"ข้อแนะนำ"เหล่าสาวก"บัญญัติ 8 ประการ"สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ ในโลกแห่ง"เฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์"

"ข้อแนะนำ"เหล่าสาวก"บัญญัติ 8 ประการ"สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ ในโลกแห่ง"เฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์"

"ข้อแนะนำ"เหล่าสาวก"บัญญัติ 8 ประการ"สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ ในโลกแห่ง"เฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในโลกยุคปัจจุบัน เฟซบุ๊ค หรือทวิตเตอร์ หรือ"เครือข่ายชุมชนออนไลน์ "ทุกวันนี้ เห็นได้ชัดว่าสิ่งเหล่านี้ไม่ได้กลายเรื่องอดิเรกอีกต่อไปแล้ว หากแต่ได้กลายเป็นปัจจัยที่ห้า หรือ"ลมหายใจ"ของผู้คนในยุคนี้ ที่มีวิถีชีวิตที่ยึดติดแน่นโลกสื่อสารใบใหม่ หรือ"โลกคุยผ่านภาษาออนไลน์"ที่ได้เปลี่ยนโฉมหน้ารูปแบบการสนทนาของโลกในสังคมก่อนหน้านี้ เพียงแค่การพบปะแบบเผชิญหน้า


เมื่อวินาทีนี้ เฟซบุ๊ค และทวิตเตอร์ ได้"ทลาย"กำแพงข้อจำกัดแห่งการสนทนา คือ สามารถบันดาลให้เราสามารถคุยกับทุกคนบนโลกนี้ได้ จนกล่าวได้กล่าว"โซเชียล มีเดีย"เหล่านี้ คือโลกใบใหม่ที่ผุ้คนได้เดินปะปนกันอย่างขวักไขว่และคึกคัก ในทุกชม.ยามที่ผู้คนได้ข้องเกี่ยวตลอด 24 ชม.ของแต่ละวัน

ทว่า "เฟซบุ๊ค"และ"ทวิตเตอร์"ก็มีทั้ง"ด้านดี"และด้านร้าย"ขึ้นอยู่กับการใช้ของแต่ละบุคคล เพราะแต่ละคนต่างก็ใช้เฟซบุ๊คในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทั้งเหมาะสมและไม่เหมาะสม บนพื้นฐานความต้องการแสดงออกของบุคคลนั้น ๆ โดยเฉพาะการใช้"เฟซบุ๊คตัวเอง"เป็นเครื่องมือแสดงการระบายความรู้สึกและอารมณ์ตัวเองเป็นหลักใหญ่ รวมทั้งพฤติกรรมต่าง ๆ นานา

สิ่งเหล่านี้กระทำอยู่บนท่ามกลางผู้คน หรือ"เพื่อน"ในเฟซบุ๊คของเราเอง ที่กำลังมองเราอยู่ ในทุกวินาทีที่เรา"โพสต์ข้อความใหม่ๆ"ลงไปทุกครั้งด้วยและด้วยเหตุผลนี้ จึงมีคำถามตามมาว่า เราจะใช้เฟซบุ๊ค หรือเครือข่ายชุมชนออนไลน์อย่างไรให้เหมาะสม

แน่นอน ในประเด็นนี้ มีทัศนะของผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ หรือกูรูระดับอินเตอร์บางรายได้ออกมาแนะนำ หลักการใช้เฟซบุ๊ค ที่อาจเรียกว่าเป็น"บัญญติ 4 ประการ ถึง สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ"กับโลกใบใหม่แห่งการสื่อสาร"ของเรา

4.สิ่งที่ควรทำ

1.ต้องรู้จัก"รับฟัง"ผู้อื่น เท่ากับ"การพูด"ของเรา

ในโลกโซเชี่ยล มีเดีย นั้น เป็นเรื่องของการเกี่ยวข้องและการเรียนรู้"ซึ่งกันและกัน"นั่นหมายถึง เราจะต้อง"เรียนรู้"ว่า ผู้อื่นคิดอยางไร และกำลังพูดเรื่องอะไร ขณะที่การปฎิสัมพันธ์ในเฟซบุ๊ค ควรดำเนินไปอย่างเท่าเทียมกัน เช่น หากเราเอาแต่"พูด"หรือบ่นแต่เรื่องของเรา ให้คนอื่น ๆ ฟัง เราก็จะไม่ให้รู้จักโลกของเฟซบุ๊ก หรือชุมชนออนไลน์ อย่างแท้จริง แต่ในทางกลับกัน หากเรา เรียนรู้ที่จะ"รับฟัง"เรื่องชาวบ้าน หรือฟัง และ"เกี่ยวพัน"กับผู้อื่น เช่นคลิกไลค์ หรือแสดงความเห็น เราก็จะได้รับประโยชน์ จาก"บทสนทนา"ในเฟซบุ๊คอย่างมาก

ซึ่งแน่นอนว่า เราอาจต้องมองและทบทวนตัวเองว่า เราเอาแต่"แอด"รับเพื่อน"(เยอะๆ) เพื่อแสดงออกแต่ความรู้สึกของเรา ทำให้คนอื่นเอาแต่"ฟังเรา" โดยไม่เคยสนใจโพสต์ของ"เพื่อนๆ" นั่นคือ"รับฟัง"และ"แสดงทัศนะ"ต่อความคิดคนอื่นเลยหรือไม่

2.ต้อง"โพสต์แต่"เรื่องจริง"

การโพสต์เรื่องที่เป็นความจริงจะทำให้เราเป็น"เพื่อน"ที่มีความเชื่อถือในสายตาของเพื่อน ๆ ของเราในเฟซบุ๊ค ส่วนการทวีตข้อความ ควรจะทวีตข้อความที่มาจากตัวเราเองเป็นหลัก เพราะจะทำให้ผู้อื่นกล้าที่สนทนาด้วย หรือหากมีเวลาจำกัด ก็ควรทวีตหรือรีทวีตข้อความไม่ต้องบ่อยอย่างพร่ำเพรื่อ เพราะการโพสต์เรื่องที่เป็นจริงจะทำให้เราได้รับการตอบรับหรือการตอบโต้จากเพื่อน ๆ ได้อย่างดี รวมทั้งการทวีตข้อความเอง ก็จะทำให้ผู้คนรู้สึกได้สัมผัส"ตัวตนแท้จริง"ของเราด้วย

3.ต้อง"ทบทวนให้ถี่ถ้วน"ก่อนจะ"ส่งข้อความ"

อย่างแรกบางทีเราอาจจะโพสต์ข้อความบ่อยมาก โดยไม่ได้อ่านทบทวน จนติดเป็นนิสัย ทำให้เกิดการโพสต์คำผิด ๆ บ่อย ๆ ซึ่งนั่นจะทำให้ผู้ใช้คนอื่น ๆ รู้สึกว่าเราเป็นคนชุ่ย เพราะโลกที่เราสื่อสารอยู่นั้น ไม่ใช่โลกส่วนตัว แต่เป็นโลกส่วนรวม

อีกประการที่สำคัญมาก พยายามหลีกเลี่ยงการโพสต์ข้อความขณะมี"อารมณ์หงุดหงิด"เพราะนั่นจะทำให้เราโพสต์ข้อความอย่างหุนหันพลันแล่น ไม่รอบคอบ ซึ่งจะทำให้ภาพลักษณ์เราดูแย่ในสายตาคนอื่น แม้กระทั่งเพื่อนสนิทของเรา จงจำไว้ว่า อะไรก็ตามที่เราโพสต์ไปแล้ว มันจะกลายเป็นสิ่งติดตัวเราไปตลอด และหากเราโพสต์สิ่งใดอย่างชุ่ย ๆ เราอาจต้องรับผิดชอบกับความผิดพลาดนั้น ๆ

4.รู้จักหลักมารยาท

เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องเข้าใจถึงการใช้ภาษา และหลักธรรมเนียม ของการสื่อสาร ในแต่ละแบบ เช่น ในทวิตเตอร์ อย่านำเอาข้อความของคนอื่นมาทวีตโดยไม่ให้เครดิตเขาอย่างเหมาะสม หรือในเฟซบุ๊ค จงรู้จักมารยาทในการสื่อสาร และจงสุภาพ เมื่อใดก็ตามที่เราสะท้อนทัศนะออกไป สิ่งนั้นจะบอกถึงตัวตนของเรา รวมทั้งเรื่องงานหรืออาชีพของเรา รวมทั้งหากเราไม่เห็นด้วยกับทัศนะของเพื่อนคนอื่น จงพยายามปฎิเสธ หรือใช้ภาษาอย่างสุภาพ และไม่ใช่ถ้อยคำหยาบคาย เพราะสิ่งนั้นจะทำให้เราถูกมองว่า"ขาดวุฒิภาวะ"หรือ"ความเป็นคนที่มีความคิด มีการศึกษา และเจริญแล้ว"

4 สิ่งที่ไม่ควรปฎิบัติ

1.สื่อออนไลน์"ย่อมไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัว"เสมอไป

จงอย่าคิดผิดๆว่า"เฟซบุ๊ค"หรือสื่อออนไลน์"ที่เราใช้ เป็นพื้นที่ส่วนตัว หรือเป็น"บ้านเราเอง"เสมอไป และเราสามารถทำอะไร ๆ กับมันก็ได้ เพราะจริงๆ แล้ว สื่อเหล่านี้ก็เปรียบเสมือน"เส้นถนนคู่ขนาน" ที่อีกด้านยังเป็นสื่อสาธารณะ ที่สื่อถึงกันอย่างกว้างขวางมากมาย ฉะนั้น จงอย่าเขียนสิ่งใดที่"ไม่ดี"หรือ"แย่ๆ"ที่อาจกลายเป็นกระแสข่าวในโลกออนไลน์ อื่น ๆ หรือกลายเป็นข่าวฉาวในหน้าหนังสือพิมพ์

จริงอยู่ เฟซบุ๊ค หรือทวิตเตอร์ อาจเป็นพื้นที่ส่วนตัวของเรา ทว่าในความเป็นจริง เป็นเรื่องเสี่ยงมากหากเราเที่ยวโพสต์สิ่งใด ที่จะถูกนำไป"ส่งต่อ"หรือ"อ้างอิง"อย่างไม่ดี ซึ่งนั่นจะกลายเป็นศรย้อนมาทำร้ายเราอย่างคาดไม่ถึง

2.อย่าเที่ยว"แชร์"สิ่งที่เรารู้ไม่จริง

เราพึงควรระมัดระวังในการโพสต์หรือรีทวีตข้อความที่มีลักษณะเป็น"ข่าวลือ"หรือสิ่งที่ไม่มีการรายงานอ้างยืนยัน ฉะนั้น เราจึงควรพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้รอบคอบก่อนโพสต์หรือรายงาน จงอย่าลืมว่า คนอื่น ๆ ที่มีสถานะต่าง ๆ เช่น เพื่อน หุ้นส่วน นายจ้าง ลูกจ้าง หรือผู้ลงทุน กำลังมองดูเราอยู่ และเราจะสูญเสียเครดิต จากเล็ก ๆ น้อย ๆ ถึงระดับใหญ่โต หากเราโพสต์ข้อความหรือสิ่งใด ๆ ที่ปรากฎว่า"ไม่เป็นเรื่องจริง"

3.จงอย่าเปิดเผยข้อมูลลับของ"ตัวเอง-อาชีพของเรา"

การกระทำเช่นนี้จะทำให้ผู้อื่นสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ หรือแชร์ไปทั่วโลกออนไลน์ นั่นจะทำให้ความลับไม่เป็นความลับอีกต่อไป นอกจากนี้ ในบางสังคมยังถือว่า ข้อความของเฟซบุ๊ค ถือเป็นสิ่งที่สามารถใช้เป็น"หลักฐาน"ได้ (หรือแม้แต่นำไปใช้ในการฟ้องร้อง) ฉะนั้น จะต้องรอบคอบอย่างมากในข้อห้ามนี้

4.อย่าโพสต์ข้อความในสิ่งยังไม่เกิดขึ้น

จงโพสต์ข้อความในเวลา ณ ปัจจุบัน ขณะนั้น หรือโพสต์ในเวลา"เรียล ไทมส์" เพราะมันเป็นการโพสต์บนพื้นฐานความจริงที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะการโพสต์สิ่งล่วงหน้าที่ยังไม่เกิดขึ้นจะทำให้ผู้คนคาดหวัง และผิดหวังหากผลลัพธ์ออกมาไม่ได้เป็นอย่างที่เราคุยหรืออ้างไว้ จงจำไว้ว่า ในทุกระดับหน้าที่การงานที่คุณเป็นอยู่ เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเข้าใจถึงวิธีการสื่อที่เหมาะสม ด้วย"สารที่เหมาะสม"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook