NEW Business DNA เรียนรู้จากประสบการณ์จริง กับรุ่นพี่ DPU สำเร็จได้ ...แค่...“เริ่มต้น”

NEW Business DNA เรียนรู้จากประสบการณ์จริง กับรุ่นพี่ DPU สำเร็จได้ ...แค่...“เริ่มต้น”

NEW Business DNA เรียนรู้จากประสบการณ์จริง กับรุ่นพี่ DPU สำเร็จได้ ...แค่...“เริ่มต้น”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

          ไม่ว่าจะเลือกมหาวิทยาลัยใด หรือสนใจจะเรียนมุ่งไปทำอาชีพอะไร แต่แท้จริงแล้วความสำเร็จเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อและทุกรูปแบบ และเป็น“มากกว่า”ที่คุณคิดไว้ ขอแค่มีความรู้และลงมือทำอย่างจริงจัง เหมือนกับรุ่นพี่จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อยเหล่านี้ 

          รูปร่างหน้าตา อาจทำให้เธอเข้าใกล้ความสำเร็จได้ไม่ยากนัก แต่สำหรับ สาว “ยอดขวัญ สิงห์สวัสดี” มีมากกว่านั้นคือความเก่ง เพราะได้เรียนรู้ธุรกิจจากประสบการณ์จริงที่ธุรกิจบัณฑิตย์  โดยได้เป็นเจ้าของ  Bananafinn ที่ดังไปไกลถึงต่างประเทศ ภายใต้บริษัท มาดามสแนค โดยจุดเริ่มต้นธุรกิจนี้มาจากห้องเรียน  ตอนศึกษาอยู่คณะนิเทศศาสตร์ชั้นปีที่ 3 เท่านั้น ก่อนจะมาเป็นธุรกิจมั่นคงเช่นทุกวันนี้

   

          ยอดขวัญพูดถึงจุดเริ่มต้นของ Bananafinn ว่า เริ่มมาจากโครงการเล็กๆในมหาวิทยาลัย จนพัฒนากลายเป็นธุรกิจจริงๆที่สร้างรายได้หลังเรียนจบ

          “จากโครงการเล็กๆ ในวันนั้น แต่วันนี้ก็ได้ขยายจนกลายเป็นธุรกิจส่งออก มันเริ่มจากตอนที่เรายังเรียนอยู่นั้นมีโครงการ “เถ้าแก่น้อย” เรากับเพื่อนเลยทำกล้วยฉาบโดยเพิ่มความพิเศษด้วยการคลุกผงปรุงรสจนกลายเป็นกล้วยฉาบรสชีส รสบาร์บิคิว รสสาหร่าย ผลตอบรับดีมาก และขายหมดภายใน 2 ชม. นี่คือก้าวแรกของธุรกิจ Bananafinn ที่มีจนทุกวันนี้”

          ต่อมายอดขวัญและเพื่อนได้แสดงฝีมืออีกครั้งในโปรเจกต์ใหญ่อย่าง “DPU Healthy Food Fair 2014” พร้อมตั้งชื่อว่า “กล้วยฟิน” นอกจากจะขายหมดอย่างรวดเร็วอีกเช่นเคยแล้ว ยังได้ลงข่าวประชาสัมพันธ์ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์อีกด้วย

   

จากโครงการเล็กๆ ของนักศึกษาได้พัฒนามาสู่สินค้าจริง

          จากความสำเร็จในครั้งนั้น ทั้งยอดขวัญและเพื่อนต่างมองเห็นถึงโอกาส จึงมีความคิดที่จะสร้างธุรกิจอย่างจริงจังด้วยการเปิดบริษัทของตัวเอง แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะต้องเรียนไปด้วยทำธุรกิจไปด้วย แต่เพราะได้เจอกับประสบการณ์จริงตั้งแต่ยังเรียนอยู่นั่นเอง  ทำให้ทุกคนมีประสบการณ์จนได้กลายเป็นเจ้าของธุรกิจส่งออก “มาดามสแนค” อย่างเต็มตัว

          แต่นี่ก็เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะพวกเขาตั้งเป้าไว้ว่า Bananafinn จะต้องไปไกลถึงตลาดโลกและตอนนี้ก็กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาค้าขายกับหลายประเทศอยู่ด้วย

          ประสบการณ์จริงที่ได้จากห้องเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ไม่ใช่คุณยอดขวัญคนเดียวเท่านั้น ยังมีอีกมากมายหลายคน เหมือนกับที่ “ธนศักดิ์ จิตตพงษ์” และ “มนิสา ฮอคคินส์” ที่ได้มีธุรกิจ “Drawer Bakery” แฟรนไชส์ฮันนี่โทสต์แสนอร่อยที่กำลังไปได้สวย ซึ่งทั้งคู่เริ่มธุรกิจนี้ตั้งแต่ตอนเรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 เท่านั้น

          ธนศักดิ์ หรือ เจเจ นายแบบหนุ่มเจ้าของธุรกิจ Drawer Bakery มองว่า การทำธุรกิจคือการแก้ปัญหา และเราจำเป็นต้องมีความรู้มากมายเข้ามาประยุกต์รวมกัน ตั้งแต่เรื่องการวางแผนธุรกิจ การตลาด การขาย การบัญชี หรือแม้แต่การประชาสัมพันธ์ และด้านอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

          เขาเล่าว่า แนวคิดของ Drawer Bakery คืออยากให้ทุกคนได้ทานฮันนี่โทสต์ที่อร่อย ราคาไม่แพง เลยเน้นการเปิดร้านที่ง่ายๆ เป็นกันเอง ช่วยสร้างความเป็นมิตรกับลูกค้า และที่สำคัญฮันนี่โทสต์ของที่นี่ เป็นขนมปังสามเหลี่ยมหนานุ่มสั่งทำพิเศษ ราดน้ำผึ้งและแครกเกอร์สูตรลับของทางร้าน เสิร์ฟพร้อมไอศกรีม ทำให้กลายเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร

   

Drawer Bakery กับฮันนี่โทสต์ที่ใครๆ ก็กินได้

          “ผมรู้สึกโชคดีมากๆ ที่ได้ศึกษาความรู้พื้นฐานเหล่านี้อย่างเข้มข้นมาก่อนแล้วในมหาวิทยาลัย ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่เราทำธุรกิจจริงๆ เราจึงสามารถนำความรู้เหล่านั้นออกมาใช้ได้ทันที ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ใหม่หรือลองผิดลองถูก ทำให้สามารถเริ่มต้นธุรกิจของเราได้เลย” ความรู้สึกจากประสบการณ์จริงของเจเจ ที่ถ่ายทอดแง่คิด ให้น้องที่อยากประสบความสำเร็จเหมือนนักธุรกิจหนุ่มคนนี้

          เห็นได้ชัดเลยว่านักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์แต่ละคนได้รับการปลูกฝังแนวคิดทางด้านธุรกิจมาเป็นอย่างดี นอกจากจะมอบความรู้ผ่านการเรียนการสอนแล้ว ที่นี่ยังเปิดโอกาสให้นักศึกษาเรียนรู้จากของจริงด้วยการทำสร้างโครงการธุรกิจที่หลากหลาย ทำให้ผลที่ได้คือสามารถมองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจได้

          “เน็ตไอดอล” อย่าง ยอดขวัญ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องหารายได้จากวงการบันเทิงเพียงอย่างเดียว เช่นเดียวกับธนศักดิ์ นายแบบและนักแสดงหนุ่มที่นอกจากทำธุรกิจฮันนี่โทสต์แล้ว ยังสามารถเปิดร้านจักรยานของตัวเองได้อีกด้วย นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสำเร็จของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

           ยังมีนักศึกษาอีกมากมายที่พัฒนาธุรกิจของตัวเองให้ประสบความสำเร็จ จนกลายเป็นแรงผลักดันให้ประเทศชาติพัฒนาไปด้วย  เช่นเดียวกับทุกๆคน  ขอเพียงแค่มีความรู้ พร้อมกับมองเห็นโอกาสและกล้าที่จะเริ่มต้น  เท่านี้ก็ถือว่า เข้าใกล้ความสำเร็จแล้ว

 

 




[Advertorial]
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook