10 มหาวิทยาลัยไทย ติดอันดับ QS World University Rankings by Subject 2015

10 มหาวิทยาลัยไทย ติดอันดับ QS World University Rankings by Subject 2015

10 มหาวิทยาลัยไทย ติดอันดับ QS World University Rankings by Subject 2015
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เว็บไซต์ www.topuniversities.com ของ QS Quacquarelli Symonds Ltd ได้มีการประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกรายสาขาวิชาประจำปีนี้ที่เรียกว่า QS World University Rankings by Subject 2015 ใน 36 สาขาวิชา ปรากฏผลที่น่าสนใจ ดังนี้

10 มหาวิทยาลัยไทย ติดอันดับ QS World University Rankings 10 มหาวิทยาลัยไทย ติดอันดับ QS World University Rankings

มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับ Top 10 ส่วนใหญ่ยังเป็นlสถาบันในกลุ่ม Top 10 ของโลกในภาพรวม (ตามจำนวนสาขาวิชา) ดังนี้

University of Cambridge (31), University of Oxford (29), Stanford University (29) Harvard University (28), University of California, Berkeley (26), MIT (19), London School of Economics & Politics (11), Princeton University (10), UCLA (10), Yale University (9), UCL (6), Caltech (5), Columbia (5)

ประเทศในกลุ่มอาเซียน (ASEAN) มี 5 ประเทศที่ได้รับการจัดอันดับรายสาขาวิชาในครั้งนี้ (ตามจำนวนสาขาวิชา) ได้แก่ Singapore (33), Malaysia (26), Thailand (19), Philippines (8) และ Indonesia (6)

ประเทศไทยมีสถาบันที่ได้รับการจัดอันดับไม่เกินอันดับที่ 400 ของโลก ได้แก่

Chulalongkorn University (CU), Mahidol University (MU), Chiang Mai University (CMU), Kasetsart University (KU), Prince of Songkla University (PSU), Thammasat University (TU), Asian Institute of Technology (AIT), King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang และ King Mongkut's University of Technology Thonburi (KMUTT) รวม 19 สาขาวิชา ดังนี้

10 มหาวิทยาลัยไทย ติดอันดับ QS World University Rankings10 มหาวิทยาลัยไทย ติดอันดับ QS World University Rankings

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อันดับ 51-100 จำนวน 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Agriculture & Forestry (เกษตรศาสตร์และวนศาสตร์) , สาขาวิชา Modern Languages (ภาษาร่วมสมัย) , สาขาวิชา Chemical Engineering (วิศวกรรมเคมี) , สาขาวิชา Architecture (สถาปัตยกรรมศาสตร์)

อันดับ 101-150 จำนวน 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Linguistics (ภาษาศาสตร์) , สาขาวิชา Pharmacy & Pharmacology (เภสัชศาสตร์และเภสัชวิทยา) , สาขาวิชา Environmental Sciences (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม) , สาขาวิชา Business & Management (บริหารธุรกิจและการจัดการ)

อันดับ 151-200 จำนวน 7 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา CiviI & Structural Engineering (วิศวกรรมโยธา) , สาขาวิชา Electrical & Electronic Engineering (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์) , สาขาวิชา Mechanical, Aeronautical & Manufacturing Engineering (วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมการบิน วิศวกรรมการผลิต) , สาขาวิชา Biological Sciences (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) , สาขาวิชา Medicine (แพทยศาสตร์) ,สาขาวิชา Chemistry (เคมี) , สาขาวิชา Accounting & Finance (บัญชีและการเงิน)

อันดับ 201-250 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Computer Science (วิทยาการคอมพิวเตอร์)

อันดับ 301-400 จำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Mathematics (คณิตศาสตร์) , สาขาวิชา Physics & Astronomy (ฟิสิกส์และดาราศาสตร์)

มหาวิทยาลัยมหิดล

อันดับ 51-100 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Medicine (แพทยศาสตร์)

อันดับ 101-150 จำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Biological Sciences (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) , สาขาวิชา Pharmacy & Pharmacology (เภสัชศาสตร์และเภสัชวิทยา)

อันดับ 201-250 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Modern Languages (ภาษาร่วมสมัย)

อันดับ 301-400 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Chemistry (เคมี)

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อันดับ 151-200 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Medicine (แพทยศาสตร์)

อันดับ 251-300 จำนวน สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Modern Languages (ภาษาร่วมสมัย)

อันดับ 301-400 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Biological Sciences (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ)

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)

อันดับ 151-200 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา CiviI & Structural Engineering (วิศวกรรมโยธา) , สาขาวิชา Environmental Sciences (วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม)

อันดับ 251-300 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Electrical & Electronic Engineering (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์)

อันดับ 301-400 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Computer Science (วิทยาการคอมพิวเตอร์)

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อันดับ 151-200 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Business & Management (บริหารธุรกิจและการจัดการ)

อันดับ 201-300 จำนวน สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Modern Languages (ภาษาร่วมสมัย)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อันดับ 39 สาขาวิชา Agriculture & Forestry (เกษตรศาสตร์และวนศาสตร์)

อันดับ 301-400 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Biological Sciences (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ)

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

อันดับ 151-200 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Agriculture & Forestry (เกษตรศาสตร์และวนศาสตร์)

อันดับ 301-400 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Medicine (แพทยศาสตร์)

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
อันดับ 251-300 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Electrical & Electronic Engineering (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

อันดับ 201-300 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Electrical & Electronic Engineering (วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์)

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อันดับ 301-400 จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชา Medicine (แพทยศาสตร์)

โดยในการจัดอันดับรายสาขาวิชาโดย QS ครั้งนี้ ยังคงใช้เกณฑ์การพิจารณาเช่นเดียวกันกับปีที่ผ่านมา แต่เพิ่มจำนวนสาขาวิชาขึ้นมาอีก 6 สาขาวิชา (Business & Management, Art & Design, Architecture, Dentistry, Development Studies และ Veterinary Science ) รวมเป็น 36 สาขาวิชา

ในส่วนของตัวชี้วัดด้าน Academic Reputation มีนักวิชาการจากทั่วโลก 85,062 คน ให้ความเห็น ในขณะที่ด้าน Employer Reputation มีความเห็นจากผู้ประกอบการหรือผู้จ้างงาน 41,910 คน โดยคะแนนในส่วนของผลงานวิจัย ได้จากการวิเคราะห์ผลงานตีพิมพ์กว่า 17.3 ล้านฉบับ จากฐานข้อมูลของ Scopus/Elsevier ทั้งนี้ผู้ที่สนใจ สามารถดูรายละเอียดได้ที่

Web Link : http://www.topuniversities.com/subject-rankings

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook