อาจารย์ มศว.เผย เด็กรุ่นใหม่เครียดจากการเรียนสูง แนะรับฟัง-ชี้ทางให้เด็กคิดเอง

อาจารย์ มศว.เผย เด็กรุ่นใหม่เครียดจากการเรียนสูง แนะรับฟัง-ชี้ทางให้เด็กคิดเอง

อาจารย์ มศว.เผย เด็กรุ่นใหม่เครียดจากการเรียนสูง แนะรับฟัง-ชี้ทางให้เด็กคิดเอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

(7 ส.ค.58) ผศ.ดร.พรทิพา บรรทมสินธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) เปิดเผยถึงสาเหตุความเครียดของวัยรุ่นยุคนี้ว่า แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เครียดจากการเรียนและกลุ่มที่เครียดจากภาวะเศรษฐกิจควบคู่กับการเรียน โดยเด็กกลุ่มหลังควรได้รับการช่วยเหลือจากสถาบันการศึกษาไม่ว่าจะเป็นการมอบทุนการศึกษา หรือดูแลสภาพจิตใจ เพื่อแบ่งเบาภาระบางส่วน ให้เด็กมีความพร้อมที่จะศึกษาต่อไป ส่วนเด็กอีกกลุ่มที่ไม่มีปัญหาทางด้านการเงิน จะเครียดเรื่องการเรียนรวมไปถึงเรื่องส่วนตัว ทั้งเรื่องความรัก ครอบครัว หรือเพื่อนโดยจะเครียดเป็นช่วงๆ เป็นความเครียดที่สามารถจัดการเองได้ แต่หากปัญหาเหล่านั้นมีความรุนแรงเกินกว่าที่เด็กจะรับไหวการให้คำปรึกษาแก่เด็กจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เด็กผ่านพ้นปัญหาเหล่านั้นได้โดยวิธีการให้คำปรึกษานั้นไม่ควรตำหนิในเรื่องที่เด็กทำผิดแต่ควรรับฟังและให้คำแนะนำเพื่อให้เด็กได้นำไปคิด และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองสิ่งสำคัญต้องมีวิธีการพูดและเข้าถึงเด็กๆ ให้ได้

ผศ.ดร.พรทิพา กล่าวอีกว่า ความเครียดของวัยรุ่นส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการศึกษาทั้งกลุ่มเด็กที่พ่อแม่ส่งเรียนและกลุ่มต้องหาเงินเรียนเอง แต่ในอนาคตคาดว่าเด็กกลุ่มที่ต้องหาเงินเรียนเองจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและระบบสังคม พ่อแม่ไม่อยากรับผิดชอบในตัวลูกอย่างเดียว เด็กจึงต้องมีหน้าที่ในการดูแลรับผิดชอบชีวิตตัวเองมากขึ้นซึ่งนักจิตวิทยาทั้งในโรงเรียน และมหาวิทยาลัยจะต้องเข้ามาดูแลเด็กกลุ่มนี้ให้มากขึ้นเด็กเห็นว่าเด็กจะมี วิธีคิดแก้ปัญหาและนิสัยส่วนตัวที่ทำให้เขาสามารถแก้ปัญหาตัวเองได้มากน้อยไม่เท่ากันต่อแต่นี้ไป เศรษฐกิจจะเป็นตัวบังคับเด็กรุ่นใหม่เพราะเงินเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินชีวิตปัจจุบัน โดยเฉพาะการดำเนินชีวิตในกรุงเทพฯที่เงินเข้ามามีส่วนในการแบ่งชนชั้นทางสังคม

นอกจากนี้ ผศ.ดร.พรทิพา ยังกล่าวชี้ว่า แนวทางการช่วยเหลือจากสถาบันจากศึกษาคือ การให้ทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนซึ่งแน่นอนว่ามันไม่ครอบคลุมปัญหาทั้งหมดเพราะเด็กที่ยากจนแต่เรียนไม่ดีก็ไม่สามารถขอทุนการศึกษาได้แต่เขามีความจำเป็นที่จะต้องหาทุนเพื่อต่อยอดทางการศึกษากลุ่มนี้จะเป็นเด็กที่ทีความเครียดสูง ทั้งภาระการเงิน และการศึกษา อีกกลุ่มคือกลุ่มที่ไม่มีภาระด้านการเงิน เด็กกลุ่มนี้จะเครียดเรื่องไม่วางแผนเรื่องการเรียน เกิดความเครียดเป็นช่วงๆเช่น ช่วงใกล้สอบ อีกกลุ่มที่แยกออกมาจากกลุ่มนี้คือกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องส่วนตัว การให้คำปรึกษาเมื่อรับรู้ปัญหาของเด็กคือไม่ควรตำหนิเพราะเด็กรุ่นใหม่ไม่ชอบการถูกตำหนิ แต่ควรให้แนวคิดเพื่อให้เด็กได้คิดต่อ หากต้องการว่ากล่าวตักเตือนควรใช้การให้เหตุผลและควรพูดทันทีเมื่อเด็กทำผิด ไม่ควรปล่อยปัญหาไว้นานเพราะจะไม่ได้ผล และการจะพูดกับเด็กควรใช้คำสั้นๆอย่าพูดยาวแบบเยิ่นเย้อ เพราะจะเข้าไม่ถึงเด็กๆ เด็กจะเบื่อและไม่สนใจ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook