ทางออกการศึกษาไทย (3)

ทางออกการศึกษาไทย (3)

ทางออกการศึกษาไทย (3)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

คอลัมน์ Education Ideas โดย วิริยะ ฤกษ์ชัยพาณิชย์

3.การสนับสนุนชุมชนร่วมจัดการศึกษาของโรงเรียน เพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชีวิตเด็กในแต่ละโรงเรียนหรือแต่ละห้องเรียนตามสภาพจริงโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากกว่าที่ผ่านมา จากอดีตจนปัจจุบัน เรามีการจัดทํา หลักสูตรแกนกลาง ส่งตรงจากกระทรวงไปทั่วประเทศด้วยวิชาเนื้อหาที่ละเอียด ชัดเจนทําให้เด็กจํานวนมากต้องเรียนเรื่องที่กระทรวงกําหนด ครูต้องสอนตามกําหนดโดยมีหลักสูตรเป็นสําคัญ

หลักสูตรจากส่วนกลางจะมีเนื้อหามากมายที่เด็กไม่มีโอกาสได้ใช้เนื้อหานั้นไปทําประโยชน์อะไรเลย แต่ต้องเรียนเพื่อทําข้อสอบ กลายเป็นภาระทําให้เด็กเสียเวลาการสอบแบบโบราณ การทําให้ชุมชนเห็นความสําคัญ และเพิ่มบทบาทให้เข้าร่วมรับผิดชอบ จะทําให้นักเรียนเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย และเรียนรู้ตามที่ควรเป็น

ตัวอย่างและข้อคิดจากครูชนบท "นักเรียนบางส่วน เช่น ชาวเขา นักเรียนยากจน ซึ่งมีหลายแสนคนในเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ฯลฯ เรียนอย่างไรก็สู้เด็กในเมืองไม่ได้ พอจบ ป.6 เริ่มเรียน ม.1 ความรู้ก็หลวม ๆ เรียนไปเล่นไป พอจบ ม.3 บางคนก็ออกไปทํางานคาราโอเกะ หมูกระทะ ฯลฯ

ส่วนที่จะเรียนต่อสายสามัญก็มีน้อยมาก พอเข้า ปวช.จะเรียนสายอาชีพ เข้าปีแรกเทอม 2 ก็ออกหมดเพราะเรียนไม่ได้ เนื่องจากความรู้ที่ติดตัวมาน้อยมาก เท่าที่ผมส่งเรียนก็ขอลาออกปี 1-2 100% พวกนี้บอกเรียนไม่รู้เรื่องจริง ๆ

หลังจากออกไป เท่าที่ตามดู ก็เข้าสู่วงจรค้ายาเสพติด บาร์เกย์ ผู้หญิงก็ท้อง หรือค้าบริการ ผมพอจะมีวิธีแก้ไข ซึ่งได้คุยกับ ผอ.หลาย ๆ โรงเรียนตามชายขอบ เขาก็ท้อแท้ ผมว่าควรทําโครงการเตรียมนักเรียนพวกนี้ให้พร้อม เพื่อเข้าสู่สายอาชีพอย่างแท้จริง เป็นการเตรียมอาชีวะ เหมือนเตรียมวิศวะของพระนครเหนือนะครับ เราจะได้แรงงานที่มีคุณภาพอีกหลายหมื่นคนนะครับ"

จากปัญหาการศึกษาที่หมักหมมมานาน ปัจจุบันมีประชาชนหลายจังหวัดเริ่มรวมตัวกันจัดตั้งสภาการศึกษาจังหวัด เพื่อกําหนดทิศทางการพัฒนาลูกหลานของเขาเอง รัฐควรให้การสนับสนุน

4.นําการศึกษาสู่ประชาชน เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ควรส่งเสริมให้สังคมเป็นสังคมที่มีการศึกษา ให้คนที่อยู่นอกระบบโรงเรียนจํานวนมากได้โอกาสที่จะพัฒนาอาชีพและชีวิต โดยมี กศน.วัด ชุมชนและองค์กรเอกชนเป็นส่วนร่วมในการใช้พื้นที่ และสร้างองค์ความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนเองการจัดการศึกษาแบบนี้จะทําให้วิชาความรู้ต่าง ๆ ในระบบการศึกษาสามารถส่งต่อไปยังชุมชน และเป็นการศึกษาอย่างแท้จริง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook