จริงหรือที่คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่เอาใจออกห่างจากการช็อปปิ้งมากขึ้นทุกวัน

จริงหรือที่คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่เอาใจออกห่างจากการช็อปปิ้งมากขึ้นทุกวัน

จริงหรือที่คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่เอาใจออกห่างจากการช็อปปิ้งมากขึ้นทุกวัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

japteen

ในช่วงหลายปีหลังๆมานี้เรามักจะได้ยินเกี่ยวกับเรื่องคนญี่ปุ่นยุคใหม่ไม่ค่อยจับจ่ายใช้สอยกันใช่ไหมละคะ ไม่ว่าจะเป็นกระแสมินิมอล หรือเพราะเศรษฐกิจที่แย่ลง การที่คนญี่ปุ่นเอาใจออกห่างการช็อปปิ้งแบบนี้มันย่อมจะต้องมีเหตุผลอะไรสักอย่างที่ซ่อนอยู่ วันนี้เราเลยนำเอาข้อมูลการสำรวจของบริษัทด้านมาร์เก็ตติ่งที่เขาได้ตามเก็บข้อมูลการพฤติกรรมการบริโภคของชาวญี่ปุ่นรุ่นใหม่มาฝากกันนะคะ

จริงหรือที่ว่า คนรุ่นใหม่ไม่ซื้อรถ และดื่มเหล้าน้อยลง

จากการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับอัตราการถือครองรถยนต์ของหนุ่มสาวที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปีพบว่า เมื่อเทียบอัตราการครอบครองรถยนต์ของปี 2014 กับปี 2004 จะพบว่าอัตราการครอบครองรถยนต์ของผู้ชายลดลง แต่อัตราการครอบครองของผู้หญิงมีมากขึ้น แต่โดยรวมแล้วก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ลดลงอยู่ดี ในส่วนของอัตราการดื่มแอลกอฮอล์นั้น พบว่าคนรุ่นใหม่ของญี่ปุ่นหันไปดื่มค็อกเทล หรือชูไฮเพื่มมากขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาลงลึกไปอีกก็จะสามารถคาดการณ์ได้ว่ารสนิยมในการดื่มของชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนไปเป็นการดื่มคนเดียวมากกว่าจะดื่มเพื่อเข้าสังคม (ดื่มเพราะความชอบ)

 1

ความต้องการในการบริโภคที่เปลี่ยนไป

รูปแบบการบริโภคของคนรุ่นใหม่ญี่ปุ่นเริ่มเปลี่ยนจากการบริโภค “ของ” เป็นการบริโภค “เรื่องราว” ในปัจจุบันไม่เพียงแต่จะมีข้อมูลมากมายที่เกี่ยวกับการสร้างประสบการณ์เท่านั้น แต่คนรุ่นใหม่ยังสามารถรับประสบการณ์ต่างๆนานาได้จากข้อมูลอีกด้วย ทำให้อุปสงค์ของคนรุ่นใหม่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล การจะเป็นที่ยอมรับของคนในยุคนี้ได้ หลายๆคนเลือกที่จะบ่งบอกความเป็นตัวเองลงใน social network วัยรุ่นหลายคนวางคุณค่าของตัวเองเอาไว้บนโลกโซเชี่ยล ซึ่งในยุคแรกๆโลกโซเชี่ยลที่ได้รับการยอมรับในญี่ปุ่นคือ mixi, Facebook แต่ในปัจจุบัน Instagram ถือเป็นโซเชี่ยลที่ได้รับความนิยมเป็นหลัก จะเห็นได้ว่าเป็นรูปแบบที่เปลี่ยนจากตัวอักษรมาเป็นรูปภาพ ซึ่งจะเห็นได้ว่าในยุคนี้ถ้าใครอยากจะให้สินค้าของตนได้รับความนิยมแล้วละก็ ไม่เพียงแต่คุณภาพเท่านั้น แต่จะต้องมีความ photogenic เพื่อให้คนรุ่นใหม่สามารถถ่ายรูปเพื่อโพสต์ลงใน IG ได้

 2

คนญี่ปุ่นรุ่นใหม่นั้น ถ้ามีเหตุผลอะไรสักอย่างทำให้ต้องซื้อ พวกเขาก็ยังทำกิจกรรมบริโภคกันอยู่นะคะ แต่อาจพูดได้ว่าพวกเขาเปลี่ยนรูปแบบจากการบริโภคเพื่อการใช้ชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริง มาเน้นที่การบริโภคเพื่อสังคมโซเชี่ยลแทนต่างหาก ซึ่งในโลกโซเชี่ยลไม่ได้ต้องการแค่ของที่เท่, น่ารักเพียงเท่านั้น แต่จะต้องมีเรื่องราวที่น่าสนใจ ดูแปลก เพื่อนำมาแลกเปลี่ยนค่านิยมกับคนอื่นๆในโลกโซเชี่ยลด้วย การนำเสนอตัวตนในโลกออนไลน์ว่าเราทำอะไร ที่ไหน การจะแสดงให้คนอื่นในโลกออนไลน์เห็นว่าเราเป็นเราแบบไหน ดูจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะเลือกบริโภคหรือไม่บริโภคอะไรของคนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ไปเสียแล้ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook