10 อันดับ สาขาแพทยศาสตร์ ที่เรียนจบมาแล้วได้เงินดีแน่นอน

10 อันดับ สาขาแพทยศาสตร์ ที่เรียนจบมาแล้วได้เงินดีแน่นอน

10 อันดับ สาขาแพทยศาสตร์ ที่เรียนจบมาแล้วได้เงินดีแน่นอน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

istockphoto

1. แพทย์กระดูก (Orthopedics)

istockphoto

สำหรับ แพทย์กระดูก หรือเรียกว่า “ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ (Orthopedics)” โดยที่ประเทศไทยจะมีชื่อเรียกศัลยแพทย์ในสาขานี้มากมายหลายชื่อด้วยกัน เช่น ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ แพทย์กระดูกและข้อ หรือหมอกระดูก เป็นต้น หรือจะเรียกสั้นว่า “หมอออร์โธฯ” ก็ได้ แพทย์ในสาขานี้จะต้องทำการวินิจฉัยความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูก ข้อ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อต่างๆ ของร่างกาย

istockphoto

โดยทั่วไปแล้วศัลยแพทย์จะมีค่าตอบแทนที่คอนข้างสูง เมื่อเทียบกับแพทย์ที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ และยังต้องมีทักษะที่ดีเยี่ยม มีความชำนาญมากเป็นพิเศษด้วย ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่โรคกล้ามเนื้อและกระดูก รวมถึงอุบัติเหตุทางร่างกายและกระดูกหักสูงขึ้นทุกปี ซึ่งเหตุนี้เองก็ทำให้ศัลยแพทย์กระดูกมีความต้องการสูงมากยิ่งขึ้นในทุกประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย เมื่อยิ่งต้องการมากขึ้นรายได้ก็ย่อมสูงขึ้นตามไปด้วย

2. ศัลยแพทย์หัวใจ (Cardiac Surgeon)

istockphoto

องค์การอนามัยโลกรายงานว่า “โรคหัวใจ” เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรก่อนวัยอันควร มาเป็นอันต้นๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ โดยมีผู้เสียชีวิตจากโลกหัวใจสูงขึ้นถึงปีละ 17 ล้านคนจากทั่วโลก และยังมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปีด้วย จึงทำให้แพทย์ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคหัวใจเป็นที่ต้องการมากขึ้นทุกวัน ชื่อเรียกอย่างเป็นทางการคือ “ศัลยแพทย์หัวใจ (Cardiac Surgeon)” หรือบางครั้งจะเรียกว่า “ศัลยแพทย์หัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Surgeons)”ก็ได้ โดยที่เป็นการแพทย์แขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับความผิดปกติของหัวใจ วินิจฉัย และทำการรักษา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะหัวใจวาย และลิ้นหัวใจรั่ว เป็นต้น ดังนั้น แพทย์ทางด้านนี้จึงต้องมีความชำนาญเป็นพิเศษโดยเฉพาะเรื่องการผ่าตัด จึงทำให้แพทย์ทางด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดมีรายได้เฉลี่ยต่อปีสูงมาเป็นอันต้นๆ ของประเทศไทย

3. ศัลยแพทย์ทั่วไป (General Surgeon)

istockphoto

ศัลยแพทย์ทั่วไป หรือที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า “หมอผ่าตัด” จัดว่าเป็นหมอที่มีรายได้สูงมากอีกหนึ่งสาขาวิชาก็ว่าได้ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการทำงานภายใต้ความกดดันและแข็งขันกับเวลา เพราะทุกนาทีหมายถึงชีวิตของผู้ป่วยที่ฝากเอาไว้ในมือของหมอ โดยที่ศัลยแพทย์สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีกหลายแขนงด้วยกัน เช่น ประสาทศัลยแพทย์ (หมอผ่าสมอง) ศัลยแพทย์อุบัติเหตุ กุมารศัลยศาสตร์ (หมอผ่าตัดเด็ก) และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ที่คนทั่วไปคุ้นเคยกันมากที่สุดก็คือ “ศัลยแพทย์ตกแต่งและเสริมสร้าง” หรือที่เรียกกันว่า “หมอเสริมความงาม” นั่นเอง และในส่วนของศัลยแพทย์ทั่วไปจะทำหน้าที่ในการผ่าตัดอวัยวะภายในช่องท้อง เช่น ไส้ติ่ง กระเพาะ ลำไส้ ถุงน้ำดี และม้าม เป็นต้น นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการผ่าตัดเล็กต่างๆ อีกด้วย

4. วิสัญญีแพทย์ (Anesthesiologist)

istockphoto

วิสัญญีแพทย์ หรือที่เรียกกันติดปากว่า “หมอดมยา หรือ หมอวางยาสลบ” ทำหน้าที่วางยาสลบ ยาชา บล็อกไขสันหลัง ฯลฯ เพื่อดูแลผู้ป่วยให้เกิดความเจ็บปวดน้อยที่สุดและปลอดภัยมากที่สุด ทั้งในขณะผ่าตัดและหลังผ่าตัด วิสัญญีแพทย์ต้องเลือกยา รวมถึงวิธีการให้เหมาะสมกับเคสและกายภาพของผู้ป่วย มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ แม้จะไม่ค่อยถูกพูดถึงมากสักเท่าไหร่ แต่อันที่จริงแล้ววิสัญญีแพทย์เป็นผู้ที่ปิดทองหลังพระ ทำงานหนักไม่แพ้หมอคนอื่นๆ เลยทีเดียว

5. สูตินรีแพทย์ (Gynecologist)

istockphoto

สูตินารีแพทย์ มีบทบาทในการทำคลอดและตรวจรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับสตรี โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ บางคนจึงมักเรียกพวกเขาว่า “หมอตรวจภายใน” โดยมีหน้าที่ครอบคลุมถึงการให้คำปรึกษาเรื่องการมีบุตรและการผ่าตัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิงอีกด้วย

6. แพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ (urologist)

istockphoto

หลายๆ คนอาจจะไม่เชื่อเลยว่า แพทย์ทางด้านโรคระบบทางเดินปัสสาวะ จะสาขาที่ขาดแคลนและต้องการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แถมยังได้รับค่าตอบแทนที่สูงอีกด้วย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้จะเรียกว่า “ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ (urologist)” จะหน้าที่ในการตรวจ วินิจฉัย และรักษาโรคเฉพาะทางระบบเดินปัสสาวะทั้งหมด ระบบอวัยวะที่สำคัญภายในคือ “ตับและไต”โดยที่ใครจะเลือกเรียนต่อแพทย์ในสาขานี้ ต้องทำการศึกษาเกี่ยวกับโรคทั้งหมดที่ส่งผลกระทบต่ออวัยวะทั้งตับและไตให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ยังต้องเรียนรู้เกี่ยวกับระบบอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งหมดของเพศชายด้วย ได้แก่ องคชาติ อัณฑะ ถุงอัณฑะ ท่ออสุจิ ต่อมลูกหมาก และถุงน้ำกาม เพราะเมื่อผู้ชายที่ป่วยเป็นโรคทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง ก็จะส่งผลต่อระบบไตอีกด้วย

7. ศัลยแพทย์ช่องปาก (Oral and Maxillofacial Surgeons)

istockphoto

ศัลยแพทย์ช่องปาก เป็นส่วนหนึ่งของวิชาชีพทางด้านทันตแพทย์ ที่ลงลึกเฉพาะทางเกี่ยวกับการผ่าตัดเพื่อรักษาความผิดปกติของขากรรไกร ใบหน้า ปากแหว่งเพดานโหว่ ดูแลระบบบดเคี้ยวอาหาร และการทำหน้าที่ของอวัยวะภายในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัดกระดูกขากรรไกร ผ่าตัดฝังรากฟันเทียมต่างๆ ปลูกฟัน ผ่าตัดเนื้องอกในช่องปาก หรือแม้แต่การเตรียมความพร้อมก่อนใส่ฟันปลอม ก็ล้วนเป็นงานของศัลยแพทย์ช่องปากทั้งสิ้น

8. รังสีแพทย์ : รังสีวิทยา (Radiology)

istockphoto

หลายๆ คน ต้องเคยได้ยินคำว่า “เอ็กซเรย์” กันอยู่บ่อยครั้ง เมื่อเวลาป่วยไม่สบายแล้วไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจหาสิ่งที่อยู่ในร่างกาย ที่จะส่งผลทำให้เราป่วยได้ แต่น้อยคนมากที่จะรู้ว่าแพทย์เฉพาะทางที่เรียนมาในสาขานี้จริงๆ แล้วจะต้องเรียกว่า “รังสีแพทย์” จัดอยู่ในสาขารังสีวิทยา (radiology) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพสิ่งต่างๆ ของร่างกายเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรค โดยจะต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษต่างๆ ทางการแพทย์ข้ามาช่วย ได้แก่ รังสีเอกซ์ (x-ray), รังสีแกมมา (Gamma ray) จากสารกัมมันตภาพรังสีคลื่นเสียง, คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Nuclear Magnetic Resonance Imaging) เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันมีโรคที่ต้องใช้รังสีในการรักษาเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคมะเร็งที่ยังคงต้องใช้วิธีการรักษาด้วยการฉายรังสีเป็นส่วนใหญ่ แพทย์เฉพาะทางในสาขานี้จึงเป็นที่ต้องการ และสามารถสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี

9. แพทย์เฉพาะทางด้าน ตา หู คอ จมูก (Otolaryngology)

istockphoto

อย่างที่เรารู้กันว่า ตา หู คอ จมูก เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกายและการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก โดยที่อวัยวะเหล่านี้มีความซับซ้อน และต้องการความละเอียดละอ่อนในการดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งเมื่ออวัยวะเหล่านี้เกิดผิดปกติขึ้นมาก ก็อาจจะสร้างความทุกข์ ทรมาน และความเจ็บปวดให้ผู้ที่ป่วยได้อย่างมากเลยทีเดียว ดังนั้นผู้ที่ให้คำตอบและคำปรึกษาในการรักษาได้ดีที่สุดก็คือ แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขา “โสตศอนาสิกวิทยา (Otolaryngology)” หน้าที่สำหรับแพทย์ในสาขานี้ ได้แก่ ต้องทำการวินิจฉัยและรักษาความผิดปกติของหู จมูก กล่องเสียงหรือช่องคอ ศีรษะ และคอ โดยโรคที่เจอได้บ่อยๆ ก็คือ โรคไซนัสอักเสบ โรคนอนกรน โรคหูน้ำหนวก เจ็บในลำคอ ต่อมไทรอยด์ หรือโรคภูมิแพ้หู คอ จมูก เป็นต้น

10. ศัลยกรรมตกแต่ง (Plastic Surgery)

istockphoto

ซึ่งแน่นอนว่า ในบรรดาสาขาวิชาที่เลือกเรียนแพทย์นั้น เป็นอะไรที่ค่อยข้างยาก แต่ก็ได้รับค่าตอบแทนสูงมากเลยทีเดียว และแน่นอนว่าในยุคปัจจุบัน ผู้คนต่างก็เริ่มยอมรับกับการทำศัลยกรรมพลาสติกกันมากยิ่งขึ้น โดยที่ “Plastic Surgery” คือ แขนงวิชาเฉพาะสาขาของ “ศัลยศาสตร์ (Specialized Branch of Surgery)” ศึกษาในเรื่องความผิดปกติของรูปร่าง ผิวหนัง รวมทั้งระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างของร่างกาย ซึ่งในความจริงแล้วศัลยแพทย์ตกแต่ง มีขอบข่ายในการทำงานที่กว้างมาก ไม่ใช่เฉพาะเสริมจมูก เสริมอึ๋ม หรือทำตาสองชั้น เพียงเท่านั้น

istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook