น่าสน ! เรียนแบบ ''โฮมสคูล'' ผ่านสื่อดิจิทัล ผู้เรียนเป็นผู้เลือกเนื้อหาที่ต้องการได้ทุกที่ทุกเวลา

น่าสน ! เรียนแบบ ''โฮมสคูล'' ผ่านสื่อดิจิทัล ผู้เรียนเป็นผู้เลือกเนื้อหาที่ต้องการได้ทุกที่ทุกเวลา

น่าสน ! เรียนแบบ ''โฮมสคูล'' ผ่านสื่อดิจิทัล ผู้เรียนเป็นผู้เลือกเนื้อหาที่ต้องการได้ทุกที่ทุกเวลา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การจัดการศึกษาโดยครอบครัว หรือ โฮมสคูล เป็นอีกรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนของไทย โดยมีพ่อแม่ทำหน้าที่เป็นเหมือนครู

ส่วนหนึ่งของการเรียนรูปแบบนี้ คือการนำสื่อดิจิทัลมาปรับใช้ในการสอน แทนการเรียนกับครูอาจารย์ ด้านหนึ่ง เกิดคำถามว่า การใช้สื่อดิจิทัลสามารถสร้างการเรียนรู้ได้จริงหรือไม่

เด็กชายวัย 11 ปี คนนี้ กำลังอ่านการ์ตูนภาษาอังกฤษจากอุปกรณ์แท็บเล็ต เป็นหนึ่งในแบบฝึกหัดของการเรียนในหลักสูตร การจัดการศึกษาโดยครอบครัว หรือ โฮมสคูล ที่ให้เด็กๆ ใช้เวลากับการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านสื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งการอ่านหรือดูการ์ตูน เล่นเกม รวมถึงพูดคุยกับเพื่อนๆ


ผู้ปกครองของเด็กชายคนนี้ มีประสบการณ์การจัดทำหลักสูตรโฮมสคูลมากว่า 6 ปี และใช้สื่อดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งในการสอน เขายอมรับว่ามักเจอคำถามจากผู้ปกครองหลายๆ คนว่า การเรียนการสอนรูปแบบนี้ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้จริงหรือไม่

เช่นเดียวกับคำถามที่ว่า หากให้บุตรหลานเรียนแบบโฮมสคูล จะขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมภายนอกหรือไม่
การเรียนแบบโฮมสคูล เปิดโอกาสให้นักเรียนมีเวลาศึกษาด้วยตนเอง ผ่านการจัดรูปแบบการเรียน โดยผู้ปกครองทำหน้าที่เสมือนเป็นผู้เขียนหลักสูตร โดยให้บุตรหลานเสนอเนื้อหาที่สนใจ ระยะเวลาการศึกษาขึ้นอยู่กับความสนใจของนักเรียน ซึ่งในยุคนี้มีทางเลือกหลากหลายให้ศึกษาข้อมูลผ่านช่องทางสื่อดิจิทัล


นักเทคโนโลยีการศึกษาที่ศึกษาด้านบทบาทการทำหน้าที่ของครูอาจารย์ เพื่อนำไปพัฒนาวิชาชีพและศึกษาด้านการเรียนผ่านสื่อดิจิทัล มองว่า การเรียนรู้รูปแบบโฮมสคูล มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

การจัดการศึกษาโดยครอบครัวถูกนำเสนอเป็นทางเลือก ตามแนวคิดการปฏิรูปการศึกษาของไทย ปี พ.ศ. 2542 หมายถึงการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ครอบครัวเป็นผู้จัดให้แก่ผู้เรียน ตามสิทธิทางกฏหมาย บนพื้นฐานของวัฒนธรรมไทยที่สถาบันครอบครัวเป็นสถาบันรากฐานที่สำคัญ

การจัดกลุ่มสาระสำหรับการสอน สามารถแยกเป็นรายวิชาตามสาระการเรียนรู้ต่างๆ เช่น สาระวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรืออีกรูปแบบคือนำวิชาต่างๆ มาหลอมรวมเป็นกลุ่มประสบการณ์ เช่น กลุ่มความรู้ในธรรมชาติ กลุ่มความรู้ด้านกีฬา กลุ่มความรู้ภูมิปัญญาไทย
สื่อการเรียนการสอน รวมถึงสื่อดิจิทัลที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่นำมาใช้ในการเรียนแบบโฮมสคูล ทำลายกำแพงข้อมูลข่าวสาร เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาในทุกสาระวิชาพื้นฐาน

รูปแบบการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไป ทำให้ผู้เรียนกลายเป็นผู้เลือกเนื้อหาที่ตนนั้นต้องการได้ทุกที่ ทุกเวลา

ขอบคุณลิ้งค์จาก www.workpointtv.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook