มาทำความรู้จักกับ Education 2.0 กัน

มาทำความรู้จักกับ Education 2.0 กัน

มาทำความรู้จักกับ Education 2.0  กัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การศึกษาของประเทศไทยและอีกหลายๆประเทศพัฒนามาในยุคอุตสาหกรรม ที่มีการผลิตแบบอุตสาหกรรม แนวความคิดหลายอย่างจึงปลูกฝังและหยั่งรากลึกลงไป โดยการศึกษาในยุคนี้ เน้นโรงเรียน เหมือนโรงงานอุตสาหกรรม มีการผลิตแบบจำนวนมาก

นักเรียนเป็นผลผลิตที่จะต้องผลิตโดยเน้นที่จำนวน ในห้องเรียนแต่ละห้องหรือแต่ละโรงเรียนก็มีเด็กนักเรียนจำนวนมาก นักเรียนจึงเหมือนสินค้า ที่ต้องมีสเปค หรือหลักสูตรกำกับ มีการวางกรอบหลักสูตรไว้อย่างชัดเจน มีการทดสอบ ให้ใบรับรองหรือประกาศนียบัตร หรือปริญญา กับผู้เรียน ซึ่งเหมือนการรับประกันสินค้า ชื่อสถาบันการศึกษาเหมือนแบรนด์เนมมีการแย่งกันเข้าศึกษาในสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง

การศึกษาจึงสร้างบนพื้นฐานการสอน และเป็นการสอนแบบป้อนให้นักเรียนเป็นหลัก ไม่ได้เน้นกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน การสร้างระบบการศึกษารูปแบบใหม่จึงต้องให้ความสำคัญของการเรียนรู้มากกว่าการสอน หรือการสร้างระบบการเรียนรู้เสริมการเรียนรู้แบบเก่า

เช่น ระบบสนับสนุนการเขียนการอ่านดิจิตอล การนำเสนอ การทำรายงาน หรือการสร้างกิจกรรมสร้างสรรค์ การคิด การแก้ปัญหา การเข้าสังคม การทำงานร่วมกัน รวมถึงส่งเสริมสนับสนุนในกิจกรรมทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม

มาทำความรู้จักกับ Education 2.0  กันมาทำความรู้จักกับ Education 2.0 กัน


การสร้างกระบวนการเรียนรู้ใหม่ตามที่เสนอในบล็อกของคิวบิกที่เป็นแนวทางในการปรับระบบการศึกษาให้เข้าสู่การศึกษา Education 2.0 จึงเกี่ยวโยงกับเรื่องต่อไปนี้

1. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องคำนึงถึงความเฉพาะตัวตน (individual person) เพราะทุกคนมีพื้นฐาน และความรู้ ภูมิหลัง ความสนใจ ความคิด ความฉลาด วัฒนธรรม ภาษา หรือแม้แต่ระดับทางสังคมที่แตกต่างกัน การศึกษาตามแนวคิดใหม่นี้จึงต้องปรับให้เข้ากับตัวตน และความเหมาะสมของบุคคล

2. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องคำนึงถึงความสามารถ และพรสวรรค์ ความเก่งเฉพาะด้านของผู้เรียน โดยไม่เน้นเฉพาะด้านวิชา ความรู้ แต่ต้องให้ความสำคัญของจิตวิญญาณและความเป็นมนุษย์ ตัวอย่างที่พบเห็นคือ เวลาเหมือนน้อยนิด ถ้าผู้เรียนชอบ และสนใจ สนุกสนาน แต่จะรู้สึกว่าเวลาช่างยาวนาน ถ้าอยู่กับสิ่งที่ตนเองไม่ชอบ ดังนั้นการศึกษาต้องดึงเอาความสามารถเฉพาะของบุคคลออกมาได้

3. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องคำนึงถึงบรรยากาศทางดิจิตอลที่อยู่รอบๆตัว ข้อมูลข่าวสารมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความรู้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วไปตามกาลเวลา ระบบใหม่ต้องไม่เน้นมุ่งไปที่การถ่ายทอดความรู้เข้าสู่ผู้เรียน แต่ให้ความสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ

4. เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ต้องคำนึงถึงว่า ความรู้จะไม่มีประโยชน์เลยถ้านำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ไม่ได้ การศึกษาต้องพัฒนาประสบการณ์ให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์กับตนเอง สังคม ประเทศชาติ และโลกในที่สุด

5. กระบวนการเรียนรู้แบบใหม่นี้ต้องมีส่วนที่ดำเนินการร่วมกับระบบเก่าได้ Partially compatible ต้องเข้าใจแนวคิดทางวิศวกรรมที่ว่า การทำหรือออกแบบให้มีส่วนที่ทำให้ผู้ใช้อยู่เดิมมาใช้กับระบบใหม่นี้ได้ทันที สำหรับระบบการศึกษาใหม่สามารถนำผู้ใช้เดิมมาใช้ได้ มีวิธีการประเมินหรือดูผลได้ หรือให้ผลผลิตที่เกิดขึ้นเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ และตรงกับความต้องการที่จะนำบุคลากรไปใช้ เหมือนการสร้างซอฟต์แวร์ที่ต้องปรับปรุงและเพิ่มขีดความสามารถให้สูงขึ้นได้ตลอดเวลา โดยที่เข้ากับระบบเก่าได้เสมอ ผู้ใช้งานในเวอร์ชั่นต่ำกว่าจะเข้าสู่ระบบใหม่โดยไม่มีปัญหา

6. กระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ต้องทำให้มีประสิทธิภาพเชิงการลงทุน มีต้นทุนต่ำ ระบบการศึกษาเดิมมีราคาค่อนข้างแพง ระบบการศึกษาใหม่ต้องมีต้นทุนที่ถูกจนใครๆก็สามารถเข้าถึงได้ หรือคนส่วนใหญ่เข้าถึงได้ เรียนได้

7. กระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ต้องเกี่ยวโยง หรือสัมพันธ์ ทำงานร่วมกับระบบการจัดการชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่นเดียวกับ เรื่องของการเมือง เศรษฐกิจ ศาสนา หรือแม้แต่เรื่องสาธารณะสุข โดยใช้ระบบเหล่านี้เพื่อเป้าหมายความสุขของมนุษย์ การศึกษาต้องตอบโจทย์ในเรื่องเป้าหมาย ชีวิต ความเป็นอยู่


กระบวนการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญในการพัฒนามนุษย์ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เพื่อการดำรงชีพที่ดีขึ้นของสังคม ไม่ใช่การศึกษาที่มุ่ง เนื้อหา หลักสูตร โดยไม่ทราบเป้าหมายว่าเรียนไปเพื่ออะไร
จึงอยากให้มองการศึกษาไทย ให้เหมือนการพัฒนาซอฟต์แวร์

ที่นับวันจะมีความซับซ้อนในระบบ การเข้าไปรื้อระบบ มีแต่จะทำให้เกิดความสับสนวุ่นวาย การศึกษาจึงต้องปรับด้วยการดำเนินการเหมือน การสร้างซอฟต์แวร์ การปรับปรุง การสร้างเวอร์ชั่นใหม่ และนี่เองเป็นแนวคิด ของ Education 2.0

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook