วันเลิกทาส 1 เมษายน ของทุกปี ประวัติความเป็นมาของวันเลิกทาส

วันเลิกทาส 1 เมษายน ของทุกปี ประวัติความเป็นมาของวันเลิกทาส

วันเลิกทาส 1 เมษายน ของทุกปี ประวัติความเป็นมาของวันเลิกทาส
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

1 เมษายน ของทุกปี วันเลิกทาส

ใครๆ ก็ต่างคิดกันว่าวันที่ 1 เมษายน ของทุกปีจะเป็นวันที่ทุกคนต่างเล่นพูดโกโหกกันอย่างสนุกสนานนั่นก็คือวัน "วันโกหก" หรือ April Fool Day แต่คนส่วนน้อยนั้นที่จะรู้ว่าวันที่ 1 เมษายนนี้เป็นวันสำคัญของคนไทยอีกวันหนึ่ง นั่นก็คือ "วันเลิกทาส"

ซึ่งในปีนี้ วันเลิกทาส ตรงกับวันเสาร์ที่ 1 เมษายน 2566 หลายคนคงอยากจะรู้ว่า วันเลิกทาส นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร Sanook Campus ไปสืบเสาะหาข้อมูลความเป็นมาของวันเลิกทาสมาให้เพื่อนๆ ได้รู้กัน

การเลิกทาส และ การเลิกไพร่ เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นการยกเลิกระบบที่คนชั้นสูงตั้งขึ้น เพื่อกดขี่ราษฎรให้ทำงานรับใช้หรือส่งทรัพย์สินให้โดยไม่มีกำหนดว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด

ประวัติความเป็นมาของวันเลิกทาส

เล่าว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประกาศใช้ "พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124″ และ "พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหาร รัตนโกสินทร์ศก 124″ เนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเมืองไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมืองของประเทศ เนื่องจากพ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ต้องตกเป็นทาสต่อไป ทาสนั้นจะต้องหาเงินมาไถ่ตัวเอง มิฉะนั้นแล้วก็จะต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต เพราะตามกฎหมายถือว่ายังมีค่าตัวอยู่

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศ "พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย" เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 แก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่ โดยให้ลดค่าตัวทาสลงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จนกระทั่งหมดค่าตัวเมื่ออายุได้ 20 ปี เมื่ออายุได้ 21 ปี ผู้นั้นก็จะเป็นอิสระ

เมื่อถึง พ.ศ. 2448 ก็ทรงออก "พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124" ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไทเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2448 ส่วนทาสประเภทอื่นที่มิใช่ทาสในเรือนเบี้ย ทรงให้ลดค่าตัวเดือนละ 4 บาท นับตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2448 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติป้องกันมิให้คนที่เป็นไทแล้วกลับไปเป็นทาสอีก และเมื่อทาสจะเปลี่ยนเจ้าเงินใหม่ ห้ามมิให้ขึ้นค่าตัว

การเลิกไพร่

หมอสมิธ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไซแอมรีโพซิตอรี่ ได้เขียนบทความเพื่อตำหนิรัฐบาลสยามอย่างรุนแรง ด้วยเห็นว่า ในบรรดาประเทศที่มีความเจริญแล้วทั้งหลาย ไม่ว่าจะพระเจ้าแผ่นดินก็ดี เหล่าขุนนางก็ดี ไม่มีสิทธิ์ที่จะเกณฑ์แรงงานราษฎรที่เสียภาษีอาการโดยไม่ให้อะไรตอบแทน เนื่องจากในสมัยนั้น คนที่เป็นไพร่เข้ารับราชการโดยที่ไม่ได้รับค่าตอบ ทั้งยังต้องออกค่าใช้จ่ายเองทุกอย่างในระหว่างที่รับราชการ อาทิ ค่าเดินทาง ค่าอาหารเป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีเหล่าคนไทยหนุ่ม มีความคิดอยากให้เลิกขนบไพร่ บางส่วนก็ออกมาแสดงความคัดค้านที่รัฐบาลสักเลกในฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ทำให้การทำนาได้รับความเสียหาย

ขนบไพร่ในสมัยนั้นได้บังคับให้ราฎรที่มีอายุตั้งแต่ 15 - 16 ปี ไปจนถึง 70 ปี ต้องเข้าทำงานรับใช้ หรือส่งส่วยให้แก่เจ้านายชนชั้นปกครอง โดยแบ่งออกเป็น ไพร่หลวง ไพร่สม และไพร่ส่วย โดยที่มีกำหนดรับราชการแบบเดือนเว้นเดือน ในสมัยอยุธยาปีละ 6 เดือน จากนั้นลดลงมาเหลือปีละ 4 เดือนในสมัยรัชกาลที่ 1 และเหลือ 3 เดือนในสมัยรัชกาลที่ 2 หากใครที่อยากรับราชการก็ต้องจ่าย ค่าราชการ เดือนละ 6 บาท จากนั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้กราบทูลเสนอความคิดเห็นว่า ควรให้ราษฎรเสียค่าราชการจากเดือน เป็นปีละ 6 บาทเท่าๆ กัน อีกทั้งให้งดการเกณฑ์แรงชั่วคราว แต่ให้เปลี่ยนเป็นวิธีเกณฑ์จ้างแทน

1 เมษายน ของทุกปี วันเลิกทาส1 เมษายน ของทุกปี วันเลิกทาส

อ่านข้อมูลวันเลิกทาสเพิ่มเติม https://guru.sanook.com/28057/ 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook