ความเป็นมาของระเบียบชุดนักเรียนไทย ที่หลายคนยังไม่เคยรู้

ความเป็นมาของระเบียบชุดนักเรียนไทย ที่หลายคนยังไม่เคยรู้

ความเป็นมาของระเบียบชุดนักเรียนไทย ที่หลายคนยังไม่เคยรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันเชื่อว่าเกือบทุกๆคนได้เคยผ่านจุดที่เป็นนักเรียน นักศึกษากันมาเกือบทุกคน และได้สวมใส่ชุดนักเรียน นิสิต นักศึกษาของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษามาแล้วทั้งนั้น และเชื่อว่าหลายคนก็มีความสุขสมหวังที่ได้ใส่เครื่องแบบ ได้เรียนหนังสือ ได้อยู่ในสถาบันที่ตนเองนั้นเลือกอย่างภาคภูมิใจ ซึ่งในอีกด้านหนึ่งก็อาจมีใครอีกหลายๆคน ที่แม้อยากจะสวมใส่เครื่องแบบนักเรียน นักศึกษาอันทรงเกียรติมากแค่ไหน แต่ก็ไม่มีโอกาสได้สวมใส่ อาจด้วยขาดโอกาสหรือด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม

นักศึกษา

เครื่องแบบนักเรียน นักศึกษาถือว่าเป็นสิ่งที่น่ามีภาคภูมิใจอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ได้มีโอกาสสวมใส่ และการใส่ชุดนักเรียน นักศึกษาที่ถูกต้องตามกฏระเบียบของสถาบันก็ถือว่าเป็นการให้เกียรติกับสถาบันและยังทำให้เราเกิดความภาคภูมิใจ และในทางอ้อมเครื่องแบบก็อาจจะเป็นตัวช่วยเตือนสติเราอยู่เสมอว่า เมื่อไหร่ที่เราอยู่ในเครื่องแบบ และอาจจะไปทำอะไรโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จะได้ให้เครื่องแบบที่เราสวมใส่อยู่นั้นช่วยเตือนสติว่าเราก็กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ และมีคุณพ่อ คุณแม่ที่รอดูความสำเร็จของเราที่จบจากสถาบันนั้นๆ เผื่อเราจะได้เอะใจและคิดได้

ซึ่งบนโลกใบนี้ก็มีอีกหลายๆประเทศก็มีการให้เด็กๆสวมใส่เครื่องแบบเหมือนกัน ซึ่งในแต่ละประเทศก็มีเหตุผลแตกต่างกันในการใส่เครื่องแบบนักเรียน นักศึกษา ซึ่งวันนี้เราจะเอาข้อมูลประวัติของชุดนักเรียน นักศึกษาของประเทศต่างๆ ในบางประเทศมาฝากกันค่ะ

เครื่องแบบนักเรียน

เครื่องแบบนักเรียน เป็นชุดเครื่องแบบของนักเรียนที่สวมใส่กันในสถาบันการศึกษา ส่วนใหญ่ในหลายๆประเทศจะสวมชุดเครื่องแบบนักเรียนกันในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา โดยการแต่งเครื่องแบบนักเรียนมีพื้นฐานมาจากการแต่งตัวให้เข้ากับกาลเทศะของโรงเรียนหรือสถาบัญการศึกษา เครื่องแบบของนักเรียนชายส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยกางเกงขาสั้นหรือขายาวสีดำและเสื้อเชิ้ตสีขาวและส่วนใหญ่จะมีเนคไทด้วย ส่วนเครื่องแบบของนักเรียนหญิงนั้นจะแต่งต่างกันไปในแต่ละประเทศและระบบของโรงเรียน ส่วนใหญ่แล้วประกอบไปด้วยเสื้อครึ่งตัวของตรีหรือกระโปรงชุดใส่พร้อมด้วยกระโปรงหรือกางเกงหรือเสื้อไม่มีแขนใช้ใส่ทับเสื้อเสื้อตัวใน ในบางประเทศอนุญาตให้นักเรียนหญิงใส่กางเกงขายาว การใช้เสื้อสามารถหรือเสื้อสูทเหมือนเสื้อแจ็กเกตทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชายนั้นถือเป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะในประเทศที่มีภูมิอากาศหนาว ในขณะที่บางประเทศมีเครื่องแบบนักเรียนที่เป็นมาตรฐานให้ใช้สำหรับทุกโรงเรียน และบางประเทศก็จะมีเครื่องแบบนักเรียนแตกต่างกันไปในแต่ละโรงเรียน ส่วนในหลายๆโรงเรียนก็มีการจัดทำเข็มหรือตราสัญลักษณ์ติดหน้าอกด้วย

เครื่องแบบนักเรียนในแต่ละประเทศ

เครื่องแบบนักเรียนญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่นเริ่มใช้เครื่องแบบนักเรียนมาตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 ปัจจุบัน โรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนเกือบทุกโรงเรียนต่างให้นักเรียนแต่งกายในชุดเครื่องแบบนักเรียน รวมทั้งมหาวิทยาลัยผู้หญิงบางแห่งก็ยังคงใช้เครื่องแบบอยู่เช่นกัน ชุดเสื้อผ้าที่นักเรียนหรือนักศึกษาในประเทศญี่ปุ่นใช้สวมใส่ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "เซฟุกุ" (ญี่ปุ่น: 制服 Seifuku ; เครื่องแบบ ?) หรือ "กะกุเซฟุกุ" (ญี่ปุ่น: 学生服 Gakuseifuku ; ชุดนักเรียน ?)

โรงเรียนส่วนใหญ่ในชั้นประถมศึกษาไม่บังคับให้นักเรียนใส่เครื่องแบบ สำหรับโรงเรียนที่บังคับ นักเรียนชายจะต้องใส่เสื้อเชิ้ตสีขาวและสวมหมวก นักเรียนหญิงจะต้องใส่เสื้อสีขาวและกระโปรงจีบสีเทา หรือบางครั้งก็ใส่ชุดกะลาสี เครื่องแบบอาจจะแตกต่างกันไปตามโอกาสและฤดูกาล นักเรียนจะใส่หมวกที่มีสีสว่างสดใสเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางจราจร ชุดนักเรียนชั้นมัธยมประกอบด้วยชุดเครื่องแบบทหารสำหรับเด็กผู้ชายและชุดกะลาสีสำหรับเด็กผู้หญิง ชุดเหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากชุดทหารในยุคเมจิ ซึ่งลอกแบบมาจากชุดนาวีของยุโรป ปัจจุบันยังคงมีการใช้ชุดเหล่านี้อยู่ หลายโรงเรียนเปลี่ยนไปใช้ชุดตามโรงเรียนสอนศาสนาของตะวันตก ชุดของผู้ชายประกอบด้วยเสื้อเชิ้ตสีขาว เนคไท เสื้อแจ๊คเก็ตที่มีตราโรงเรียน และกางเกงขายาว (มักเป็นคนละสีกับเสื้อแจ๊คเก็ต) ชุดผู้หญิงประกอบด้วยเสื้อสีขาว เนคไท เสื้อแจ๊คเก็ตที่มีตราโรงเรียน และกระโปรงตาหมากรุก ทุกโรงเรียนจะมีเครื่องแบบภาคฤดูร้อน (ชุดผู้ชายประกอบด้วยเสื้อเชิ้ตสีขาวและกางเกงสแล็ก ชุดผู้หญิงประกอบด้วยเครื่องแบบน้ำหนักเบา และกระโปรงตาหมากรุก) และชุดกีฬา นักเรียนอาจแต่งกายแตกต่างกันในชั้นเรียนเดียวกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของแต่ละโรงเรียน นักเรียนบางคนอาจฝ่าฝืนกฎด้วยการใส่เครื่องแบบผิดระเบียบหรือใส่เครื่องแบบข้อห้ามต่างๆ เช่น ถุงเท้าหย่อนๆขนาดใหญ่และติดเข็มกลัด นักเรียนหญิงอาจใส่กระโปรงสั้นๆ นักเรียนชายอาจใส่กางเกงระดับสะโพก ไม่ผูกเนคไท และปลดกระดุมเสื้อ เนื่องจากบางโรงเรียนไม่มีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าแบบแยกเพศหรือห้องที่มีประตูล็อก นักเรียนจึงเปลี่ยนเสื้อกีฬาในห้องเรียน ทำให้มีนักเรียนบางคนที่ใส่ชุดกีฬาไว้ใต้เครื่องแบบนักเรียน โรงเรียนบางโรงเรียนบังคับทรงผม รองเท้า และกระเป๋าหนังสือ แต่นักเรียนมักจะปฏิบัติตามกฎในวาระพิเศษต่างๆเท่านั้น เช่น วันเปิดเทอม พิธีปิด และวันถ่ายรูปชั้น

เครื่องแบบนักเรียนเกาหลีใต้

นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาของประเทศเกาหลีใต้จะสวมเครื่องแบบที่เรียกว่า กโยบก (เกาหลี: 교복) โดยส่วนใหญ่แล้วโรงเรียนในระดับประถมศึกษายกเว้นโรงเรียนเอกชนบางแห่งจะไม่มีเครื่องแบบนักเรียน โดยเครื่องแบบนักเรียนนี้จะเริ่มถูกกำหนดให้ใส่อย่างเคร่งครัดโดยเริ่มตั้งแต่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป โดยเครื่องแบบนักเรียนของประเทศเกาหลีใต้มีพื้นฐานมาจากเครื่องแบบแนวตะวันตก ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วย เสื้อเชิ้ต, เสื้อสูทและเนคไท พร้อมด้วยกระโปรงสำหรับนักเรียนหญิงและกางเกงขายาวสีเทาสำหรับนักเรียนชาย เครื่องแบบนักเรียนนี้ดาราผู้มีชื่อเสียงมักสวมใส่เพื่อเจาะตลาดวัยรุ่นหรือเพื่อขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับความบันเทิงที่ให้วัยรุ่น เครื่องแบบนักเรียนนั้นถูกใช้ไปในการพบปะกันในเรื่องของความรักใคร่อยู่บ่อยครั้ง ด้วยเหตุนี้เองเครื่องแบบนักเรียนจนกลายเป็นบางสิ่งที่เกี่ยวข้องกันในการแสดงลักษณะออกในลักษณะของแฟชั่นระหว่างนักเรียนด้วยกัน

เครื่องแบบนักเรียนไทย

ชุดนักเรียนของไทยเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยการวางรากฐานการศึกษาไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ราว พ.ศ. 2428 โดยเครื่องแบบนักเรียนในยุคแรกประกอบไปไปด้วย

1. หมวกฟาง มีผ้าพันหมวกสีตามสีประจำโรงเรียน ติดอักษรย่อนามโรงเรียนที่หน้าหมวก
2. เสื้อราชปะแตนสีขาว ดุมทอง
3. กางเกงไทย (กางเกงขาสั้นอย่างที่นักเรียนใช้อยู่ในปัจจุบัน)
4. ถุงเท้าขาว หรือดำ
5. รองเท้าดำ

ทั้งนี้ ถุงเท้า รองเท้า ในขณะนั้นเป็นของราคาแพง จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีทุกคน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีใช้

เอกสารข้อกำหนดอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการแต่งกายเครื่องแบบนักเรียนเกิดขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475 ในสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2482 และตามด้วย ระเบียบกระทรวงธรรมการ ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2482
ซึ่งกำหนดรายละเอียดยิบย่อยมากมายตั้งแต่หัว(หมวก)จรด(รอง)เท้า ทั้งของชายและหญิง แยกประเภทโรงเรียน

ข้อกำหนดเรื่องเครื่องแบบนี้ถูกเปลี่ยนแปลงหลายครั้งตามสถานการณ์ เช่นในช่วงสงครามโลก เสื้อผ้าขาดแคลน จึงต้องลดกฎระเบียบลงให้น้อยลง

ในปัจจุบันประเทศไทยได้ใช้กฎระเบียบการแต่งกาย ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551 ประกอบกับระเบียบปฏิบัติของโรงเรียนต่าง ๆ เอง

ข้อมูลและภาพประกอบจาก http://www.pichao.byethost3.com/

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook