ครม.เก็บภาษีเงินได้โรงเรียนกวดวิชา

ครม.เก็บภาษีเงินได้โรงเรียนกวดวิชา

ครม.เก็บภาษีเงินได้โรงเรียนกวดวิชา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยว่าจากการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักศธ.เมื่อเร็วๆ นี้ได้มีการรายความคืบหน้าการดำเนินการจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน(สช.) ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ครม.เก็บภาษีเงินได้โรงเรียนกวดวิชาครม.เก็บภาษีเงินได้โรงเรียนกวดวิชา

อาทิ กระทรวงการคลัง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วและยืนยันให้มีการจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาทุกแห่งซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 2,000 กว่าแห่งทั่วประเทศและจะแบ่งประเภทการจัดเก็บภาษีเงินได้เป็น ประเภทบุคคลธรรมดา และประเภทนิติบุคคล

ทั้งนี้เมื่อมีการจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาแล้วจะมีการพิจารณาลดหย่อนภาษีให้โรงเรียนกวดวิชาเหล่านี้แทนการยกเว้นภาษีเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนพ.ศ.2550มาตรา48(4)ที่ได้กำหนดให้มีการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้ของผู้รับใบอนุญาตฯซึ่งมาตรการลดหย่อนภาษีนี้จะทำให้ไม่ให้ขัดแย้งกับพ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนฯ

ปลัดศธ. กล่าวต่อว่าการจัดเก็บและการลดหย่อนภาษีในอัตราเท่าไรนั้นทางกรมสรรพากรจะไปพิจารณาโดยเฉพาะมาตรการลดหย่อนจะลดหย่อนได้กี่เท่าอาจจะสองเท่าหรือสามเท่าให้กับโรงเรียนกวดวิชาทีมีการทำกิจกรรมเพื่อประโยชน์สังคมกิจกรรมเพื่อการกุศลหรือสาธารณประโยชน์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

โดยในสัปดาห์หน้าสช.จะเสนอเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบในเรื่องนี้ต่อไปแต่พล.ร.อ.ณรงค์พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการศธ.ได้เสนอแนะว่าการแก้ปัญหากวดวิชาต้องแก้ที่ต้นตอโดยควรมีการพัฒนาการเรียนการสอนและจะมอบให้สช.ไปพิจารณาในภาพรวมของโรงเรียนกวดวิขาด้วยเพื่อแก้ปัญหาการกวดวิชา

ด้านนายอมรวิชช์นาครทรรพผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการศธ. เปิดเผยว่า โจทย์ที่ใหญ่กว่าการจัดเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาคือทำอย่างไรที่จะลดปริมาณการกวดวิชาลง ซึ่งเป็นปัญหาพัวพันมานานหลายทศวรรษและต้องแก้เป็นระบบ ทั้งการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียน ความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพศึกษา การวัดและประเมินผลในโรงเรียน รวมถึงระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าสถาบันอุดมศึกษา

ยกตัวอย่างเช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งนักศึกษากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ มาจากระบบโควต้าที่พิจารณาเพียงแค่เกรดเฉลี่ยและการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่ต่างจากเด็กที่มาจากระบบแอดมิสชั่นส์ฉะนั้นจึงพิสูจน์ได้ว่าการดูคนอย่าดูเพียงแค่คะแนนสอบแต่ให้ดูที่ศักยภาพ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook