"อังกฤษ"พิมพ์หนังสือมากสุดในโลก ไฉนถูกตั้งคำถามยุคเฟื่องฟู หรือยุคการพิมพ์กำลังตาย?

"อังกฤษ"พิมพ์หนังสือมากสุดในโลก ไฉนถูกตั้งคำถามยุคเฟื่องฟู หรือยุคการพิมพ์กำลังตาย?

"อังกฤษ"พิมพ์หนังสือมากสุดในโลก ไฉนถูกตั้งคำถามยุคเฟื่องฟู หรือยุคการพิมพ์กำลังตาย?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถิติเผย ปี 2556 อังกฤษพิมพ์หนังสือเกือบ 2,875 เล่ม ต่อจำนวนประชากร 1 ล้านคน มากกว่าที่ใดในโลก ขณะที่ในปี 2557 สำนักพิมพ์ในสหราชอาณาจักร พิมพ์หนังสือมากกว่า 20 เล่ม ทุกชั่วโมง!

เดอะ การ์เดียน เผยรายงานจากสมาคมสำนักพิมพ์ระหว่างประเทศที่รวบรวมข้อมูลจาก 40 ประเทศทั่วโลก ระบุว่า ผู้จัดพิมพ์หนังสือในสหราชอาณาจักรนั้นตีพิมพ์หนังสือใหม่ และพิมพ์ว้ำหนังสือกว่า 184,000 เล่ม ในปี 2556 ในจำนวนนี้ เป็นอีบุ๊ก 60,000 เล่ม ซึ่งเท่ากับตีพิมพ์หนังสือราว 2,875 เล่ม ต่อประชากร 1 ล้านคน ทำให้สหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่มีการจัดพิมพ์หนังสือเทียบกับจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก

ทั้งนี้ ประเทศและเขตเศรษฐกิจกลุ่มที่มีการจัดพิมพ์หนังสือเกิน 1,000 เล่ม ต่อประชากร ได้แก่ ไต้หวัน, สโลวีเนีย, ออสเตรเลีย ขณะที่สหรัฐตีพิมพ์เพียง 959 เล่มต่อจำนวนประชากรเท่านั้น
ข้อมูลในอังกฤษดังกล่าวมาจาก สมาคมสำนักพิมพ์ในสหราชอาณาจักร ห้องสมุด และ ตัวแทนผู้ออกเลขเรียกหนังสือ ISBN แห่งชาติ โดยไม่ได้รวมเอาหนังสือที่มีการจัดพิมพ์อย่างอิสระมารวมด้วย

จอห์นนี เกลเลอร์ ดีลเลอร์หนังสือจากเคอร์ติส บราวน์ ระบุว่า ตัวเลขดังกล่าวนี้เป็นสัญญาณว่า อังกฤษกำลังเข้าสู่ยุคเฟื่องฟูทางวัฒนธรรม หรือไม่ก็ยุคการพิมพ์กำลังตาย เขากล่าวว่า "แน่นอนว่าเป็นเรื่องบ้าคลั่ง ที่จะพิมพ์หนังสือต่อประชากรเยอะมาก ในขณะที่โดยเฉลี่ยแล้ว คนอ่านหนังสือกันเพียง 1-5 เล่มต่อปีเท่านั้น แล้ว 184,000 เล่มที่เหลือนั้นจะกลายเป็นของใช้หรูหราที่ไร้ประโยชน์อย่างนั้นหรือ?"

ด้านเจมี่บังจากแคนนอนเกต สำนักพิมพ์อิสระ แสดงความกังวลว่า "ผมว่าเราพิมพ์หนังสือมากเกินไป รวมทั้งสำนักพิมพ์เราด้วย และมันทำให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพของอุตสาหกรรมในภาพรวม เป็นเรื่องง่ายที่เราจะเป็นเจ้าของหนังสือ แต่เป็นเรื่องยากที่เราจะพิมพ์หนังสือที่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น หนังสือยิ่งน้อยเท่าไหร่ ก็จะยิ่ง...ยิ่งดีกว่าเท่านั้น"

อย่างไรก็ตาม คนในแวดวงหนังสือหลายคนยังมองสถานการณ์นี้ในแง่บวก โรแลนด์ ฟิลิปส์ ผู้อำนวยการบริหารจากจอห์น เมอร์เรย์ ระบุว่า "สำหรับวัฒนธรรมที่หลากหลาย หนังสือนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และสำนักพิมพ์นั้นกำลังเปิดโอกาสให้ความคิดเห็นทั้งหลายที่สมควรได้รับความสนใจนั้นมาอยู่บนแผงหนังสือ แม้ว่าหลายความเห็นอาจจะไม่ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม"

ส่วนเจนน์ แอชเวิร์ธ นักเขียนเจ้าของรางวัลเบตตี้ ทรัสก์ จากหนังสือเล่มแรก "A Kind of Intimacy" เห็นด้วยว่า "หนังสือที่เพิ่มขึ้น และมีคนที่พูดคุยกันเรื่องหนังสือมากขึ้นนั้นเป็นเรื่องยอดเยี่ยม บางทีชาวอังกฤษควรจะรับฟังความเห็นมากขึ้น แทนที่จะพูด และอ่านนิยายแปลให้มากขึ้น เป็นเรื่องแย่ที่มีบรรณารักษ์ที่สามารถแนะนำผู้อ่านให้เจอหนังสือที่ยอดเยี่ยมน้อยลง แต่การที่มีคนอ่านและเขียนหนังสือมากขึ้น แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องแย่เลย"

ทั้งนี้ ในภาพรวม สหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่มีการตีพิมพ์หนังสือมากเป็นอันดับ 3 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ในยุโรป โดยประเทศจีน พิมพ์หนังสือมากเป็นอันดับ 1 โดยพิมพ์หนังสือใหม่ 444,000 เล่ม (เทียบกับจำนวนประชากรต่อ 1 ล้านคนเท่ากับ 325 เล่ม) และอันดับ 2 คือ สหรัฐฯ พิมพ์หนังสือใหม่ 304,912 เล่ม (959 เล่มต่อประชากร 1 ล้านคน)

ริชาร์ด โมเลต์ ผู้อำนวยการบริการของสมาคมสำนักพิมพ์สหราชอาณาจักรระบุว่า สหราชอาณาจักรนั้นถือว่าเป็นผู้นำในด้านการส่งออก และกำลังชิงความได้เปรียบจากการใช้ภาษาอังกฤษ ความสร้างสรรค์แบบบริติช นวัตกรรม และประวัติศาสตร์ที่แข็งแกร่งในอุตสาหกรรมการพิมพ์ เขากล่าวว่า "การพิมพ์หนังสือของอังกฤษนั้นเป็นศูนย์กลางของความสำเร็จในเรื่องอุตสาหกรรมด้านความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งแสดงถึงสภาพกฎหมายและการค้าขายในประเทศ โดยเฉพาะกฎหมายเรื่องลิขสิทธิ์ของเราที่ยิ่งส่งเสริมให้สภาวะเศรษฐกิจมีความแข็งแกร่ง"

จอห์นนี เกลเลอร์ เสริมว่า "เราอาจต้องเปลี่ยนความคิด และมองว่าอุตสาหกรรมการพิมพ์นั้นมีความสำคัญ เนื่องจากมีมูลค่าการส่งออกกว่า 1.5 พันล้านยูโร และต้องร่วมกันเรียกร้องการส่งเสริมด้านลิขสิทธิ์และภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย"

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook