกเรียนนั้น ตนได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) รับไปดำเนินการและให้มีผลทันทีในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โดยอาจจะเพิ่มกิจกรรมกีฬาระหว่างโรงเรียน หรือระหว่างจังหวัด ส่งเสริมให้นักเรียนในแต่สถาบันมีความสามัคคี รู้จักกันมากขึ้น โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน นักเรียนก็มีโอกาสรู้จักกัน

"เมื่อมีการเพิ่มชั่วโมงเรียนวิชาพลศึกษา สพฐ. จะจำเป็นต้องไปปรับลดเวลาเรียนในวิชาอื่นลง เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับเด็ก จากเดิมที่เรียนมากอยู่แล้ว โดยขอให้ไปดูในภาพรวมของหลักสูตรทั้งหมดว่ามีวิชาใดที่หนักและสามารถปรับลดให้เบาลงได้ เพราะเด็กโดยเฉพาะเด็กเล็ก ระดับประถม อนุบาล เป็นเด็กที่อยู่ในช่วงของวัยกำลังเจริญเติบโตทั้งด้านร่างกาย ปัญญาความคิด และจิตใจ ดังนั้นจึงต้องทำให้ทั้งสองอย่างเดินไปควบคู่กัน ศธ. คงจะไม่ไปยัดเยียดวิชาความรู้ให้เด็กอย่างเดียวแต่จะต้องให้กำลังกายให้สุขภาพกับเขา เพราะเด็กถึงแม้จะเรียนเก่งแต่ถ้าสุขภาพไม่ดี ก็ไม่สามารถที่จะเป็นอนาคตที่ดีของชาติได้ โดยกท.รับหน้าที่จัดหน่วยเคลื่อนที่เร็วอบรมครูที่ไม่ได้จบสายพละโดยตรงให้ได้เรียนรู้เทคนิคเบื้องต้นในการดูแลเด็กระหว่างการเล่นกีฬาให้ปลอดภัย เพราะทราบดีว่าโรงเรียนบางโรงยังขาดครูสายนี้อยู่จำนวนมาก "


พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องของมัคคุเทศก์ ยังติอดข้อกฎหมายที่ว่า มัคคุเทศก์ จะต้องจบการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านนี้โดยเฉพาะนั้น ที่ประชุมเห็นว่า การเป็นมัคคุเทศก์ อาจจะไม่จำเป็นต้องจบกรศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านนี้โดยตรงเท่านั้น ดังนั้นจึงขอให้ทาง กท. ไปปรับแก้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้นักเรียนที่เรียนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่เรียนมาทางด้านนี้สามารถออกไปทำงานเป็นมัคคุเทศก์ได้ทันที โดยไม่ต้องไปเรียนต่อในระดับปริญญาตรี

นางกอบกาญจน์ กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนเป็นมัคคุเทศก์กับกระทรวงการท่องเที่ยวฯ จำนวน 50,000 คน แต่ทำงานจริงเพียง 10,000 คน ซึ่งถือว่ายังขาดแคลนอาชีพมัคคุเทศก์อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาษาที่สาม เช่น ภาษาจีน ญี่ปุ่น เยอรมัน และรัสเซีย เป็นต้น ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าการปลดล็อคกฎหมายจะช่วยเติมเต็มในเรื่องนี้ได้อย่างแน่นอน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook