เปิดหลักสูตรมหาบัณฑิตด้าน"เกม"แห่งแรกของประเทศที่มหิดล

เปิดหลักสูตรมหาบัณฑิตด้าน"เกม"แห่งแรกของประเทศที่มหิดล

เปิดหลักสูตรมหาบัณฑิตด้าน"เกม"แห่งแรกของประเทศที่มหิดล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดร.โมเรศ ปรัชญพฤทธิ์ดร.โมเรศ ปรัชญพฤทธิ์เปิดหลักสูตรมหาบัณฑิตด้าน"เกม"แห่งแรกของประเทศที่มหิดล เรียนลงลึกวิจัย-แอดวานซ์-ตลาดงานพรึ่บ

ภายหลังจากที่มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ได้มีการประชาสัมพันธ์เปิดหลักสูตรนานาชาติวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต(ปริญญาโท) สาขาวิชาเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน โดยเปิดรับสมัครวันที่ 15 กันยายน เป็นวันสุดท้ายนั้น ปรากฎว่าหลังจากเผยแพร่ตามสื่อๆต่างๆ มีผู้สนใจถามไถ่เข้ามาจำนวนมาก คณะจึงได้ขยายวันรับสมัครออกไปจนถึงต้นเดือนตุลาคมแล้ว

ประชาชาติฯออนไลน์ สัมภาษณ์ ดร.โมเรศ ปรัชญพฤทธิ์ ประธานหลักสูตรวิชาเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชันและผู้สอนวิชา virtual reality ถึงเรื่องหลักสูตรวิชาเทคโนโลยีเกมและเกมมิฟิเคชัน ซึ่งเป็นหลักสูตรมหาบัณฑิตด้านเทคโนโลยีเกมแห่งแรกของประเทศไทยที่จะมีการวิจัย และมีการเรียนขั้นแอดวานซ์

ดร.โมเรศ กล่าวว่า ในปัจจุบันเกมเป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญมาก คือ เป็นเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนนอกจากในด้านความบันเทิงแล้ว ยังขับเคลื่อนการพัฒนาด้านอื่นๆที่สำคัญ เช่น การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสมัยใหม่ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน เช่น เกมเรียนรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษ เกมคณิตศาสตร์ เกมเรียนรู้กฎจราจร นอกจากนี้ยังใช้พัฒนาระบบจำลองเสมือนจริงของแพทย์เช่นผ่าตัด หรือระบบจำลองเสมือนจริงของทหารในการรบซึ่งมีประโยชน์มาก ขณะที่ประเทศชั้นนำอย่าวอเมริกา เมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา มีหลักสูตรเกี่ยวกับเกมเยอะมาก เมืองไทยก็มีบ้างแต่เพียงระดับปริญญาตรี ส่วนหลักสูตรของมหิดลถือว่าเป็นที่แรก ที่ร่างหลักสูตรขั้นแอดวานซ์ และมีการทำวิจัยเกม

 

"ปัจจุบันนี้ตลาดเกมโลกมีขนาดใหญ่กว่าตลาดภาพยนตร์อีกโดยตลาดเอเชียเติบโตสูงสุดส่วนตลาดเกมในไทยก็เติบโตอย่างต่อเนื่องปัจจุบันมีบริษัทเกมในไทยกว่า100บริษัท ปัญหาคือปัจจุบันเรายังขาดแคลนบุคลากรทางด้านนี้มาก ตอนนี้ตลาดเกมเมืองไทยมีขนาดใหญ่ ตัวเลขคร่าวๆ ประมาณ 8,000 กว่าล้านบาท ซึ่งในตลาดนี้เรายังนำเข้าเป็นส่วนใหญ่ ประมาณ 90% เราผลิตเองก็มีบ้างแต่ยังน้อยเมื่อเทียบกับตลาดที่เรามีอยู่"ดร.โมเรศ กล่าว

ดร.โมเรศ บอกว่า การที่คนนิยมเกมต่างชาติ ก็ต้องยอมรับว่าเกมต่างชาติดีกว่า แต่ต่อไปถ้าเรามีความพรัอมในประเทศ มีบุคลากรที่เชี่ยวชาญมากขึ้น ต่อไปการพัฒนาก็จะดีเท่าต่างชาติได้ ตอนนี้บริษัทที่ทำเกมออนไลน์อย่างดีบัสซ์ก็สูสี เช่น เกมอสุราออนไลน์ หรือ เกม 400 และต่อไปถ้าเรามีผู้เชี่ยวชาญมากขึ้นการพัฒนาจะมากขึ้นตาม

สำหรับมุมมองของสังคมในแง่ลบต่อเกมนั้นดร.โมเรศกล่าวว่าเกมก็เป็นสื่อประเภทหนึ่งมีทั้งด้านบวกและลบขึ้นอยู่กับผู้ผลิตและผู้บริโภค ในฐานะสถาบันการศึกษาที่เป็นผู้ผลิตบัณฑิตที่จะไปผลิตเกมต่อในอนาคต เราก็ได้ใส่เรื่องคุณธรรมและจริยธรรมของการพัฒนาเกมเข้าไปด้วย เพื่อให้บัญฑิตตระหนักถึงผลกระทบที่จะมีต่อสังคม ส่วนคนที่มองเกมในแง่ลบอาจมาจากความเข้าใจมี่ว่าเกมใช้สำหรับความบันเทิงเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงเทคโนโลยีเกมยังสามารถนำไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ในหลายด้าน ประยุกต์เทคโนโลยีเกมให้เกิดประโยชน์ ทั้งการแพทย์ การศึกษา การทหาร หรือ ทำสื่อประชาสัมพันธ์

ดร.โมเรศ กล่าวว่า การทำหลักสูตรนานาชาติ เป็นจุดประสงค์เราที่จะเตรียมพร้อมในตลาดสากล เนื้อหาหลักๆเน้นเรื่องความรู้ความเข้าใจเทคโนโลยีของเกมเป็นทางวิทยาศาสตร์ ความรู้การเขียนเกม ทฤษฏีความรู้การเขียนโปรแกรม เป็นทางวิทยาศาสตร์ เขียนโปรแกรมสร้างเกมเองได้ ทำระบบเกี่ยวกับเกมได้ ด้านอาจารย์ที่มาสอนก็จะมีอาจารย์ประจำคณะที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเทคโนโลยีเกม และจะมีการดึงผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทเกมดังๆ เช่น บริษัทดีบัสซ์ ที่ผลิตเกมชื่อดังออนไลน์ของไทย จะเป็นพาร์ทเนอร์กัน และยังมีความร่วมมือกับสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม มาร่วมบรรยายด้วย

"เด็กที่จบสาขานี้มีตลาดรองรับมากมาย นอกจากอาชีพนักพัฒนาเกมแล้ว ยังสามารถประกอบอาชีพอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้อีก เป็นนักพัฒนาด้านมัลติมีเดีย ทำสื่อในภาพยนตร์ ซึ่งจะมีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกัน เช่น การทำภาพเคลื่อนไหว พัฒนาด้านกราฟฟิค นักพัฒนาทำระบบจำลองเสมือนจริง ระบบการฝึกทางการแพทย์ ทางทหาร ทำสื่อด้านดิจิทัล แตกไปไดัอีกเยอะแยะ และถ้ามองตลาดทั่วโลกก็ยิ่งกว้าง"

ดร.โมเรศ กล่าวว่า ภายหลังจากประชาสัมพันธ์ปรากฎว่ามีผู้สนใจจำนวนมาก จึงขยายเปิดรับสมัครไปถึงวันที่ 3 ตุลาคม และ เปิดเทอมวันที่ 27 ตุลาคม

สำหรับผู้ที่สนใจสมัครเรียน ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ จะต้องสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี เกรดเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 ในสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ กรณีสำเร็จการศึกษาในสาขาอื่น ต้องมีความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต และมีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้อง

โดยหลักสูตร 1 ปี มี 2 แผน คือ ทำวิทยานิพนธ์ และ ทำสารนิพนธ์

แผนวิทยานิพนธ์ตลอดหลักสูตร ต่างชาติ 470,000 บาท นักศึกษาไทย 260,000 บาท ถ้าได้ทุนจากคณะ 150,000 บาท ส่วนแผนสารนิพนธ์ตลอดหลักสูตร นักศึกษาต่างชาติ 430,000 บาท นักศึกษาไทย 250,000 บาท ได้ทุนจากคณะ 130,000 บาท

ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook