สมาคมนิสิตเก่า MBA จุฬาฯ ลุยเปิดสุดยอดโครงการสัมมนา “JUMC WoW” ครั้งที่ 3

สมาคมนิสิตเก่า MBA จุฬาฯ ลุยเปิดสุดยอดโครงการสัมมนา “JUMC WoW” ครั้งที่ 3

สมาคมนิสิตเก่า MBA จุฬาฯ ลุยเปิดสุดยอดโครงการสัมมนา “JUMC WoW” ครั้งที่ 3
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สมาคมนิสิตเก่า MBA จุฬาฯ ลุยเปิดสุดยอดโครงการสัมมนา "JUMC WoW" ครั้งที่ 3
ชวน Young Gen รุ่นใหม่ไฟแรงหาแรงบันดาลใจและไอเดียต่อยอดในการทำธุรกิจ
ภายใต้คอนเซ็ปต์ "Sharing and Networking Lead to the Future"

1. หลักการและเหตุผล

หลังจากที่ประสบความสำเร็จจากโครงการ JUMC (Junior MBA Chula, ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น JUMC NEXT) ซึ่งเป็นโครงการทดลองเรียน MBA ระยะสั้นที่ดำเนินการมาครบ 10 ปี ในปี พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา
ทางสมาคมนิสิตเก่า MBA คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล็งเห็นว่าในช่วงอายุ
ที่โตขึ้น Young generation ปัจจุบันเติบโตในหนทางที่ตัวเองเลือกเดินได้อย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็น Young Professional ,ทายาทเจ้าของธุรกิจ และเจ้าของธุรกิจรุ่นใหม่ที่ยังอยู่ในช่วงกำลังเติบโตนั้น ถ้ามีการเรียนรู้ร่วมกันนอกตำราเรียน โดยนำเอาประสบการณ์ของตนเอง รุ่นพี่และเพื่อนที่อายุใกล้เคียงกันแต่แตกต่างในกลุ่มอาชีพมาแบ่งปันบอกเล่าแลกเปลี่ยนผ่านกิจกรรมต่างๆ สามารถส่งเสริมการพัฒนาตนเอง ทั้งด้านบุคลิกภาพ ความคิดสร้างสรรค์ ทัศนคติเชิงบวก ไปจนถึงการทำงาน การใช้ชีวิตและการต่อยอดทางธุรกิจให้ดียิ่งขึ้นได้ จึงคิดริเริ่มโครงการ JUMC WoW ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายอายุตั้งแต่ 25-35 ปี ที่ต้องการเรียนรู้การบริหารจัดการแบบอัพเดต
จากวิทยากรรุ่นพี่นิสิตเก่า MBA จุฬาฯ ทั้งในส่วนของการดำเนินชีวิตและการต่อยอดทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
โดยในโครงการนี้จะมุ่งเน้นการแบ่งปัน (Sharing) ทั้งความรู้และประสบการณ์ ระหว่างผู้เรียน วิทยากร โค้ช และ กรรมการโครงการฯ รวมถึงการสร้างสายสัมพันธ์ (Networking) ที่เกื้อกูลกัน จนสามารถต่อยอดไปยังเรื่องต่างๆ
ในอนาคต (Future) ของผู้เรียนและสังคมรอบๆ ตัวได้ และในปีนี้เองได้สานต่อเจตนารมณ์การแบ่งปันด้วยการเปิดโครงการ JUMC WoW ครั้งที่ 3 ในรูปแบบการถ่ายทอดความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านมุมมองที่หลากหลายของผู้เชี่ยวชาญและวิทยากรชื่อดังจากบริษัทฯ ชั้นนำของประเทศไทยในแขนงต่างๆ เพื่อสร้างพันธมิตรของคนจากหลากหลายสาขาและมีมุมมองทางธุรกิจในแบบคนรุ่นใหม่ที่กว้างขวางขึ้น

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อเป็นการต่อยอดการเรียนรู้การบริหารจัดการและธุรกิจ ส่งเสริมการพัฒนาตนเองทั้งด้านบุคลิกภาพ ความคิดสร้างสรรค์ ทัศนคติเชิงบวก ที่ส่งผลต่อการทำงาน และการใช้ชีวิต การสานสัมพันธ์ระหว่างกัน รวมถึงพัฒนาศักยภาพ
2.2 เพื่อเปิดมุมมองของผู้เข้าร่วมโครงการ หลังจากได้มีประสบการณ์การใช้ชีวิตมาระยะหนึ่งแล้ว
โดยมุ่งเน้นการแบ่งปัน (Sharing) ทั้งความรู้และประสบการณ์ ทั้งระหว่างผู้เรียน วิทยากร โค้ช และ กรรมการโครงการฯ รวมถึงการสร้างสายสัมพันธ์ (Networking) ที่เกื้อกูลกัน จนสามารถต่อยอดไปยังเรื่องต่างๆ ในอนาคต (Future) ของผู้เรียนและสังคมรอบๆ ตัวได้

3 ผู้ดำเนินโครงการ

สมาคมนิสิตเก่าเอ็มบีเอ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แนวคิดในการสอน
3.1 เน้นการแบ่งปัน "Sharing" ของทั้งวิทยากรและผู้ร่วมโครงการ เพื่อนำความรู้ ประสบการณ์ในมุมมองต่าง ๆ ส่งเสริมแนวคิด และสร้างแรงบันดาลใจ ตกผลึกเป็นองค์ความรู้ใหม่
3.2 การสานสัมพันธ์ของผู้เรียน เพื่อสร้าง "Networking" ที่สามารถเกื้อกูลกันในการทำงาน การประกอบธุรกิจให้ดีขึ้น
3.3 ส่งเสริมการพัฒนาตนเองทั้งด้านบุคลิกภาพ การแสดงออก ความคิดสร้างสรรค์ ทัศนคติเชิงบวกต่อ
การทำงานและการใช้ชีวิต สอดแทรกในการเรียนและการสอนทั้งหมด
3.4 หลังจากการเรียนแต่ละครั้ง ผู้เรียนทุกคน ต้องมีการ "สรุปผล" สิ่งที่ได้เรียนรู้ทุกครั้ง เพื่อสร้างเป็น
องค์ความรู้ของตนเอง และแบ่งปันให้กับผู้เรียนคนอื่นๆ
3.5 ประโยชน์ต่างๆ ที่ได้มาดังกล่าวแล้วนั้น จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถดำเนินชีวิตอย่างประสบความสำเร็จได้ในอนาคต "Future We See"

4. หลักสูตรและรูปแบบการเรียน

• Course Orientation & Ice breaking กิจกรรมแนะนำหลักสูตร การเรียนการสอน เสริมด้วย การพัฒนาบุคลิกภาพ และสร้างความสัมพันธ์ของผู้ร่วมโครงการด้วยกัน
• การบรรยาย โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 ครั้ง ในหัวข้อต่างๆ
• การเรียนแบบ Discussion Leader (DL) จำนวน 6 ครั้ง ในหัวข้อต่างๆ
• ดูงานต่างจังหวัด 1 ครั้ง ที่จังหวัดชุมพร โดยเข้าไปเจาะลึกภาพรวมเศรษฐกิจและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าอบรม
• ดูงานต่างประเทศ 1 ครั้ง ที่พนมเปญและเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา พร้อมฟังการบรรยายเพื่อศึกษาทิศทางทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้านกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและรับประทานอาหารเย็นร่วมกับท่านฑูตไทยประจำกรุงพนมเปญ

5. หลักเกณฑ์และคุณสมบัติผู้สมัคร

• อายุระหว่าง 25 - 35 ปี (อายุไม่เกิน 35 ปีในวันที่ปิดรับสมัคร) จบการศึกษาอย่างน้อยระดับปริญญาตรี
• เข้าใจในวัตถุประสงค์ของโครงการ สามารถแบ่งปัน (Sharing) สิ่งที่ตัวเองเรียนรู้ และประสบการณ์ของตนให้กับผู้อื่น
• มีใจรักที่จะเข้าร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม


• ผู้สมัครสามารถเข้าร่วมโครงการได้ตลอดระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม ถึง 1 ตุลาคม
พ.ศ. 2559

6. ระยะเวลาในการอบรม

• เปิดรับสมัคร Online วันนี้ - 3 กรกฎาคม 2559 เวลา 23.59น.
• ประกาศผลผู้เข้าร่วมกิจกรรมคัดเลือก 7 กรกฎาคม 2559
• กิจกรรมคัดเลือก 23 - 24 กรกฎาคม 2559
• ประกาศผลผู้เข้าร่วมโครงการ 28 กรกฎาคม 2559
• เริ่มโครงการ 20 สิงหาคม 2559 - 1 ตุลาคม 2559
• เวลาเรียน ทุกวันอังคาร และพฤหัสบดี (เวลา 18.30-21.00น.)* / เสาร์ (เวลา 13.30-16.30น.)**
**วันอังคารและวันพฤหัสบดี มีพักรับประทานอาหารเย็น เวลา 17.30 - 18.20 น.
• ศึกษาดูงานจังหวัดชุมพร (3วัน 2คืน) 26 - 28 สิงหาคม 2559
• ศึกษาดูงานที่พนมเปญและเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา (4วัน 3คืน) 22 - 25 กันยายน 2559

7. ค่าใช้จ่ายตลอดโครงการ

• ค่าร่วมกิจกรรมคัดเลือก 600 บาท (ค่าสถานที่และอาหารว่าง)
• ค่าใช้จ่ายตลอดโครงการ 59,000 บาท (ค่าอบรมรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

8. สถานที่

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

9. ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมในรายละเอียดโครงการ

นส.อรพรรณ ทองแก้วนิธิ์กุล (บี)
เจ้าหน้าที่ดูแลโครงการ
Tel. 0-2218 5858
E-mail : adminjumcwow@jumc.in.th

สามารถคลิกดูโครงการ JUMC WoW ที่ผ่านมาได้ที่ Facebook : JUMCWOW
สมัครออนไลน์ได้ที่ : www.jumc.in.th/jumcwow

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook