คำนี้ท่านได้แต่ใดมา : Butterfly

คำนี้ท่านได้แต่ใดมา : Butterfly

คำนี้ท่านได้แต่ใดมา : Butterfly
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คอลัมน์ คำนี้ท่านได้แต่ใดมา
ผู้เขียน สุกิจ กิตติบุญญานนท์ (I Get English Magazine)

Butterfly

ความหมายของคำว่า "Butterfly" แน่นอนครับว่าไม่ใช่ "เนยบิน" หรือ "เนยเหาะ" แต่เป็น "ผีเสื้อ"ที่มีสีสันหลากหลายให้เราได้พบเห็นตามธรรมชาติที่มาของคำว่า "Butterfly" นั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 ตำนานที่อธิบายที่มาของคำคำนี้ และทั้ง 2 ตำนานที่ว่านั้นก็เกี่ยวข้องกับ "เนย" หรือ "Butter" ทั้งหมดครับ


ตำนานแรกกล่าวไว้ว่า นอกจากผีเสื้อจะกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้เป็นอาหารหลักแล้ว ผีเสื้อนั้นยังชอบมาบินฉวัดเฉวียนในบ้านของชาวยุโรปในสมัยก่อนตรงบริเวณที่มีนมและเนย อาจเป็นเพราะบริเวณดังกล่าวมีผีเสื้อชุกชุมแต่กลับไม่มีน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ที่มากเพียงพอจะรองรับความหิวโหยของผีเสื้อได้ ผีเสื้อเองจึงต้องจำยอมเป็นเปลี่ยนเมนูอาหารของตนเองจากเดิมที่เป็นนำ้หวานจากเกสรดอกไม้มาเป็นเนยเพื่อความอยู่รอดแม้ว่าแขนและขาของผีเสื้อจะไม่กำยำ แต่ด้วยความสามารถพิเศษในการฉกเนยอย่างว่องไว ทำให้ผีเสื้อสามารถที่จะขโมยเนยไปในจำนวนชิ้นเล็กชิ้นน้อยพร้อมกับเร่งเครื่องแล้วบินหนีไป ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้คนยุโรปในยุคโบราณที่ได้เห็นผีเสื้อขโมยเนยไปต่อหน้าต่อตา จึงขนานนามผีเสื้อว่า "Butterfly" พร้อมกับความเชื่อที่ว่าผีเสื้อคือแม่มดที่แปลงกายมาเพื่อขโมยเนยซึ่งเป็นอาหารหลักของพวกเขานั่นเองครับ


อีกตำนานหนึ่งนั้น ไม่ได้เชื่อว่าผีเสื้อเป็นแก๊งหัวขโมยเหมือนในตำนานแรก แต่อาจจะด้วยความช่างสังเกตและการจินตนาการขั้นเทพของมนุษย์เรานั่นเองครับ ที่พอเห็น "อึ" ของผีเสื้อมีลักษณะคล้าย"เนย" ก้อนหนึ่ง (ในความเป็นจริงคงมีไม่กี่คนที่เคยเห็นอึของผีเสื้อ) แถมยังเป็นแมลงที่บินไปไหนมาไหนได้ จึงขนานนามผีเสื้อไปตรงๆ เลยว่า "เนยบิน"หรือ "Butterfly" ซึ่งความเชื่อตามตำนานที่สองนี้ก็มีนักภาษาศาสตร์ฝั่งยุโรปให้การสนับสนุนอยู่พอสมควรครับ เพราะเมื่อขุดตำ นานของคำวา่ Butterflyแล้ว พบว่ามาจากภาษาอังกฤษโบราณซึ่งยืมคำมาจากภาษาดัตช์อีกทอดหนึ่ง โดยภาษาดัตช์เรียกผีเสื้อว่า "Boterschijte" โดยเฉพาะคำหลังที่ว่า"Schijte" นั้น ช่างมีความละม้ายคล้ายคลึงกับคำว่า "Shit" ในภาษาอังกฤษที่แปลว่า "อึ" นั่นเองครับ


แม้ว่าภาษาไทเราจะเรียกผีเสื้อซะน่ากลัวแต่หลายครั้งในนิยายรักของกวีตะวันออก ก็มักยกย่องผีเสื้อให้เป็นตัวแทนแห่งความรัก ซึ่งแตกต่างจากความเชื่อของชาวตะวันตกที่ว่าผีเสื้อนั้นคือแม่มดที่แปลงกายมาตามตำนานแรก เช่น ความเชื่อของชาวญี่ปุ่นและชาวจีนที่เชื่อว่าผีเสื้ออาจจะหมายถึงการได้พบเจอคนรักหรือความรักที่สมหวังในภาษาอังกฤษยังมีคำลักษณะนี้อีกมากมายใหเ้ ห็นอย่คู รับ เช่น "Ladybird" หรือ "เต่าทอง" เราเองคงไม่สามารถแปลตรงตัวได้ว่า "นกสุภาพสตรี"ในโอกาสต่อๆ ไปเราคงจะได้มาสำรวจแมลงใน"คำนี้ท่านได้แต่ใดมา" บ่อยครั้งขึ้นครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook