สั่ง สทศ.เริ่มสอบอัตนัย นำร่องวิชาภาษาไทย ป.6 ปีการศึกษา 59

สั่ง สทศ.เริ่มสอบอัตนัย นำร่องวิชาภาษาไทย ป.6 ปีการศึกษา 59

สั่ง สทศ.เริ่มสอบอัตนัย นำร่องวิชาภาษาไทย ป.6 ปีการศึกษา 59
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังเดินทางตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายเรื่องการประเมินการศึกษาของสทศ. โดยมีนายสัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสทศ. ให้การต้อนรับ ว่า จากการหารือกับนายสัมพันธ์ ถึงเรื่องกาจัดสอบประเมินผลต่าง ๆ ของสทศ. ทำให้ทราบว่า ข้อสอบที่ออกโดยสทศ. มีมาตรฐานพอสมควร

แต่ขณะเดียวกันเด็กยังมีปัญหาอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ คิดไม่เป็น จึงมีคำถามว่าจะทำอย่างไร ที่จะทำให้ระบบการทดสอบเข้ามามีส่วนช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวด้วย ดังนั้นตนจึงมีนโยบายให้สทศ.ปรับข้อสอบแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานหรือโอเน็ต โดยเพิ่มข้อสอบอัตนัยให้มากขึ้นเพราะข้อสอบอัตนัยจะทำให้สามารถวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กได้ ซึ่งการปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะนำมาใช้ในการสอบโอเน็ต ปีการศึกษา 2559 ที่จะจัดสอบในช่วงต้นปี 2560 โดยจะนำร่องกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาภาษาไทย ในสัดส่วนไม่เกิน 20% ของคะแนนสอบทั้งหมด

"ที่ผ่านมาสทศ.ตกเป็นจำเลยของสังคมและถูกร้องเรียนมาตลอดว่า ข้อสอบที่ออกโดยสทศ.ไม่มีมาตรฐาน และไม่ยุติธรรม แต่ผมเห็นว่าสทศ.จะต้องจัดสอบทดสอบต่อไปเพราะเป็นสถาบันทดสอบระดับชาติ เพียงแต่ต้องปรับข้อสอบให้สามารถวัดผลประเมินผลได้ตามความสามารถที่แท้จริงของเด็ก ขณะเดียวกัน หวังว่าการปรับมาใช้ข้อสอบอัตนัยครั้งนี้จะทำให้โรงเรียนและทุกภาคส่วน แม้แต่ศธ.เองก็ต้องปรับวิธีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการทดสอบด้วย ซึ่งทั้งหมดต้องใช้เวลาจึงจะเกิดการพัฒนา และแน่นอนในช่วงแรกว่าสังคมอาจจะเกิดความกังวลในเรื่องความเป็นธรรมในการตรวจข้อสอบ ซึ่งสทศ.จะต้องพัฒนาผู้ตรวจข้อสอบให้สามารถตรวจข้อสอบได้อย่างมีมาตรฐานและเป็นธรรม ขณะที่โรงเรียนเองก็จะต้องพัฒนาการเรียนการสอนรวมถึงพัฒนาครูในเรื่องการประเมินผลให้ได้มาตรฐานตามไปด้วย"นพ.ธีระเกียรติ กล่าว

ส่วนที่ให้เริ่มใช้ข้อสอบอัตนัยกับเด็กชั้นป.6 วิชาภาษไทย ก่อนเพราะต้องการแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออกออกเขียนไม่ได้ ซึ่งควรจะเริ่มตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ส่วนที่ยังไม่ใช้กับเด็กระดับมัธยมศึกษาหรือใช้ในข้อสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเพราะเห็นว่าเป็นการไม่ยุติธรรมอาจจะทำให้เกิดผลกระทบอย่างมาก เพราะเด็กไม่เคยสอบด้วยข้อสอบอัตนัยเลยจึงอาจไม่คุ้นเคย แต่ในอนาคตหากการใช้ข้อสอบอัตนัยเกิดผลดีในการพัฒนาการศึกษา สทศ.จะทยอยเพิ่มสัดส่วนคะแนนและขยายการจัดสอบในรายวิชาอื่น ๆ เพิ่มขึ้น

ขอขอบคุณภาพจาก : http://www.ojsat.or.th/

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook