โรคซึมเศร้าใน “วัยรุ่น” เกิดขึ้นได้และใกล้ตัวกว่าที่คิด!

โรคซึมเศร้าใน “วัยรุ่น” เกิดขึ้นได้และใกล้ตัวกว่าที่คิด!

โรคซึมเศร้าใน “วัยรุ่น” เกิดขึ้นได้และใกล้ตัวกว่าที่คิด!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัจจุบันมีคนไทยจำนวนหนึ่งที่อยู่ในภาวะเป็นโรคซึมเศร้า และส่วนมากอยู่ในช่วง “วัยรุ่น”

istock-499420105istock

โรคซึมเศร้าที่เกิดในกลุ่ม “วัยรุ่น” สามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อติดใจ และไม่ควรมองข้ามสิ่งเหล่านี้ ที่สามารถพบเจอได้จากการใช้ชีวิตประจำวัน

1. ความกดดันและความเครียด

จุดเริ่มต้นของการเป็นโรคซึมเศร้าสำหรับวัยรุ่นเกิดจาก “ความกดดันและความเครียด” ในที่นี้อาจจะเกิดจากครอบครัว ที่กดดันเรื่องการเรียน การอ่านหนังสือ เพื่อที่จะต้องสอบเข้าโรงเรียนดีๆ เป็นที่1ของห้อง บางครอบครัวกดดันเด็กจนไม่ให้เวลาในการผ่อนคลาย ทำให้เกิดความเครียดขึ้นได้

2. เกิดจากการเลี้ยงดูในวัยเด็ก
ซึ่งอาจจะทำให้มีผลกระทบในระยะยาว เช่น การทำให้อับอาย การดุหรือต่อว่าลูก ต่อหน้าผู้คนอื่นๆ การเปรียบเทียบลูกตนเองกับคนอื่น จนทำให้เด็กขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ขาดความภูมิใจและมองโลกในแง่ลบ จนอยากหลบหนีจากสังคม ซึ่งสาเหตุเหล่านี้อาจทำให้ตัวเด็ก ไม่สามารถเข้าสังคมหรือเข้ากับเพื่อนได้ เพราะคิดว่าตัวเองไม่ดีพอ

3. การถูกกลั่นแกล้ง
การถูกกลั่นแกล้งในโรงเรียนเป็นเรื่องที่ไม่ควรเมินเฉย การถูกแบนจากกลุ่มเพื่อน มีผลกระทบต่อจิตใจของเด็ก ปัจจุบันอาจจะไม่ได้กลั่นแกล้งกันในการทำร้ายร่ายกายแล้ว แต่กลั่นแกล้งผ่านโลกออนไลน์ หรือที่เรียกว่า “Cyberbullying” เช่น การเปิดเผยข้อมูลต่อโลกออนไลน์ การสร้างข้อความเท็จทำให้เสียหาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจโดยตรง

4. พันธุกรรม
นอกจากสภาพแวดล้อม ปัจจัยภายนอกต่างๆที่ก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าแล้ว ปัจจัยด้านพันธุกรรมก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้เช่นกัน เพราะสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม และเมื่อมีสิ่งกระตุ้นทางจิตใจ หรือการรับสารเสพติดก็สามารถกระตุ้นยีนซึมเศร้าให้ส่งผลออกมาได้เช่นกัน

จะเห็นได้ว่าทั้ง 4 ปัจจัยที่กล่าวมานั้นเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวของเรามากๆ เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มักจะมีอารมณ์แปรปรวนและอ่อนไหวง่าย ครอบครัวและคนรอบข้างควรจะสังเกตหากเขามีการเปลี่ยนแปล เช่น พฤติกรรมการนอน กิน หรือน้ำหนักตัวที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว การแยกตัวจากสังคม เคยคิดหรือเคยพยายามฆ่าตัวตาย มีความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง รู้สึกตัวเองไม่มีค่า เป็นต้น

ซึ่งเมื่อเห็นว่าเด็กมีอาการเหล่านี้ควรจะพาเขาออกมาจากอารมณ์แบบนั้น พาเขาไปออกกำลังกาย เล่นดนตรี พูดคุยเรื่องสบายๆ และทำความเข้าใจ ให้ความรักความมั่นใจแก่เขา จะช่วยลดปัญหาการเป็นโรคซึมเศร้าและพัฒนาด้านจิตใจของเด็กอีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook