คนรุ่นใหม่รู้จักบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกันหรือเปล่า?

คนรุ่นใหม่รู้จักบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกันหรือเปล่า?

คนรุ่นใหม่รู้จักบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกันหรือเปล่า?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กำลังจะได้เริ่มใช้กันแล้วในวันที่ 1 ตุลาคม 2560 บัตรนี้เป็นบัตรที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เป็นผู้ออกนโยบายให้ประชาชนไปลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ (อ่านเพิ่ม บัตรสวัสดิการแห่งรัฐทำอะไรได้บ้าง)

วันนี้ NoozUP อยากรู้ว่าคนรุ่นใหม่ที่มีอายุตั้งแต่ 18 - 30 ปี เขารู้กันหรือไม่ว่าเจ้าบัตรนี้เอาไว้ทำอะไร แล้วเขารู้สึกอย่างไรกับนโยบายแบบนี้ของรัฐบาล

ประชาชนที่อายุ 18 - 20 ปี

ช่วงอายุนี้ยังคงเป็นนักเรียน - นักศึกษามหาวิทยาลัย ปี 1-2 กันอยู่ ส่วนมากจะไม่ค่อยทราบเรื่องโครงการนี้ เพราะสนใจการเรียน จนไม่มีเวลา และบางคนไม่มีความสนใจในข่าวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ส่วนจะเห็นด้วยหรืออยากให้รัฐมีโครงการอะไรที่จะเป็นการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย แน่นอนว่าเป็นคำถามที่ไกลตัวสำหรับพวกเขา ขณะที่บางคนเปิดเผยว่ามักจะติดตามข่าวสารผ่านโซเชียลมีเดีย และไม่ค่อยมีข่าวนโยบายรัฐ หรือข่าวการเมือง ปรากฎให้เห็นในหน้าฟีดเฟซบุ๊กเขาจึงไม่ได้รับข้อมูล แต่ก็ยังเห็นว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญ และไม่ใช่เรื่องที่ไกลตัว

ประชาชนอายุระหว่าง 21 - 25 ปี

ช่วงวัยนี้จะเป็นนักศึกษา กับคนที่เริ่มงานได้ไม่กี่ปี พวกเขาพอทราบข่าวว่ามีนโยบายนี้ แต่ไม่รู้รายละเอียดที่ชัดเจน บางคนเห็นด้วยเพราะอย่างน้อยก็เป็นการช่วยคนรายได้น้อยได้บ้าง แต่เห็นว่ายังมีข้อจำกัดที่ทำให้ผู้มีรายใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ อย่างคนที่อยู่ต่างจังหวัด ก็จะไม่ได้ใช้ค่าเดินทางอย่าง ขสมก. ขณะที่บางคนอาจเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัว ส่วนบางคนเห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ด้านคนที่มีบ้านอยู่ในต่างจังหวัดบอกว่า "เมื่อก่อนที่เคยมีแจกเงินคล้าย ๆ แบบนี้ ประชาชนเอาเงินไปทำอย่างอื่น ในเรื่องไร้สาระ"

พวกเขาอยากเห็นโครงการที่ทำให้ประชาชนมีอาชีพที่ยั่งยืน และมีรายได้ที่แน่นอน ปัจจุบันรู้สึกเศรษฐกิจเปลี่ยนไปมากจากเมื่อก่อน เพราะคนช่วงอายุนี้จะเริ่มมีประสบการณ์ที่ทำให้พวกเขาเปรียบเทียบได้ เช่น "เมื่อก่อนนี้ที่บ้านสามารถซื้อปุ๋ยมาใช้ได้ครั้งละหลายกระสอบ มีเงินหมุนเวียนตลอด เมื่อก่อนข้าวเปลือกจะขายกิโลละ 10 บาทยังคิดแล้วคิดอีก อยากขายราคาสูงกว่านั้น แต่เดียวนี้กิโลกรัมละ 7 บาทก็ต้องขายแล้ว"

นอกจากนี้ยังมีการยกตัวอย่างโครงการสมัยก่อน ที่มีการประกันราคาข้าว พวกเขาบอกว่าเป็นเหมือนกลไลที่ทำให้พ่อค้าคนกลางไม่กล้ากดราคา เพราะถ้ากดราคามาก ๆ ชาวนาก็จะแห่ไปเข้าโครงการของรัฐกันหมด แต่อย่างโครงการ 1 หมู่บ้าน 1 ล้านบาท แบบนั้นก็ไม่ดี เพราะทำให้คนเป็นหนี้ง่ายขึ้น เนื่องจากได้เงินมาง่าย ๆ ก็ใช้เงินแบบง่าย ๆ

พวกเขาคิดว่าหากรัฐอยากช่วยประชาชนจริง ควรนำงบประมานไปพัฒนาด้านการแพทย์ในชนบท โดยเฉพาะโรงพยาบาลเล็ก ๆ ที่มีบุคลากร และอุปกรณ์ไม่เพียงพอ แบบนี้น่าจะช่วยประชาชนได้ เพราะอย่างน้อย ๆ เงินที่พวกเขาทำมาหากินมาได้ ก็ไม่ไปลงกับที่โรงพยาบาลเสียหมด

ประชาชนในช่วงอายุ 26 - 30 ปี

ช่วงวัยนี้เป็นวัยที่ทำงานมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ส่วนมากจะรู้ข่าวสารเรื่องนี้ และสนใจในรายละเอียด จนถึงมีการถกเถียงกันอย่างถึงพริกถึงขิง หากมีใครสักคนหยิบยกประเด็นเหล่านี้มาพูด ซึ่งคนในยุคนี้แตกต่างจากผู้ใหญ่ในยุคก่อนหน้า พวกเขาสามารถคุยเรื่องการเมืองได้อย่างเปิดเผยมากกว่า รวมถึงยอมรับความคิดเห็นซึ่งกันและกันมากขึ้น

โดยส่วนมากไม่เห็นด้วยกับนโยบายแบบนี้เลย บางคนบอกว่าจะยิ่งทำให้ประชาชนขี้เกียจ บางคนบอกว่าเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกจุด เป็นการละลายเงินทิ้งไปเปล่า ๆ ขณะที่บางคนเห็นว่าเงินให้นั้นจริง ๆ แล้วไม่ได้ช่วยอะไรมาก และบางคนไปลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยก็ยังบอกว่าไม่ได้ช่วยอะไรเลย ซ้ำยังมีปัญหาเยอะตั้งแต่ตอนที่ไปลงทะเบียนจนต้องใช้เวลานาน และล่าช้ามาก

หลายคนจะเห็นตรงกันว่ารัฐควรนำเงินไปสนับสนุนด้านการแพทย์ พวกเขาเริ่มตระหนักว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และโรงพยาบาลในต่างจังหวัดยังขาดแคลนอุปกรณ์ และเงินสนับสนุนเป็นอย่างมาก การเข้าไปดูแลสนับสนุนประชาชนด้านการรักษาพยาบาล ก็จะช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยนำรายได้ที่หาได้ไปใช้ประโยชน์ ไม่ใช่เอามาใช้เพื่อรักษาตัวเองแต่ที่น่าเศร้าคือในกรณีที่ต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล ส่วนมากหาเงินมาเท่าไหร่ก็แทบไม่พอรักษาพยาบาล ถ้ารัฐจะนำเงินไปพัฒนาเรื่องนี้ เชื่อว่าจะได้ประโยชน์กับประชาชนอย่างแท้จริง

กลุ่มวัย 25-30 ปี ยังเห็นว่านอกจากนี้นโยบายที่รัฐควรจะเดินหน้าพัฒนาเป็นอย่างยิ่งคือเรื่องการศึกษา ทั้งให้การศึกษาด้านอาชีพ และการพัฒนาการศึกษาในโรงเรียน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีผลกระทบเป็นอย่างมาก บางคนบอกว่าควรจัดสอน และส่งเสริมอาชีพมากขึ้น โดยเฉพาะศูนย์ฝึกอาชีพ ที่รัฐควรสนับสนุนให้มีคุณภาพ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าเรียนมากขึ้น รวมถึงควรมีการประชาสัมพันธ์ให้คนรู้ว่าแต่ละจังหวัดมีเปิดสอนฟรีด้วย

ขณะที่บางคนพูดถึงเรื่องการสนับสนุนอาชีพในต่างจังหวัดได้อย่างน่าสนใจ โดยบอกว่าในต่างจังหวัดคนจะนิยมไปเรียนในช่วงแรกที่เปิดโครงการ สุดท้ายคนขยันเท่านั้นที่จะเดินหน้าจนทำให้เกิดรายได้ คนไม่ขยันก็จะเห็นว่าตนเองหมดโอกาสแล้ว สุดท้ายผลประโยชน์ก็ตกไปอยู่กับคนกลุ่มเล็ก ดังนั้นประชาชนก็ต้องให้ความร่วมมือด้วยเพราะจริง ๆ คนไทยยากจนเพาะขี้เกียจก็มีอยู่

เรื่องนี้บางคนก็เปรียบว่า ไม่เลือกงานไม่ยากจน เพราะจริง ๆ แล้วเมืองไทยมีงานมาก แต่คนไทยเลือกทำงาน ถ้าอดทนสู้งานเชื่อว่าไม่ตกงานกันแน่ คิดดูว่าเลือกงานกันจนคนไทยกันเองหันไปจ้างต่างชาติมาทำงานกันทั้งนั้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook