โรคขาดสารอาหาร ทำไมถึงกลายเป็นปัญหาใหม่ของวัยรุ่นญี่ปุ่น

โรคขาดสารอาหาร ทำไมถึงกลายเป็นปัญหาใหม่ของวัยรุ่นญี่ปุ่น

โรคขาดสารอาหาร ทำไมถึงกลายเป็นปัญหาใหม่ของวัยรุ่นญี่ปุ่น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคขาดสารอาหาร คือ สภาพที่ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในจำนวนที่ไม่เพียงพอ หากพูดถึง “โรคขาดสารอาหาร” หลายๆคนคงคิดว่า โรคนี้เป็นโรคที่เกิดในพื้นที่ที่ขาดแคลนอาหาร เช่น ประเทศกำลังพัฒนา เป็นต้น แต่รู้หรือไม่ว่าแม้แต่ในประเทศที่คุณสามารถทานอะไรก็ได้ที่คุณอยากทาน ที่ซึ่งมีอาหารเหลือให้ทานกันจนอิ่มแปร่อย่างประเทศญี่ปุ่น ก็ยังมีโรคขาดสารอาหารแพร่หลายอยู่ในกลุ่มวัยรุ่น? ส่วนใหญ่โรคขาดสารอาหารที่เกิดขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นญี่ปุ่นนั้น เป็นอาการ “ขาดสารอาหารชนิดได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ”  ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายได้รับพลังงานเพียงพอ แต่กลับได้สารอาหารไม่เพียงพอ และอาการ “ขาดสารอาหารชนิดที่ไม่ได้รับทั้งปริมาณพลังงาน และปริมารสารอาหารเพียงพอ” อันเกิดจากการที่ร่างกายทานอาหารไม่เพียง ด้วยสาเหตุเช่น อยากผอมจนเกินพอดี เป็นต้น

ทำไมล่ะอะไรคือสาเหตุของโรคขาดสารอาหารในวัยรุ่น

สาเหตุของโรคขาดสารอาหาร คือ วิถีการกินที่ผิดปกติและไม่มีสมดุล ซึ่งเบื้องหลังก็มาจากการมีวิถีการกินที่ตามใจปาก เลือกกินเฉพาะแต่ของที่ตนเองอยากกินเท่านั้น หรือการอยากผอมจนเกินพอดี เป็นต้น ในโรคขาดสารอาหารชนิดที่ร่างกายได้รับพลังงานในปริมาณที่จำเป็น แต่กลับได้รับสารอาหารไม่เพียงพอนั้น มีสาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหารในร้านสะดวกซื้อหรือฟาสต์ฟูด, ทานข้าวนอกบ้านมากจนเกินไป หรือถึงแม้จะทำอาหารทานที่บ้าน แต่ก็เลือกกินเฉพาะแต่ของที่ตัวเองชอบ หรือกินแต่อาหารสำเร็จรูปติดต่อกันอย่างยาวนาน แม้ว่าอาหารพวกนั้นจะทำให้ท้องอิ่มได้ (ได้รับพลังงานในปริมาณที่จำเป็นต่อร่างกาย) แต่กลับอยู่ในสภาพที่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายไม่เพียงพอ ส่วนโรคขาดสารอาหารชนิดที่ไม่ได้รับทั้งปริมาณพลังงาน และปริมาณสารอาหารเพียงพอ เกิดจากการที่ร่างกายรับประทานอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากคิดว่า การไม่กิน = ไม่อ้วน จึงทำให้ร่างกายขาดทั้งพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต

cam2_1

ต้องทำอย่างไรถึงจะหลีกเลี่ยงโรคขาดสารอาหารได้

รับพลังงานที่จำเป็นต่อร่างกาย!

ปริมาณพลังงานที่จำเป็นสำหรับ 1 วัน สามารถดูได้จากการคำนวณ BMR (อัตราความต้องการเผาผลาญของร่างกายในชีวิตประจำวัน) คูณด้วย Physical activities ซึ่ง BMR สามารถคำนวณได้จากค่ามาตรฐาน BMR×น้ำหนักตัว (kg) โดยค่ามาตรฐาน BMR นั้นสำหรับชายช่วงอายุ 20 ปีจะอยู่ที่ 24、สำหรับผู้หญิงอยู่ที่ 23.6、ช่วงอายุ 30~40 ปีเพศชายจะอยู่ที่ 22.3、เพศหญิงอยู่ที่ 21.7、ส่วนช่วงอายุ 50~60 ปี เพศชายอยู่ที่ 21.5、เพศหญิงอยู่ที่ 20.7

ส่วน Physical activities นั้น สำหรับคนที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยมากๆ เช่น แทบจะนั่งอยู่ตลอดเวลา จะมีค่าอยู่ที่ 1.5、ส่วนผู้ที่ใน 1 วันจะนั่งทำงานซะเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีการเคลื่อนไหวร่างกาย ยืน ทำงานบ้าน หรือเล่นกีฬาเบาๆจะมีค่าอยู่ที่ 1.75、ส่วนผู้ที่ต้องทำงานที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย และยืน หรือเล่นกีฬามากๆจะมีค่าอยู่ที่ 2.0 แต่ผู้ที่เป็นโรคอ้วนซึ่งจำเป็นจะต้องลดน้ำหนักให้อยู่ในน้ำหนักมาตรฐานนั้น ให้คำนวณจากน้ำหนักมาตรฐาน×25~30kcal โดยน้ำหนักมาตรฐานสามารถคำนวณหาได้จากส่วนสูง (m)×ส่วนสูง (m)×22

มาสร้างสมดุลให้การกินกันเถอะ!

สารอาหารแต่ละชนิดจะไม่ได้แบ่งหน้าที่การทำงานกันอย่างชัดเจน แต่สารอาหารแต่ละตัวจำเป็นจะต้องทำงานควบคู่ช่วยเหลือกันไป เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับสารอาหารตัวใดตัวหนึ่งมากหรือน้อยจนเกินไป เราจำเป็นจะต้องรับประทานอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่ทั้งเนื้อสัตว์, ปลา, ผัก, ถั่ว, สาหร่ายทะเล, นม, ผลไม้ กุญแจสำคัญที่จะทำให้การรับประทานอาหารของเราเกิดความสมดุล คือ การทานโดยคำนึงถึงหมวดหมู่ของอาหารโดยหมวดหมู่พื้นฐานของอาหารจะมีหมวดอาหาร 3 สี กับหมวดอาหาร 6 สี เป็นต้น เราจะมาแนะนำกันถึงหมวดอาหาร 3 สีกันดีกว่า หากกล่าวถึงอาหารกลางวันของโรงเรียนในประเทศญี่ปุ่น วัตถุดิบในรายการอาหารจะแบ่งเป็นหมวดสีแดง, สีเหลือง, สีเขียว และในระหว่างแจกจ่ายอาหารก็จะมีประกาศเสียงตามสาย เช่น “อาหารสีแดงคือ…” เป็นต้น อาหารหมวดสีแดง คืออาหารที่มีโปรตีนและแร่ธาตุสูง เป็นอาหารที่เน้นในการบำรุงเลือดและกล้ามเนื้อ ส่วนหมวดสีเหลือง คืออาหารที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตและไขมันซึ่งให้พลังงาน ส่วนหมวดสีเขียวจะอุดมไปด้วยวิตามินที่ช่วยจัดระเบียบภายในร่างกาย เพียงแค่คุณสามารถรักษาสมดุลของการทานอาหารทั้ง 3 สีนี้ได้ ก็จะสามารถลดความเสี่ยงที่จะเกิดสภาวะการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอได้แล้ว

หากทุกคนรู้ถึงปริมาณพลังงานที่เราต้องการในแต่ละวัน รับประทานอาหารให้มากเท่าที่จำเป็น และเข้าใจถึงหมวดหมู่อาหารได้แล้วละก็ รับรองว่าวัยรุ่นยุคใหม่จะต้องหายจากโรคขาดสารอาหารได้แน่นอน!

ที่มา : macaro-ni

ผู้เขียน : KunChom

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook