แต้มแอดมิสชั่นส์ครุศาสตร์ พุ่งสูงกว่า"วิทยาศาสตร์-มนุษยศาสตร์" ปธ.คุรุสภาเผยคนเก่งเรียนครูเพิ่ม

แต้มแอดมิสชั่นส์ครุศาสตร์ พุ่งสูงกว่า"วิทยาศาสตร์-มนุษยศาสตร์" ปธ.คุรุสภาเผยคนเก่งเรียนครูเพิ่ม

แต้มแอดมิสชั่นส์ครุศาสตร์ พุ่งสูงกว่า"วิทยาศาสตร์-มนุษยศาสตร์" ปธ.คุรุสภาเผยคนเก่งเรียนครูเพิ่ม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม แหล่งข่าวจากสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา เปิดเผยว่า คุรุสภาได้วิเคราะห์ข้อมูลเรื่องแนวโน้มความสนใจของคนเก่งในการเข้าสู่ วิชาชีพครู โดยเปรียบเทียบจากคะแนนสูงสุด-ต่ำสุด จากการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา ในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิสชั่นส์กลาง ประจำปี 2557 มีการเปรียบเทียบคะแนนสูงสุด-ต่ำสุด ระหว่างคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์

และคณะมนุษยศาสตร์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ในภาพรวม สูงกว่าคณะวิทยาศาสตร์ เช่น คะแนนเฉลี่ยสาขาเฉพาะคณิตศาสตร์และเคมี ที่สอนอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยนเรศวร (มน.) มหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (มมส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) มีคะแนนเฉลี่ยของคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ สูงสุด-ต่ำสุด 21,243.44-19,211.11 คะแนน

สูงกว่าคณะวิทยาศาสตร์ 16,002.44-12,518.00 คะแนน ส่วนสาขาฟิสิกส์ของ มข. มหาวิทยาลัยทักษิณ มน. มบ. และ ม.อ.มีคะแนนเฉลี่ยของคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ 19,313.60-16,608.20 คะแนน สูงกว่าคณะวิทยาศาสตร์ 13,990.00-11,844.20 คะแนน

"ผลการวิเคราะห์ยังได้เปรียบเทียบคะแนนสาขาวิชาภาษาอังกฤษของ มช. มหาวิทยาลัยทักษิณ มน. มมส. และ ม.อ. ที่เปิดสอนอยู่ในคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์และคณะมนุษย์ศาสตร์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์สูงกว่า เพราะมีคะแนนเฉลี่ย 21,287.40-19,622.40 คะแนน ส่วนคณะมนุษยศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 20,822.60-17,368.80 คะแนน" แหล่งข่าวกล่าว

นายไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา กล่าวว่า 2 ปีแล้ว ที่คะแนนเฉลี่ยของผู้สมัครเข้าเรียนคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยรัฐสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่คะแนนเฉลี่ยในมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ก็ค่อนข้างสูงกว่าสาขาวิชาอื่นๆ แนวโน้มนี้สะท้อนว่าคนเก่งหันมาเรียนครูกันมากขึ้น จากการประเมินเบื้องต้นอาจเป็นเพราะเรื่องของค่าตอบแทน เงินเดือน เงินวิทยฐานะ ตลอดจนตำแหน่งที่จะสอบบรรจุเฉลี่ยปีละประมาณ 2 หมื่นอัตรา และอีก 10 ปี จะมีอัตราว่างประมาณ 2 แสนอัตรา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook