เทคนิคการเรียนที่ได้ผล และไม่ได้ผล

เทคนิคการเรียนที่ได้ผล และไม่ได้ผล

เทคนิคการเรียนที่ได้ผล และไม่ได้ผล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในโลกปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร คนเราทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในวัยนักเรียน นักศึกษา หรือวัยทำงาน ก็ต้องรู้วิธีที่จะเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์กลับพบว่า เทคนิคที่เราใช้ในการเรียนนั้น มีทั้งเทคนิคที่ได้ผล และไม่ได้ผล และแทบไม่น่าเชื่อว่า เทคนิคในการอ่านซ้ำ และการไฮไลท์นั้น กลับเป็นเทคนิคที่ได้ผลต่ำ

นักวิทยาศาสตร์ ได้ตรวจสอบเทคนิคการเรียนย้อนหลังไปนับสิบ ๆ ปี จากบทความและข้อมูลนับพัน ๆ ฉบับ และได้ร่วมมือกับนักจิตวิทยาเพื่อศึกษาผล และได้ข้อมูลออกมาดังนี้



เทคนิคการเรียนที่ไม่ได้ผล ได้แก่ การไฮไลท์ และการขีดเส้นใต้ แม้ว่าวิธีนี้ จะเป็นวิธีที่เราใช้กันเป็นการทั่วไป แต่จากการศึกษากลับพบว่า มันไม่ได้ประโยชน์อะไรมากไปกว่าการอ่านธรรมดา ๆ เลย งานวิจัยบางชิ้น ยังระบุว่า การไฮไลท์ เป็นการดึงความสนใจในยังปัจจัยอื่น แถมยังไปขัดขวางกระบวนการในการเชื่อมต่อ ซึ่งนำไปสู่การหาข้อสรุป นอกจากนี้ การอ่านซ้ำ ก็ไม่ใช่วิธีที่ดีนัก เพราะมีเทคนิคอื่นที่ให้ผลมากกว่า ส่วนการสรุป และการเขียนจุดสำคัญ อาจจะพอช่วยได้ แต่มันก็ยังได้ผลน้อยเมื่อเทียบกับเวลาที่เสียไป ดังนั้น 4 วิธีที่เราใช้กันมาแต่ดั้งเดิมคือ ไฮไลท์ ขีดเส้นใต้ อ่านซ้ำ และการสรุปใจความสำคัญ ล้วนเป็นวิธีที่ให้ผลต่ำ

เทคนิคการเรียนที่ให้ผลสูงสุด คือการแบบฝึกหัด เทคนิคนี้ รวมไปถึงการกระจายเนื้อหา ไม่ใช่ใช้เวลาอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นนานสองนาน หลังการเรียน แบ่งเวลาในส่วนท้าย ๆ มาเป็นการทำแบบฝึกหัด หรือการอภิปราย วิธีนี้ จะทำให้เนื้อหาไปติดอยู่ในความจำได้ดีกว่า และให้ผลสำเร็จในการเรียนรู้ได้ดีกว่า แถมยังจำได้นานกว่าอีกด้วย

อีกวิธีหนึ่งที่จัดว่าให้ประสิทธิภาพสูงก็คือการทดสอบ ทุกวันนี้เราสอบเพื่อเอาคะแนน ในขณะที่นักวิจัยบอกว่า การสอบที่ดีนั้น เป็นการเรียกข้อมูลและความรู้ที่เก็บเอาไว้ออกมาใช้ในการแก้ปัญหาในอนาคต การสอบ อาจจะไม่ใช่แค่การนั่งทำข้อสอบ แต่สามารถใช้เทคนิคอื่น ๆ เช่นใช้การ์ด ใช้ระบบดิจิตอลเช้ามาช่วย ส่วนเทคนิคที่ถือว่าให้ผลในระดับกลาง ก็ได้แก่ การใช้จินตนาการ การใช้ภาพ การซักถาม การอธิบายด้วยตัวเอง การแก้ปัญหา การใช้คีย์เวิร์ด เหล่านี้ เป็นวิธีที่ได้ผลในระดับปานกลางลงไปถึงระดับต่ำ


source : purewow.com

photo : www.istockphoto.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook